SDG 2

Jan
01

Agricultural Trade & Policy Responses During the First Wave of the COVID-19 Pandemic in 2020

รายงานสำรวจดูนโยบาย มาตรการ และรูปแบบการค้าสินค้าเกษตรของประเทศต่าง ๆ ในห้วงขณะการระบาดของโควิด-19 เพราะอุปสงค์และอุปทานด้านสินค้าเกษตรและสินค้าอาหาร ได้รับผลกระทบจากระบบการค้าในโลกเนื่องมาจากโรคระบาด ตัวอย่างมาตรการมีอาทิ การจำกัดการส่งออก การกำหนดมาตรการของตลาดภายในประเทศ โดยมาตรการใดที่เป็นการดำเนินการฝ่ายเดียวสามารถส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของส่วนอื่นในโลกได้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 01 2021
รายงาน
DETAIL
Oct
06

เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย (SDG 2: Zero Hunger)

เป้าหมายที่ 2 (SDG 2: Zero Hunger) มุ่งมั่นที่จะขจัดความหิวโหยและความอดอยากทุกรูปแบบ ภายในปี 2573 เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและผู้ด้อยโอกาส เข้าถึงอาหารที่เพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการตลอดทั้งปี นอกจากนี้ ยังมุ่งส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน การปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่และกำลังการผลิตของเกษตรกรรายย่อยให้เข้าถึงแหล่งที่ดินทำกิน เทคโนโลยีและการตลาดอย่างเท่าเทียม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Jul
13

The State of Food Security and Nutrition in the World 2020

Transforming food systems for affordable healthy diets รายงานฉบับนี้ได้ยืนยันแนวโน้มนับตั้งแต่ปี 2014 ของการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ได้รับผลกระทบจากความหิวโหยในระดับโลก ความท้าทายของภาวะทุพโภชนาการในทุกรูปแบบที่ยังคงอยู่ แม้จะมีความก้าวหน้าในการลดจำนวนของเด็กที่มีภาวะแคระแกร็น น้ำหนักแรกเกิดต่ำ เพิ่มการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมมารกาเพียงอย่างเดียว แต่ก็ยังคงช้าเกินไป รายงานฉบับนี้ยังนำเสนอการวิเคราะห์เกี่ยวกับต้นทุนและความสามารถในการจ่ายซื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพในระดับโลก ระดับภูมิภาค และในบริบทการพัฒนาที่แตกต่างกันด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jul 13 2020
รายงาน
DETAIL
Apr
20

Global Report on Food Crises 2020

รายงานระดับโลกว่าด้วยวิกฤติอาหาร 2563 อธิบายถึงขนาดของความหิวโหยอย่างรุนแรงในโลก พร้อมวิเคราะห์สาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤติอาหาร และสำรวจสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ว่ามีผลต่อประเด็นความมั่นคงอาหารอย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Apr 20 2020
รายงาน
DETAIL
Jan
01

The State of Food and Agriculture 2020

Overcoming water challenges in agriculture รายงานสถานการณ์อาหารและเกษตรกรรมปี 2563 ประเมินการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ทำชลประทานและในพื้นที่เกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาน้ำฝน รวมทั้งประเมินผลกระทบที่มีต่อเกษตกรรายย่อยและประชาชน โดยมีข้อมูลและหลักฐานความแตกต่างตามบริบทของแต่ละประเทศ เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ มีข้อมูลที่เพียงพอประกอบการจัดทำนโยบาย/มาตรการที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำสำหรับภาคเกษตรกรรม โดยที่ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภคและบริโภคได้อย่างเสมอภาคและยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 01 2020
รายงาน
DETAIL
Jan
01

Small Island Developing States Response to COVID-19

Highlighting food security, nutrition and sustainable food systems Policy Brief นี้ได้สำรวจผลกระทบจากโควิด-19 ที่มีต่อระบบอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และโภชนาการของรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก รวมถึงการใช้มาตรการตอบสนองอย่างรวดเร็ว อาทิ การพยายามทำให้มาตรการหลาย ๆ อย่างของภาคเกษตรกรรมเป็นรูปแบบดิจิทัล เช่น e-commerce และ mobile banking เป็นต้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

DETAIL
Nov
01

The Fisheries and Aquaculture Advantage: Fostering Food Security and Nutrition, Increasing Incomes and Empowerment

รายงาน “The Fisheries and Aquaculture Advantage: Fostering food security and nutrition, increasing incomes and empowerment” นำเสนอบทเรียนและความสำเร็จของการลงทุนด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการดำเนินการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (IFAD) กับเกษตรกรรายย่อยในประเทศกำลังพัฒนา   หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (International Fund for Agricultural Development: IFAD) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Nov 01 2019
รายงาน
DETAIL
Jul
15

The State of Food Security and Nutrition in the World 2019

Safeguarding against economic slowdowns and downturns รายงานฉบับนี้เป็นตัวชี้วัดความก้าวหน้าระดับโลกในการบรรลุ SDG 2 โดยได้ให้ข้อมูลการประมาณการล่าสุดของจำนวนผู้หิวโหยในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ และข้อมูลล่าสุดของภาวะแคระแกร็นและภาวะผมแห้งในเด็ก รวมถึงโรคอ้วนในทั้งผู้ใหญ่และเด็ก รายงานยังมีการวิเคราะห์ปัจจัยขับเคลื่อนของความหิวโหยและภาวะทุพโภชนาการ โดยเฉพาะจากผลกระทบของเศรษฐกิจที่ตกต่ำด้วย   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jul 15 2019
รายงาน
DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP