SDG 2

Apr
02

Global Report on Food Crises 2019

รายงานระดับโลกว่าด้วยวิกฤติอาหาร 2562 ให้ข้อมูลการประเมินสถานการณ์ความหิวโหยอย่างรุนแรงล่าสุด โดยรวมถึงที่มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งและความไม่มั่นคง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทั้งด้านสภาพภูมิอากาศและเศรษฐกิจ หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันระดับโลกและระดับภูมิภาคภายใต้ Food Security Information Network ซึ่งรวมถึงองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และโครงการอาหารโลก (WFP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Apr 02 2019
รายงาน
DETAIL
Jan
01

The State of Food and Agriculture 2019

Moving forward on food loss and waste reduction รายงานสถานการณ์อาหารและเกษตรกรรมปี 2562 เน้นประเด็นขยะอาหาร (food waste) และการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิตและหลังการเก็บเกี่ยว (food loss) โดยเป็นการประเมินที่ยังไม่นับรวมการสูญเสียในระดับการค้าปลีก ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายมีข้อมูลบทวิเคราะห์การสูญเสียอาหารในระบบห่วงโซ่อุปทานที่รอบด้าน และมีตัวอย่างมาตรการที่จะนำไปสู่การลดขยะอาหารและการสูญเสียอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 01 2019
รายงาน
DETAIL
Jan
01

FAO’s Work With Small Island Developing States

Transforming food systems, sustaining small islands FAO ชวนสำรวจดูความท้าทายและโอกาสในปัจจุบันของรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก และจะทำอย่างไรให้ประเทศเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงระบบอาหารจากรากฐานเพื่อเลี้ยงดูประชากรของหมู่เกาะได้ โดยการนำแผนระดับโลกด้านความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการสำหรับรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็กไปใช้ (Global Action Programme on Food Security and Nutrition in Small Island Developing States – SIDS) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 01 2019
รายงาน
DETAIL
Jan
01

The State of Food Security and Nutrition in the World 2018

Building climate resilience for food security and nutrition รายงานฉบับนี้ เผยให้เห็นความท้าทายใหม่ในการยุติความหิวโหย ความไม่มั่นคงทางอาหาร และภาวะทุพโภชนาการทุกรูปแบบ โดยได้สำรวจสาเหตุปัจจัยของความหิวโหยและวิกฤติอาหารที่ร้ายแรงระดับโลก ซึ่งมีเพิ่มมากขึ้นจากเดิม ซ้ำยังมีประเด็นปัญหาใหม่ อาทิ โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน โดยพบว่านอกเหนือจากปัจจัยอย่างความขัดแย้งที่มีผลต่อความมั่นคงทางอาหารแล้ว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาพอากาศที่สุดขั้ว ยังแทรกตัวอยู่ในทุกมิติปัจจัยที่เกี่ยวข้องของความมั่นคงทางอาหาร ทั้งในด้านการทำให้มี (availability) การเข้าถึง (accessibility) การใช้ประโยชน์ (utilization) และการมีเสถียรภาพ (stability) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 01 2018
รายงาน
DETAIL
Jan
01

The State of Food and Agriculture 2018

Migration, agriculture and rural development รายงานสถานการณ์อาหารและเกษตรกรรมปี 2561 เน้นการวิเคราะห์การโยกย้ายถิ่นฐานของประชากรในชนบท ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยที่มีบทบาทสำคัญไม่เพียงต่อด้านเกษตรกรรมเท่านั้น แต่รวมถึงต่อกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ และทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนมีบทบาทสำคัญต่อประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้ว หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 01 2018
รายงาน
DETAIL
Mar
31

Global Report on Food Crises 2017

รายงานระดับโลกว่าด้วยวิกฤติอาหาร 2560 เป็นรายงานระดับโลกว่าด้วยวิกฤติอาหารเล่มแรกที่หลายสถาบันที่เกี่ยวข้องมีเป้าหมายขยายความร่วมมือและการตัดสินใจบนฐานของการวิเคราะห์สถานการณ์และจากความเห็นพ้องต้องกัน โดยรายงานเปรียบเทียบและชี้แจงบทวิเคราะห์ด้านความมั่นคงทางอาหารที่จัดทำจากหลายหุ้นส่วนและพื้นที่ เพื่อให้เห็นภาพรวมของสถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารให้ได้มากที่สุด รวมทั้งประเทศ/กลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงต่อสถานการณ์ดังกล่าว หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันระดับโลกและระดับภูมิภาคภายใต้ Food Security Information Network ซึ่งรวมถึงองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และโครงการอาหารโลก (WFP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Mar 31 2017
รายงาน
DETAIL
Jan
01

The State of Food Security and Nutrition in the World 2017

Building resilience for peace and food security รายงานฉบับนี้เป็นการติดตามความก้าวหน้าของโลกในด้านความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ โดยมีการวิเคราะห์แนวโน้มและประเด็นที่เกิดขึ้นใหม่ เพื่อประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายให้สามารถบรรลุเป้าหมายการยุติความหิวโหย ความไม่มั่นคงทางอาหาร และภาวะทุพโภชนาการ ตลอดจนภาวะโรคอ้วนและน้ำหนักเกินที่กำลังเป็นที่กังวลของหลายประเทศในโลก รายงานยังได้ย้ำความสำคัญของมิติสันติภาพและสังคมที่สงบสุขที่มีต่อความมั่นคงทางอาหารด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ร่วมกับโครงการอาหารโลก (WFP) กองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (IFAD) กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 01 2017
รายงาน
DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP