1. กดปุ่ม + ที่เป้าหมาย 1-17 ด้านล่างนี้ที่คุณสนใจ เพื่ออ่านรายละเอียดเป้าหมายย่อยและตัวชี้วัดของเป้าหมายนั้น
  2. ภายใต้เป้าหมายที่คุณเลือก สามารถดูภาพรวมสถานการณ์ของเป้าหมายได้ โดยกดปุ่ม ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลก หรือดูสถานการณ์ของไทย โดยกด ข้อมูลรายตัวชี้วัดประเทศไทย’
  3. ภายใต้เป้าหมายที่คุณเลือก หากต้องการเข้าถึงแหล่งข้อมูลต้นทางจาก UN กดปุ่ม ‘เข้าถึงตัวชี้วัดภาษาอังกฤษ และวิธีการคำนวณตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้ได้ที่นี่’
เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่
เป้าหมายย่อย 1.1 ขจัดความยากจนขั้นรุนแรงของประชาชนในทุกพื้นที่ให้หมดไปภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งปัจจุบันความยากจนวัดจากคนที่มีค่าใช้จ่ายดำรงชีพรายวันต่ำกว่า $1.90 ต่อวัน

• ตัวชี้วัด 1.1.1 สัดส่วนของประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนสากล จำแนกตามเพศ อายุ สถานะการจ้างงาน และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ (ชุมชนเมือง/ชนบท)

เป้าหมายย่อย 1.2 ภายในปี พ.ศ. 2573 ลดสัดส่วน ชาย หญิง และเด็ก ในทุกช่วงวัย ที่อยู่ภายใต้ความยากจนในทุกมิติ ตามนิยามของแต่ละประเทศ ให้ลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง

• ตัวชี้วัด 1.2.1 สัดส่วนของประชากรที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนของประเทศ จำแนกตามเพศ และอายุ
• ตัวชี้วัด 1.2.2 สัดส่วนของผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กในทุกช่วงวัยที่ยากจนในทุกมิติ ตามนิยามของแต่ละประเทศ

เป้าหมายย่อย 1.3 ดำเนินการให้ทุกคนมีระบบและมาตรการการคุ้มครองทางสังคมระดับประเทศที่เหมาะสม ซึ่งรวมถึงฐาน การคุ้มครองทางสังคม (floors) โดยให้ครอบคลุมกลุ่มประชากรยากจน และกลุ่มเปราะบางให้มากพอ ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 1.3.1 สัดส่วนของประชากรที่ได้รับความคุ้มครองตามระบบและมาตรการการคุ้มครองทางสังคม จำแนกตามเพศ และแบ่งเป็น เด็ก ผู้ว่างงาน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเกิดใหม่ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน ผู้ที่ยากจนและเปราะบาง

เป้าหมายย่อย 1.4 ภายในปี พ.ศ. 2573 สร้างหลักประกันว่าชายและหญิงทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่ยากจนและเปราะบาง มีสิทธิเท่าเทียมกันในทรัพยากรทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน การเป็นเจ้าของและมีสิทธิในที่ดินและทรัพย์สินในรูปแบบอื่น มรดก ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะสม และบริการทางการเงิน ซึ่งรวมถึงระบบการเงินระดับฐานราก (microfinance)

• ตัวชี้วัด 1.4.1 สัดส่วนของประชากรอาศัยในครัวเรือนที่เข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน
• ตัวชี้วัด 1.4.2 สัดส่วนของประชากรผู้ใหญ่ที่มีสิทธิครอบครองที่ดินอย่างมั่นคง โดย (ก) มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมาย และ (ข) ทราบว่าสิทธิครอบครองที่ดินของตนมีความมั่นคง จำแนกตามเพศ และประเภทการถือครอง

เป้าหมายย่อย 1.5 ภายในปี พ.ศ. 2573 สร้างภูมิต้านทานให้กับผู้ที่ยากจนและอยู่ในสถานการณ์เปราะบาง รวมทั้งลดความเสี่ยงและความล่อแหลมต่อภาวะสภาพอากาศผันผวนรุนแรง การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ

• ตัวชี้วัด 1.5.1 จำนวนผู้เสียชีวิต สูญหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภัยพิบัติต่อประชากร 100,000 คน (ภัยพิบัติ รวมถึง อุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย และภัยแล้ง)
• ตัวชี้วัด 1.5.2 การสูญเสียทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากภัยพิบัติโดยตรงต่อ GDP โลก
• ตัวชี้วัด 1.5.3 จำนวนประเทศที่มีและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับประเทศที่สอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลด ความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558-2573
• ตัวชี้วัด 1.5.4 สัดส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับท้องถิ่นที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ

เป้าหมายย่อย 1.a สร้างหลักประกันว่าจะมีการระดมทรัพยากรอย่าง มีนัยสำคัญจากแหล่งที่หลากหลาย รวมไปถึงการยกระดับ ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศพัฒนาน้อยที่สุด มีวิธีการที่เพียงพอและคาดการณ์ได้ในการดำเนินงานตามแผนงานและนโยบายเพื่อยุติความยากจนในทุกมิติ

• ตัวชี้วัด 1.a.1 ผลรวมความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) เพื่อมุ่งลดความยากจน จากผู้ให้การสนับสนุนทั้งหมด ต่อรายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ของประเทศผู้รับ
• ตัวชี้วัด 1.a.2 สัดส่วนค่าใช้จ่ายรวมของภาครัฐในเรื่องการบริการที่สำคัญจำเป็น (การศึกษา สุขภาพ และความคุ้มครองทางสังคม)

เป้าหมายย่อย 1.b สร้างกรอบนโยบายที่เหมาะสมในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ บนฐานของยุทธศาสตร์การพัฒนา ที่เอื้อประโยชน์แก่คนจน (pro-poor) และคำนึงถึงความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะ (gender-sensitive) เพื่อส่งเสริมให้มีการเร่งการลงทุนเพื่อปฏิบัติการขจัดความยากจน

• ตัวชี้วัด 1.b.1 รายจ่ายสาธารณะทางสังคมที่เอื้อประโยชน์แก่คนจน

 


* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move

  เข้าถึงตัวชี้วัดภาษาอังกฤษ และวิธีการคำนวณตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้ได้ที่นี่  
เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
เป้าหมายย่อย 2.1 ยุติความหิวโหยและสร้างหลักประกันให้ทุกคนโดยเฉพาะคนที่ยากจนและอยู่ในภาวะเปราะบาง อันรวมถึงทารก ได้เข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย มีโภชนาการ และเพียงพอตลอดทั้งปี ภายในปีพ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 2.1.1 ความชุกของภาวะขาดสารอาหาร
• ตัวชี้วัด 2.1.2 ความชุกของความไม่มั่นคงทางอาหารระดับปานกลางหรือรุนแรงในประชากร โดยใช้ขนาดของประสบการณ์ด้านความไม่มั่นคงทางอาหาร (FIES)

เป้าหมายย่อย 2.2 ยุติภาวะทุพโภชนาการทุกรูปแบบและแก้ไขปัญหาความต้องการสารอาหารของหญิงวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร และผู้สูงอายุ ภายในปี พ.ศ. 2573 รวมถึงบรรลุเปูาหมายที่ตกลงร่วมกันระหว่างประเทศว่าด้วยภาวะเตี้ย (stunting) และแคระแกร็น (wasting) ในเด็กอายุต่ากว่า 5 ปี ภายในปี พ.ศ. 2568

• ตัวชี้วัด 2.2.1 ความชุกของภาวะเตี้ยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี (ประเมินส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ที่มีส่วนสูงห่างจากค่ามัธยฐานตามมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กขององค์กรอนามัยโลก (WHO) ในช่วงน้อยกว่า -2 SD)
• ตัวชี้วัด 2.2.2 ความชุกของภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำแนกตาม (ก) ภาวะผอมแห้ง (wasting) (ข) ภาวะน้ำหนักเกิน (overweight) (ประเมินน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ที่มีน้ำหนักเมื่อเทียบกับความสูงห่างจากค่ามัธยฐานตามมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กของ WHO ในช่วงมากกว่า +2 SD หรือต่ำกว่า -2 SD)
• ตัวชี้วัด 2.2.3 ความชุกของภาวะโลหิตจาง (anaemia) ในหญิงอายุระหว่าง 15-49 ปี จำแนกตามภาวะตั้งครรภ์ (ร้อยละ)

เป้าหมายย่อย 2.3 เพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรและรายได้ของผู้ผลิตอาหารรายเล็ก โดยเฉพาะผู้หญิง คนพื้นเมือง ครัวเรือนเกษตรกร เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และชาวประมง ให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยรวมถึงการเข้าถึงที่ดิน ทรัพยากรและปัจจัยการผลิต ความรู้ บริการทางการเงิน ตลาด และโอกาสสำหรับการเพิ่มมูลค่าและการจ้างงานนอกฟาร์ม อย่างมั่นคงและเท่าเทียม ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 2.3.1 มูลค่าการผลิตต่อหน่วยแรงงาน จำแนกตามขนาดกิจการของการทำฟาร์ม/เลี้ยงสัตว์/การป่าไม้
• ตัวชี้วัด 2.3.2 รายได้เฉลี่ยของเกษตรกรผู้ผลิตอาหารรายย่อย จำแนกตามเพศ และสถานะพื้นเมือง (เพื่อแยกชนพื้นเมือง หรือ ชนเผ่า)

เป้าหมายย่อย 2.4 สร้างหลักประกันว่าจะมีระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืนและดำเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกันที่จะเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่น ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณภาพของดินและที่ดินอย่างต่อเนื่อง ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 2.4.1 ร้อยละของพื้นที่เกษตรที่มีการทำการเกษตรอย่างมีผลิตภาพและยั่งยืน

เป้าหมายย่อย 2.5 คงความหลากหลายทางพันธุกรรมของเมล็ดพันธุ์พืชที่ใช้เพาะปลูก สัตว์ในไร่นาและที่เลี้ยงตามบ้านเรือน และชนิดพันธุ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับพืชและสัตว์เหล่านั้น รวมถึงให้มีธนาคารพืชและเมล็ดพันธุ์ที่มีการจัดการที่ดีและมีความหลากหลาย ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ และสร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์อันเกิดจากการใช้ทรัพยากรทางพันธุกรรมและองค์ความรู้ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ตามที่ตกลงกันระหว่างประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2563

• ตัวชี้วัด 2.5.1 จำนวนแหล่งพันธุกรรม (ก) พืชและ (ข) สัตว์เพื่ออาหารและการเกษตร ที่เก็บรักษาในสถานที่สำหรับอนุรักษ์ทั้งในระยะกลางและระยะยาว
• ตัวชี้วัด 2.5.2 สัดส่วนพันธุ์สัตว์ท้องถิ่น ที่จัดอยู่ในระดับความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์

เป้าหมายย่อย 2.a เพิ่มการลงทุน ตลอดจนยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานในชนบท การวิจัยและส่งเสริมการเกษตร การพัฒนาเทคโนโลยี และการทำธนาคารเชื้อพันธุ์ (gene bank) ของพืชและสัตว์ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตรในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

• ตัวชี้วัด 2.a.1 ดัชนีทิศทางการลงทุนภาครัฐเพื่อการเกษตร (Agriculture Orientation Index – AOI)
• ตัวชี้วัด 2.a.2 กระแสความช่วยเหลือรวม (ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA)) และกระแสความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการอื่น (Other Official Flows: OOF) ที่ให้ไปยังภาคการเกษตร

เป้าหมายย่อย 2.b แก้ไขและป้องกันการกีดกันและการบิดเบือนทางการค้าในตลาดเกษตรโลก รวมถึงการดำเนินการคู่ขนาดไปกับการขจัดการอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรทุกรูปแบบและมาตรการเพื่อการส่งออกทุกแบบที่ให้ผลในลักษณะเดียวกัน โดยให้เป็นไปตามอาณัติของรอบการพัฒนาโดฮา

• ตัวชี้วัด 2.b.1 การอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตร

เป้าหมายย่อย 2.c เลือกใช้มาตรการที่สร้างหลักประกันได้ว่าตลาดโภคภัณฑ์อาหารและตลาดอนุพันธ์สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลของตลาดและข้อมูลสำรองอาหารได้อย่างทันการณ์ เพื่อจำกัดความผันผวนของราคาอาหารที่รุนแรง

• ตัวชี้วัด 2.c.1  ตัวชี้วัดราคาอาหารที่ผิดปกติ (IFPA)

 


* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move

  เข้าถึงตัวชี้วัดภาษาอังกฤษ และวิธีการคำนวณตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้ได้ที่นี่  
เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย
เป้าหมายย่อย 3.1 ลดอัตราการตายของมารดาทั่วโลกให้ต่ำกว่า 70 คน ต่อการเกิดมีชีพ 100,000 คน ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 3.1.1 อัตราส่วนการตายของมารดา (ต่อการเกิดมีชีพ 100,000 คน)
• ตัวชี้วัด 3.1.2 สัดส่วนของการคลอดบุตรที่ดูแลโดยบุคลากรด้านสาธารณสุขที่มีความชำนาญ

เป้าหมายย่อย 3.2 ยุติการตายที่ป้องกันได้ของทารกแรกเกิดและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยทุกประเทศมุ่งลดอัตราการตายในทารกลงให้ต่ำถึง 12 คน ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน และลดอัตราการตายในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ลงให้ต่ำถึง 25 คน ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 3.2.1 อัตราการตายของทารกอายุต่ำกว่า 5 ปี (ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน)
• ตัวชี้วัด 3.2.2 อัตราตายของทารกแรกเกิด (ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน)

เป้าหมายย่อย 3.3 ยุติการแพร่กระจายของเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และต่อสู้กับโรคตับอักเสบ โรคติดต่อทางน้ำและโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 3.3.1 จำนวนผู้ติดเชื้อ HIV รายใหม่ต่อประชากรที่ไม่มีการติดเชื้อ 1,000 คน จำแนกตามเพศ อายุ และประชากรหลัก
• ตัวชี้วัด 3.3.2 อัตราการเกิดโรควัณโรคต่อประชากร 100,000 คน
• ตัวชี้วัด 3.3.3 อัตราการเกิดโรคมาลาเรียต่อประชากร 1,000 คน
• ตัวชี้วัด 3.3.4 อัตราการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบบี ต่อประชากร 100,000 คน
• ตัวชี้วัด 3.3.5 จำนวนผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในการดูแลรักษาโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย (Neglected tropical diseases)

เป้าหมายย่อย 3.4 ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อให้ลดลงหนึ่งในสาม ผ่านทางการป้องกันและการรักษาโรค และสนับสนุนสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 3.4.1 อัตราการตายของผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน หรือโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง
• ตัวชี้วัด 3.4.2 อัตราการฆ่าตัวตาย

เป้าหมายย่อย 3.5 เสริมสร้างการป้องกันและการรักษาการใช้สารในทางที่ผิด ซึ่งรวมถึงการใช้ยาเสพติดในทางที่ผิดและการใช้แอลกอฮอล์ในทางที่เป็นอันตราย

• ตัวชี้วัด 3.5.1 ความคลอบคลุมของการรักษา (การรักษาโดยใช้ยา ทางจิตเวชและการฟื้นฟูสมรรถภาพ และบริการการติดตามผลการรักษา) สำหรับผู้ที่ใช้สารเสพติด
• ตัวชี้วัด 3.5.2 การดื่มแอลกอฮอล์ในระดับอันตราย นิยามตามบริบทของประเทศ คิดเป็นปริมาณแอลกอฮอล์ต่อหัวประชากร (อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป) ในจำนวนลิตรของแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ภายในปีปฏิทิน

เป้าหมายย่อย 3.6 ลดจำนวนการตายและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจากการจราจรทางถนนทั่วโลกลงครึ่งหนึ่ง ภายในปี พ.ศ. 2563

• ตัวชี้วัด 3.6.1 อัตราผู้เสียชีวิตจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน

เป้าหมายย่อย 3.7 สร้างหลักประกันถ้วนหน้า ในการเข้าถึงบริการสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมถึงการวางแผนครอบครัว ข้อมูลข่าวสารและความรู้ และการบูรณาการอนามัยการเจริญพันธุ์ในยุทธศาสตร์และแผนงานระดับชาติ ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 3.7.1 สัดส่วนของหญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15-49 ปี) ซึ่งต้องการวางแผนครอบครัวที่พึงพอใจกับการวางแผนครอบครัวด้วยวิธีสมัยใหม่
• ตัวชี้วัด 3.7.2 อัตราการคลอดบุตรในหญิงอายุ (10-14 ปี, 15-19 ปี) ต่อผู้หญิงอายุ (10-14 ปี 15-19 ปี) 1,000 คน

เป้าหมายย่อย 3.8 บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขจำเป็นที่มีคุณภาพ และเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีราคาที่สามารถซื้อหาได้

• ตัวชี้วัด 3.8.1 ความครอบคลุมของบริการด้านสุขภาพที่จำเป็น
• ตัวชี้วัด 3.8.2 สัดส่วนของประชากรที่มีค่าใช้จ่ายครัวเรือนด้านสุขภาพต่อค่าใช้จ่ายครัวเรือนหรือรายได้ทั้งหมด อยู่ในระดับสูง

เป้าหมายย่อย 3.9 ลดจำนวนการตายและการเจ็บป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากมลพิษและการปนเปื้อนทางอากาศ น้ำ และดิน ให้ลดลงอย่างมาก ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 3.9.1 อัตราการตายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศในบ้านเรือนและในบรรยากาศ
• ตัวชี้วัด 3.9.2 อัตราการตายที่เกิดจากน้ำ และการสุขาภิบาลที่ไม่ปลอดภัย และขาดสุขลักษณะ (เผชิญกับบริการด้านน้ำ สุขาภิบาลและสุขอนามัยที่ไม่ปลอดภัย)
• ตัวชี้วัด 3.9.3 อัตราการตายที่เกิดจากการได้รับสารพิษโดยไม่ตั้งใจ

เป้าหมายย่อยที่ 3.a เพิ่มความเข้มแข็งในการดำเนินงานตามกรอบอนุสัญญาขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยการควบคุมยาสูบในทุกประเทศตามความเหมาะสม

• ตัวชี้วัด 3.a.1 ความชุกที่ปรับมาตรฐานอายุแล้ว (age-standardized) ของการใช้ยาสูบ/บุหรี่ในปัจจุบันของกลุ่มผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป

เป้าหมายย่อย 3.b สนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาวัคซีนและยาสำหรับโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศกำลังพัฒนา ให้มีการเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นในราคาที่สามารถซื้อหาได้ตามปฏิญญาโดฮาว่าด้วยความตกลงทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า (TRIPS) และการสาธารณสุข ซึ่งเน้นย้ำสิทธิสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่จะใช้บทบัญญัติในความตกลง TRIPS อย่างเต็มที่ในเรื่องการผ่อนปรนเพื่อจะปกป้องสุขภาพสาธารณะและโดยเฉพาะการเข้าถึงยาโดยถ้วนหน้า

• ตัวชี้วัด 3.b.1 สัดส่วนของประชากรเป้าหมายที่เข้าถึงวัคซีนพื้นฐานทุกชนิดที่บรรจุอยู่ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ
• ตัวชี้วัด 3.b.2 ยอดรวมสุทธิความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) ด้านการวิจัยทางการแพทย์และด้านสุขภาพพื้นฐาน
• ตัวชี้วัด 3.b.3 สัดส่วนของสถานพยาบาลที่มีชุดยาจำเป็น (core set of relevant essential medicines) ในราคาที่ซื้อหาได้อย่างยั่งยืน

เป้าหมายย่อย 3.c เพิ่มการใช้เงินสนับสนุนด้านสุขภาพ และการสรรหา การพัฒนา การฝึกฝน และการเก็บรักษากำลังคนด้านสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก

• ตัวชี้วัด 3.c.1 ความหนาแน่นและการกระจายตัวของบุคลากรด้านสาธารณสุข

เป้าหมายย่อย 3.d เสริมขีดความสามารถของทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนา ในด้านการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

• ตัวชี้วัด 3.d.1 ศักยภาพในการดำเนินการตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (IHR) และการเตรียมความพร้อมสาหรับภาวะฉุกเฉินด้านสุขอนามัย
• ตัวชี้วัด 3.d.2 ร้อยละของการติดเชื้อในกระแสเลือดจากเชื้อดื้อยาที่เลือกพิจารณา

 


* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move

  เข้าถึงตัวชี้วัดภาษาอังกฤษ และวิธีการคำนวณตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้ได้ที่นี่  
เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เป้าหมายย่อย 4.1 สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่มีคุณภาพ เท่าเทียม และไม่มีค่าใช้จ่าย นำไปสู่ผลลัพธ์ทางการเรียนที่มีประสิทธิผล ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 4.1.1 สัดส่วนของเด็ก/เยาวชนใน (ก) ระดับชั้น ป.2 หรือ ป.3 (ข) ป.6 และ (ค) ม.3 ที่มีความสามารถตามเกณฑ์ขั้นต่ำเป็นอย่างน้อย ใน (1) ด้านการอ่าน และ (2) ด้านคณิตศาสตร์ หรือการคิดคำนวณ จำแนกตาม เพศ
• ตัวชี้วัด 4.1.2 อัตราการสำเร็จการศึกษา (ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย)

เป้าหมายย่อย 4.2 สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนเข้าถึงการพัฒนา การดูแล และการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา สำหรับเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพ เพื่อให้เด็กเหล่านั้นมีความพร้อมสำหรับการศึกษาระดับประถมศึกษา ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 4.2.1 สัดส่วนของเด็กอายุ 24- 59 เดือน ที่มีพัฒนาการทางด้านสุขภาพ การเรียนรู้ และสุขภาวะทางจิตสังคมเป็นไปตามเกณฑ์ จำแนกตามเพศ
• ตัวชี้วัด 4.2.2 อัตราการเข้าเรียนปฐมวัย (อย่างน้อย 1 ปี ก่อนถึงเกณฑ์อายุเข้าเรียนประถมศึกษา) จำแนกตามเพศ

เป้าหมายย่อย 4.3 สร้างหลักประกันให้ชายและหญิงทุกคนเข้าถึงการศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษา รวมถึงมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ ในราคาที่สามารถจ่ายได้ ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 4.3.1 อัตราการเข้าเรียนของเยาวชนและผู้ใหญ่ ทั้งในระบบ นอกระบบการศึกษา รวมทั้งการฝึกอบรมในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จำแนกตามเพศ

เป้าหมายย่อย 4.4 เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่เกี่ยวข้องจำเป็น รวมถึงทักษะทางด้านเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมีงานที่มีคุณค่า และการเป็นผู้ประกอบการ ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 4.4.1 สัดส่วนของเยาวชน/ผู้ใหญ่ที่มีทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำแนกตามประเภททักษะ

เป้าหมายย่อย 4.5 ขจัดความเหลี่อมล้ำทางเพศด้านการศึกษา และสร้างหลักประกันว่ากลุ่มที่เปราะบางซึ่งรวมถึงผู้พิการ ชนพื้นเมือง และเด็ก เข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพทุกระดับอย่างเท่าเทียม ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 4.5.1 ดัชนีความเท่าเทียมกัน (ผู้หญิง-ผู้ชาย/ ในเขต-นอกเขตเมือง/ความมั่งคั่งสูง-ต่ำ และอื่น ๆ เช่น สถานะความพิการ คนพื้นเมือง และคนที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งหากมีข้อมูล) สำหรับตัวชี้วัดด้านการศึกษาทั้งหมดในรายชื่อนี้ที่สามารถจำแนกข้อมูลได้

เป้าหมายย่อย 4.6 สร้างหลักประกันว่าเยาวชนทุกคนและผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิงในสัดส่วนสูง สามารถอ่านออกเขียนได้และคำนวณได้ ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 4.6.1 สัดส่วนของประชากรในกลุ่มอายุที่กำหนดมีความรู้ความสามารถสำหรับการทำงานในด้าน (ก) การอ่านออกเขียนได้ (ข) ทักษะในการคำนวณ จำแนกตามเพศ

เป้าหมายย่อย 4.7 สร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จาเป็นสำหรับส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมไปถึง การศึกษาสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนและการมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขและการไม่ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองของโลก และความชื่นชมในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการที่วัฒนธรรมมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 4.7.1 ระดับการดำเนินการเพื่อบรรจุ (1) การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก และ (2) การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นเรื่องหลักใน (ก) นโยบายการศึกษาของประเทศ (ข) หลักสูตร (ค) การศึกษาของครู และ (ง) การประเมินผลนักเรียน

เป้าหมายย่อย 4.a สร้างและยกระดับสถานศึกษา ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์การศึกษาที่อ่อนไหวต่อเด็ก ผู้พิการ และเพศภาวะ และจัดให้มีสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ปลอดภัย ปราศจากความรุนแรง ครอบคลุมและมีประสิทธิผลสำหรับทุกคน

• ตัวชี้วัด 4.a.1 สัดส่วนของโรงเรียนที่มีการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเภทบริการ

เป้าหมายย่อย 4.b เพิ่มจำนวนทุนการศึกษาทั่วโลกที่ให้แก่ประเทศกาลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก และประเทศในทวีปแอฟริกา เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา รวมถึงการฝึกอาชีพ และโปรแกรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านเทคนิค วิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ ในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2563

• ตัวชี้วัด 4.b.1 ปริมาณความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) ที่เป็นทุนการศึกษา จำแนกตามสาขาและประเภทการศึกษา

เป้าหมายย่อย 4.c เพิ่มจำนวนครูที่มีคุณวุฒิ รวมถึงการดาเนินการผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศในการฝึกอบรมครูในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 4.c.1 สัดส่วนของครูที่มีคุณวุฒิเหมาะสมในการจัดการศึกษาพื้นฐาน จำแนกตามระดับการศึกษา

 


* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move

  เข้าถึงตัวชี้วัดภาษาอังกฤษ และวิธีการคำนวณตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้ได้ที่นี่  
เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิงทุกคน
เป้าหมายย่อย 5.1 ยุติการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิงในทุกที่

• ตัวชี้วัด 5.1.1 ส่งเสริม บังคับใช้ และติดตามตรวจสอบความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ ไม่ว่าจะมีกรอบกฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ก็ตาม

เป้าหมายย่อย 5.2 ขจัดความรุนแรงทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิงทั้งในที่สาธารณะและที่รโหฐาน รวมถึงการค้ามนุษย์ การแสวงประโยชน์ทั้งทางเพศ และในรูปแบบอื่น

• ตัวชี้วัด 5.2.1 สัดส่วนของผู้หญิงและเด็กหญิงอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่เคยอยู่ร่วมกับคู่รักและถูกกระทำความรุนแรงทางร่างกาย ทางเพศ หรือทางจิตใจ โดยคู่รักปัจจุบันหรือคนก่อนหน้าในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จำแนกตามรูปแบบความรุนแรงและอายุ
• ตัวชี้วัด 5.2.2 สัดส่วนของผู้หญิงและเด็กหญิงอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่ได้รับความรุนแรงทางเพศจากบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่คู่รัก ในช่วงระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา จำแนกตามอายุ และสถานที่เกิดเหตุ

เป้าหมายย่อย 5.3 ขจัดแนวปฏิบัติที่เป็นภัยทุกรูปแบบ อาทิ การแต่งงานในเด็กก่อนวัยอันควรและโดยการบังคับ และการทำลายอวัยวะเพศหญิง

• ตัวชี้วัด 5.3.1 สัดส่วนของผู้หญิงอายุระหว่าง 20-24 ปี ที่แต่งงานหรืออยู่ด้วยกันก่อนอายุ 15 และ 18 ปี
• ตัวชี้วัด 5.3.2 สัดส่วนของเด็กหญิงและผู้หญิงอายุระหว่าง 15-49 ปี ที่ได้รับการขลิบ/เฉือนอวัยวะเพศหญิง จำแนกตามอายุ

เป้าหมายย่อย 5.4 ตระหนักและให้คุณค่าต่อการดูแลและการทำงานบ้านแบบไม่ได้รับค่าจ้าง โดยจัดให้มีบริการสาธารณะ โครงสร้างพื้นฐานและนโยบายการคุ้มครองทางสังคม และสนับสนุนความรับผิดชอบร่วมกันภายในครัวเรือนและครอบครัว ตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศ

• ตัวชี้วัด 5.4.1 สัดส่วนของเวลาที่ใช้ไปในการทำงานบ้านและงานดูแลคนในครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน จำแนกตามเพศ อายุ และสถานที่อยู่

เป้าหมายย่อย 5.5 สร้างหลักประกันว่าผู้หญิงจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และมีประสิทธิผล และมีโอกาสที่เท่าเทียมในการเป็นผู้นำในทุกระดับของการตัดสินใจในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และสาธารณะ

• ตัวชี้วัด 5.5.1 สัดส่วนของผู้หญิงดำรงตำแหน่งใน (ก) รัฐสภา และ (ข) องค์กรปกครองท้องถิ่น
• ตัวชี้วัด 5.5.2 สัดส่วนของผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งบริหาร

เป้าหมายย่อย 5.6 สร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ และสิทธิด้านการเจริญพันธุ์โดยถ้วนหน้า ตามที่ตกลงในแผนปฏิบัติการของการประชุมนานาชาติว่าด้วยประชากรและการพัฒนา และแผนปฏิบัติการปักกิ่งและเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมทบทวนเหล่านั้น

• ตัวชี้วัด 5.6.1 สัดส่วนของผู้หญิงอายุ 15-49 ปี ที่ทำการตัดสินใจด้วยตนเองบนพื้นฐานของการได้รับข้อมูลที่เพียงพอ (informed decision) ในเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศ การคุมกำเนิด และอนามัยการเจริญพันธุ์
• ตัวชี้วัด 5.6.2 จำนวนประเทศที่มีกฎหมายและกฎระเบียบที่ประกันว่าผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เข้าถึงการศึกษาข้อมูล และการดูแลด้านสุขภาวะทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียม

เป้าหมายย่อย 5.a ดำเนินการปฏิรูปเพื่อให้ผู้หญิงมีสิทธิที่เท่าเทียมในทรัพยากรทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง การเข้าถึงการเป็นเจ้าของและมีสิทธิในที่ดิน และทรัพย์สินในรูปแบบอื่น การบริการทางการเงิน การรับมรดก และทรัพยากรธรรมชาติ ตามกฎหมายของประเทศ

• ตัวชี้วัด 5.a.1 (ก) สัดส่วนของจำนวนประชากรในภาคการเกษตรทั้งหมดที่เป็นเจ้าของหรือมีสิทธิเหนือพื้นที่ทำการเกษตร จำแนกตามเพศ และ (ข) สัดส่วนของผู้หญิงที่เป็นเจ้าของ หรือมีสิทธิถือครองที่ดินทางการเกษตร จำแนกตามประเภทการครอบครอง
• ตัวชี้วัด 5.a.2 สัดส่วนของประเทศที่กรอบกฎหมาย (รวมถึงกฎจารีตประเพณี) ที่ประกันความเท่าเทียมของผู้หญิงในสิทธิการเป็นเจ้าของ หรือครอบครองที่ดิน

เป้าหมายย่อย 5.b เพิ่มพูนการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มบทบาทแก่สตรี

• ตัวชี้วัด 5.b.1 สัดส่วนของผู้ที่เป็นเจ้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำแนกตามเพศ

เป้าหมายย่อย 5.c เลือกใช้และเสริมความเข้มแข็งแก่นโยบายที่ดีและกฎระเบียบที่บังคับใช้ได้ เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเพิ่มบทบาทแก่ผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคนในทุกระดับ

• ตัวชี้วัด 5.c.1 สัดส่วนของประเทศที่มีระบบติดตามและการจัดสรรงบประมาณสาธารณะเพื่อความเสมอภาคระหว่างเพศและเสริมพลังผู้หญิง

 


* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move

  เข้าถึงตัวชี้วัดภาษาอังกฤษ และวิธีการคำนวณตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้ได้ที่นี่  
เป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาล ให้มีการจัดการอย่างยั่งยืนและมีสภาพพร้อมใช้ สำหรับทุกคน
เป้าหมายย่อย 6.1 บรรลุเป้าหมายการให้ทุกคนเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยและมีราคาที่สามารถซื้อหาได้ ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 6.1.1 สัดส่วนของประชากรที่ใช้บริการน้ำดื่มที่ได้รับการจัดการอย่างปลอดภัย

เป้าหมายย่อย 6.2 บรรลุเป้าหมายการให้ทุกคนเข้าถึงการสุขาภิบาลและสุขอนามัยที่พอเพียงและเป็นธรรม และยุติการขับถ่ายในที่โล่ง โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อความต้องการของผู้หญิง เด็กหญิง และกลุ่มที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบาง ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 6.2.1 สัดส่วนของประชากรที่ใช้ (ก) บริการด้านสุขาภิบาลได้รับการจัดการอย่างปลอดภัย และ (ข) สิ่งอำนวยความสะดวกในการล้างมือด้วยสบู่ และน้ำ

เป้าหมายย่อย 6.3 ปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยการลดมลพิษ ขจัดการทิ้งขยะและลดการปล่อยสารเคมีอันตรายและวัตถุอันตราย ลดสัดส่วนน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดลงครึ่งหนึ่ง และเพิ่มการนำกลับมาใช้ใหม่และการใช้ซ้ำที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืนทั่วโลก ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 6.3.1 สัดส่วนของน้ำเสียครัวเรือนและอุตสาหกรรมที่ได้รับการบำบัดอย่างปลอดภัย
• ตัวชี้วัดที่ 6.3.2 สัดส่วนของแหล่งน้ำที่มีคุณภาพที่ดี (เช่น มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบ, แม่น้ำ, ธารน้ำ, คลอง, หรือสระน้ำ)

เป้าหมายย่อย 6.4 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในทุกภาคส่วนและสร้างหลักประกันว่าจะมีการใช้น้ำและจัดหาน้ำที่ยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และลดจำนวนประชากรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 6.4.1 การเปลี่ยนแปลงของประสิทธิภาพการใช้น้ำในช่วงเวลาที่ผ่านมา
• ตัวชี้วัด 6.4.2 ระดับความตึงเครียดด้านน้ำ (สัดส่วนการใช้น้ำจืดต่อปริมาณน้ำจืดทั้งหมด)

เป้าหมายย่อย 6.5 ดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวมในทุกระดับ รวมถึงผ่านทางความร่วมมือข้ามเขตแดนตามความเหมาะสม ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 6.5.1 ระดับการดำเนินงานการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ
• ตัวชี้วัด 6.5.2 สัดส่วนของพื้นที่ลุ่มน้ำข้ามเขตแดนที่มีการจัดการดำเนินงานเพื่อความร่วมมือด้านน้ำ

เป้าหมายย่อย 6.6 ปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ รวมถึงภูเขา ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ แม่น้ำ ชั้นหินอุ้มน้ำ และทะเลสาบ ภายในปี พ.ศ. 2563

• ตัวชี้วัด 6.6.1 การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับน้ำในช่วงเวลาที่ผ่านมา

เป้าหมายย่อย 6.a ขยายความร่วมมือระหว่างประเทศและสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาในกิจกรรมและแผนงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำและสุขาภิบาล ซึ่งรวมถึงการเก็บกักน้ำ การขจัดเกลือ ประสิทธิภาพการใช้น้ำ การบำบัดน้ำเสีย เทคโนโลยีการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 6.a.1 ปริมาณความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) ในด้านที่เกี่ยวข้องกับน้ำและสุขาภิบาล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนบูรณาการการใช้จ่ายของภาครัฐ

เป้าหมายย่อย 6.b สนับสนุนและเพิ่มความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาการจัดการน้ำและสุขาภิบาล

• ตัวชี้วัด 6.b.1 สัดส่วนของหน่วยงานบริหารส่วนท้องถิ่นที่จัดทำและดำเนินนโยบายและกระบวนการเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการน้ำและการสุขาภิบาล

 


* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move

  เข้าถึงตัวชี้วัดภาษาอังกฤษ และวิธีการคำนวณตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้ได้ที่นี่  
เป้าหมายที่ 7 สร้างหลักประกันว่าทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ เชื่อถือได้ และยั่งยืน
เป้าหมายย่อย 7.1 สร้างหลักประกันว่ามีการเข้าถึงการบริการพลังงานสมัยใหม่ที่เชื่อถือได้ ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 7.1.1 สัดส่วนของประชากรที่เข้าถึงไฟฟ้า
• ตัวชี้วัด 7.1.2 สัดส่วนของประชากรที่พึ่งพาพลังงานและเทคโนโลยีสะอาดเป็นหลัก

เป้าหมายย่อย 7.2 เพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนพลังงานของโลก (global energy mix) ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 7.2.1 สัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย

เป้าหมายย่อย 7.3 เพิ่มอัตราการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโลกให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 7.3.1 ความเข้มของการใช้พลังงาน ที่สัมพันธ์กับพลังงานขั้นต้นและผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

เป้าหมายย่อย 7.a ยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการวิจัย และเทคโนโลยีพลังงานที่สะอาด โดยรวมถึงพลังงานหมุนเวียน ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และเทคโนโลยีเชื้อเพลิงฟอสซิลชั้นสูงและสะอาด และสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและเทคโนโลยีพลังงานที่สะอาด ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 7.a.1 การไหลเวียนของเงินทุนระหว่างประเทศสู่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานสะอาด และการผลิตพลังงานหมุนเวียน รวมทั้งระบบไฮบริด

เป้าหมายย่อย 7.b ขยายโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการจัดส่งบริการพลังงานสมัยใหม่และยั่งยืนโดยถ้วนหน้าในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ที่สอดคล้องกับโครงการสนับสนุนของประเทศเหล่านั้น ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 7.b.1 กำลังผลิตติดตั้งพลังงานหมุนเวียนในประเทศกำลังพัฒนา (วัตต์ต่อหัวประชากร)

 


* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move

  เข้าถึงตัวชี้วัดภาษาอังกฤษ และวิธีการคำนวณตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้ได้ที่นี่  
เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และ มีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน
เป้าหมายย่อย 8.1 ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจต่อหัวประชากรมีความยั่งยืนตามบริบทของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของประเทศพัฒนาน้อยที่สุด มีการขยายตัวอย่างน้อยร้อยละ 7 ต่อปี

• ตัวชี้วัด 8.1.1 อัตราการเติบโตต่อปีของผลติภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริง (real GDP) ต่อหัวประชากร

เป้าหมายย่อย 8.2 บรรลุการมีผลิตภาพทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงขึ้นผ่านการสร้างความหลากหลาย การยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการมุ่งเน้นภาคการผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และใช้แรงงานเป็นหลัก (labour-intensive)

• ตัวชี้วัด 8.2.1 อัตราการเติบโตต่อปีของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริง (real GDP) ต่อประชากรผู้มีงานทํา

เป้าหมายย่อย 8.3 ส่งเสริมนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่สนับสนุนกิจกรรมที่มีผลิตภาพ การสร้างงานที่มีคุณค่า ความเป็นผู้ประกอบการ ความสร้างสรรค์และนวัฒกรรม และให้การสนับสนุนการรวมตัวและการเติบโตของวิสาหกิจรายย่อย ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ผ่านการเข้าถึงบริการทางการเงิน

• ตัวชี้วัด 8.3.1 สัดส่วนการจ้างงานนอกระบบต่อการจ้างงานทั้งหมด จำแนกตามสาขา และเพศ

เป้าหมายย่อย 8.4 ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของโลกในการบริโภคและการผลิตอย่างต่อเนื่อง และพยายามที่จะแยกการเติบโตทางเศรษฐกิจออกจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นไปตามกรอบการดำเนินงาน 10 ปี ว่าด้วยการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยมีประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นผู้นำในการดำเนินการไปจนถึงปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 8.4.1 ร่องรอยการใช้วัตถุดิบ (Material Footprint) ร่องรอยการใช้วัตถุดิบต่อหัวประชากร และต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
• ตัวชี้วัด 8.4.2 การบริโภควัตถุดิบในประเทศ การบริโภควัตถุดิบในประเทซต่อหัวประชากร และต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

เป้าหมายย่อย 8.5 บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้มีภาวะทุพพลภาพ และให้มีการจ่ายค่าจ้างที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 8.5.1 รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงของลูกจ้าง จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ และความพิการ
• ตัวชี้วัดที่ 8.5.2 อัตราการว่างงาน จำแนกตามเพศ อายุ และ ความพิการ

เป้าหมายย่อย 8.6 ลดสัดส่วนของเยาวชนที่ไม่มีงานทำ ที่ไม่มีการศึกษา และที่ไม่ได้รับการฝึกอบรม ลงอย่างมาก ภายในปี พ.ศ. 2563

• ตัวชี้วัด 8.6.1 สัดส่วนของเยาวชน (15-24 ปี) ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา การจ้างงานหรือการฝึกอาชีพ

เป้าหมายย่อย 8.7 ดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพโดยทันที เพื่อขจัดแรงงานที่ถูกบังคับ ยุติความเป็นทาสสมัยใหม่และการค้ามนุษย์ และยับยั้งและกำจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งรวมถึงการเกณฑ์และการใช้ทหารเด็ก และภายในปี พ.ศ. 2568 ยุติการใช้แรงงานเด็กในทุกรูปแบบ

• ตัวชี้วัด 8.7.1 สัดส่วนและจำนวนเด็กอายุ 5-17 ปี ที่เข้าข่ายแรงงานเด็ก จำแนกตามเพศและอายุ

เป้าหมายย่อย 8.8 ปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงผู้ทำงานต่างด้าว โดยเฉพาะหญิงต่างด้าว และผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย

• ตัวชี้วัด 8.8.1 อัตราความถี่ของการบาดเจ็บร้ายแรงและไม่ร้ายแรงจากการทำงาน ต่อแรงงาน 100,000 คน จำแนกตามเพศและสถานะแรงงานต่างด้าว
• ตัวชี้วัดที่ 8.8.2 ระดับการปฏิบัติตามสิทธิแรงงานในประเทศ (เสรีภาพ ในการสมาคม และการเจรจาต่อรองร่วม) โดยยึดหลักธรรมนญูของ ILO และกฎหมายภายในประเทศ จําแนกตามเพศ และสถานะแรงงานต่างด้าว

เป้าหมายย่อย 8.9 ออกแบบและใช้นโยบายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ซึ่งช่วยสร้างงานและส่งเสริมวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 8.9.1 สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศด้านการท่องเที่ยวต่อ GDP รวม และอัตราการเติบโตของ GDP ด้านการท่องเที่ยว

เป้าหมายย่อย 8.10 เสริมความแข็งแกร่งของสถาบันทางการเงินภายในประเทศเพื่อส่งเสริมและขยายการเข้าถึงการธนาคาร การประกัน และบริการทางการเงินแก่ทุกคน

• ตัวชี้วัด 8.10.1 จํานวน (ก) สาขาของธนาคารพาณิชย์ และ (ข) เครื่องรับ จ่ายเงินอัตโนมัติ (ATMs) ต่อผู้ใหญ่ 100,000 คน
• ตัวชี้วัด 8.10.2 สัดส่วนของผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป) ที่มีบัญชีกับธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นๆ หรือกับผู้ให้บริการทางการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

เป้าหมายย่อย 8.a เพิ่มการสนับสนุนในกลไกความช่วยเหลือเพื่อการค้า (Aid for Trade) แก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ซึ่งรวมถึงผ่านกรอบการทำงานแบบบูรณาการสำหรับความช่วยเหลือทางวิชายการที่เกี่ยวข้องกับการค้าแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Enhanced Integrated Framework for Trade-related Technical Assistance to Least Developed Countries)

• ตัวชี้วัด 8.a.1 มูลค่าความช่วยเหลือ/ภาระผูกพัน (Commitments) และการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือ (Disbursements) ภายใต้กลไกความช่วยเหลือเพื่อการค้า (Aid for Trade)

เป้าหมายย่อย 8.b พัฒนาและดำเนินงานตามยุทธศาสตร์โลกสำหรับการจ้างงานเยาวชนและดำเนินงานตามข้อตกลงเรื่องงานของโลก (Global Jobs Pact) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ภายในปี พ.ศ. 2563

• ตัวชี้วัด 8.b.1 การมีและดําเนินงานตามยุทธศาสตร์ระดับประเทศเฉพาะ ด้านการจ้างงงานเยาวชน หรือเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ด้านการจ้างงานของประเทศ

 


* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move

  เข้าถึงตัวชี้วัดภาษาอังกฤษ และวิธีการคำนวณตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้ได้ที่นี่  
เป้าหมายที่ 9 สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม
เป้าหมายย่อย 9.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ยั่งยืนและมีความต้านทานและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคและที่ข้ามเขตแดน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์

• ตัวชี้วัด 9.1.1 สัดส่วนของประชากรชนบทที่อาศัยภายในระยะ 2 กิโลเมตรจากถนนที่สามารถใช้งานได้ทุกฤดู
• ตัวชี้วัด 9.1.2 ปริมาณผู้โดยสาร และสินค้าที่ขนส่ง จำแนกตามรูปแบบการขนส่ง

เป้าหมายย่อย 9.2 ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืนและภายในปี พ.ศ. 2573 ให้เพิ่มส่วนแบ่งของภาคอุตสาหกรรมในการจ้างงานและผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ โดยให้เป็นไปตามบริบทของประเทศและให้เพิ่มส่วนแบ่งขึ้นเป็น 2 เท่า ในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

• ตัวชี้วัด 9.2.1 สัดส่วนของมูลค่าเพิ่มผลผลิต (Manufacturing Value Added – MVA) ต่อ GDP และต่อหัวประชากร
• ตัวชี้วัด 9.2.2 สัดส่วนการจ้างงานในอุตสาหกรรมการผลิตต่อการจ้างงานรวมทั้งหมด

เป้าหมายย่อย 9.3 เพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินโดยรวมถึงเครดิตในราคาที่สามารถจ่ายได้ให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมและวิสาหกิจขนาดเล็ก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งเชื่อมโยงผู้ประกอบการเหล่านี้เข้าสู่ห่วงโซ่มูลค่าและตลาด

• ตัวชี้วัด 9.3.1 สัดส่วนของมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมขนาดเล็กต่อ มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมทั้งหมด
• ตัวชี้วัด 9.3.2 สัดส่วนของอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่มีการกู้ยืม หรือมีวงเงินที่ธนาคารให้กู้ยืม

เป้าหมายย่อย 9.4 ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและปรับปรุงอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนโดยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและการใช้เทคโนโลยีและกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยทุกประเทศดำเนินการตามขีดความสามารถของแต่ละประเทศภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 9.4.1 ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยมูลค่าเพิ่ม

เป้าหมายย่อย 9.5 เพิ่มพูนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมในทุกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา และให้ภายในปี พ.ศ. 2573 มีการส่งเสริมนวัตกรรมและให้เพิ่มจำนวนผู้ทำงานวิจัยและพัฒนา ต่อประชากร 1 ล้านคน และเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาในภาครัฐและเอกชน

• ตัวชี้วัดที่ 9.5.1 สัดส่วนของค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา ต่อ GDP
• ตัวชี้วัดที่ 9.5.2 สัดส่วนนักวิจัย (เทียบเท่ากับการทำงานเต็มเวลา) ต่อประชากร 1,000,000 คน

เป้าหมายย่อย 9.a อำนวยความสะดวกการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่น ในประเทศกำลังพัฒนาผ่านทางการยกระดับการสนับสนุนทางการเงิน เทคโนโลยีและด้านวิชาการให้แก่ประเทศในแอฟริกา ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก

• ตัวชี้วัดที่ 9.a.1 การสนับสนุนระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการทั้งหมด (ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) และกระแสความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการอื่น (OOF)) ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน

เป้าหมายย่อย 9.b สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมภายในประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงการให้มีสภาพแวดล้อมทางนโยบายที่นำไปสู่ความหลากหลายของอุตสาหกรรมและการเพิ่มมูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์

• ตัวชี้วัด 9.b.1 สัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูง และระดับกลาง ต่อมูลค่าเพิ่มรวมทั้งหมด

เป้าหมายย่อย 9.c เพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและมุ่งจัดให้มีการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตโดยถ้วนหน้าและในราคาที่สามารถจ่ายได้ในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ภายในปี พ.ศ. 2563

• ตัวชี้วัด 9.c.1 สัดส่วนของประชากรที่อยู่ในพื้นที่ที่มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ จําแนกตามเทคโนโลยี

 


* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move

  เข้าถึงตัวชี้วัดภาษาอังกฤษ และวิธีการคำนวณตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้ได้ที่นี่  
เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ
เป้าหมายย่อย 10.1 บรรลุการเติบโตของรายได้ของกลุ่มประชากรร้อยละ 40 ที่มีรายได้ต่ำสุด อย่างก้าวหน้าและยั่งยืน โดยให้มีอัตราเติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 10.1.1 อัตราการเติบโตของการใช้จ่ายในครัวเรือนหรือรายได้ต่อหัว ในกลุ่มประชากรร้อยละ 40 ที่มีรายได้ต่ำสุดและในกลุ่มประชากรทั้งหมด

เป้าหมายย่อย 10.2 เสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมความครอบคลุมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ ความพิการ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ แหล่งกำเนิด ศาสนา สถานะทางเศรษฐกิจ หรืออื่น ๆ ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัดที่ 10.2.1 สัดส่วนประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของรายได้มัธยฐาน จำแนกตาม เพศ อายุ และผู้พิการ

เป้าหมายย่อย 10.3 สร้างหลักประกันถึงโอกาสที่เท่าเทียมและลดความไม่เสมอภาคของผลลัพธ์ รวมถึงโดยการขจัดกฎหมาย นโยบาย และแนวทางปฏิบัติที่เลือกปฏิบัติ และส่งเสริมการออกกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติที่เหมาะสมในเรื่องดังกล่าว

• ตัวชี้วัด 10.3.1 สัดส่วนของประชากรที่รายงานว่ารู้สึกถูกเลือกปฏิบัติหรือถูกคุกคามในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ตามข้อบัญญัติพื้นฐานของการห้ามเลือกปฏิบัติ ภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

เป้าหมายย่อย 10.4 นำนโยบาย โดยเฉพาะนโยบายการคลัง ค่าจ้าง และการคุ้มครองทางสังคมมาใช้ และให้บรรลุความเสมอภาคยิ่งขึ้นอย่างก้าวหน้า

• ตัวชี้วัด 10.4.1 สัดส่วนค่าตอบแทนแรงงานต่อ GDP
• ตัวชี้วัด 10.4.2 ผลกระทบจากการจัดสรรรายได้ (redistributive impact) ของนโยบายการคลัง

เป้าหมายย่อย 10.5 ปรับปรุงกฎระเบียบและการติดตามตรวจสอบตลาดการเงินและสถาบันการเงินของโลก และเสริมความแข็งแกร่งในการดำเนินการตามกฎระเบียบดังกล่าว

• ตัวชี้วัด 10.5.1 ตัวชี้วัดเสถียรภาพของระบบการเงิน (Financial Soundness Indicators)

เป้าหมายย่อย 10.6 สร้างหลักประกันว่าจะมีตัวแทนและเสียงของประเทศกำลังพัฒนาในการตัดสินใจในสถาบันการเงินและเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เป็นสถาบันที่มีประสิทธิผลน่าเชื่อถือ มีความรับผิดชอบ และมีความชอบธรรมมากขึ้น

• ตัวชี้วัด 10.6.1 สัดส่วนของสมาชิกและสิทธิในการออกเสียงของประเทศกำลังพัฒนาในองค์กรระหว่างประเทศ

เป้าหมายย่อย 10.7 อำนวยความสะดวกในการโยกย้ายถิ่นฐานและเคลื่อนย้ายของคนให้เป็นระเบียบ ปลอดภัย ปกติ และมีความรับผิดชอบ รวมถึงให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายด้านการอพยพที่มีการวางแผนและการจัดการที่ดี

• ตัวชี้วัด 10.7.1 ค่าใช้จ่ายในการจัดหางานที่ลูกจ้างต้องจ่าย คิดเป็นสัดส่วนของรายได้ประจำเดือนที่ได้รับจากประเทศปลายทาง
• ตัวชี้วัด 10.7.2 จำนวนประเทศที่มีนโยบายที่เอื้อต่อการโยกย้ายถิ่นฐานและเคลื่อนย้ายของคนที่เป็นระเบียบ ปลอดภัย ปกติ และมีความรับผิดชอบ
• ตัวชี้วัด 10.7.3 จำนวนผู้เสียชีวิตหรือสูญหายในกระบวนการโยกย้ายถิ่นฐานไปยังปลายทางระหว่างประเทศ
• ตัวชี้วัด 10.7.4 สัดส่วนประชากรที่เป็นผู้อพยพ (refugee) จำนวนตามประเทศต้นทาง

เป้าหมายย่อย 10.a ปฏิบัติตามหลักการปฏิบัติอย่างเป็นพิเศษและแตกต่าง (Special and Differential treatment – S&D) สำหรับประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ให้สอดคล้องตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก

• ตัวชี้วัด 10.a.1 สัดส่วนของรายการภาษีศุลกากร (tariff lines) ของสินค้านําเข้าจากประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและประเทศกําลังพัฒนา ที่ไม่มีข้อกีดกันทางภาษีอากร (zero-tariff)

เป้าหมายย่อย 10.b สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) และการไหลของเงิน รวมถึงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไปยังรัฐที่มีความจำเป็นมากที่สุด โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ประเทศแถบแอฟริกา รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก และประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล โดยให้สอดคล้องกับแผนและแผนงานของประเทศเหล่านั้น

• ตัวชี้วัด 10.b.1 ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาทั้งหมด จําแนกตามประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือ และประเทศผู้ให้การช่วยเหลือ และ ประเภทของการให้ความช่วยเหลือ (เช่น การช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) การลงทุนทางตรงของต่างประเทศ (FDI) และอื่น ๆ)

เป้าหมายย่อย 10.c ลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมของการส่งเงินกลับประเทศของแรงงานย้ายถิ่น (migrant remittance) ให้ต่ำกว่าร้อยละ 3 และขจัดการชำระเงินระหว่างประเทศ (remittance corridors) ที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าร้อยละ 5 ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 10.c.1 สัดส่วนของค่าใช้จ่ายการส่งเงินกลับประเทศต่อจำนวนเงินรวมที่ส่งกลับ

 


* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move

  เข้าถึงตัวชี้วัดภาษาอังกฤษ และวิธีการคำนวณตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้ได้ที่นี่  
เป้าหมายที่ 11 ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน
เป้าหมายย่อย 11.1 สร้างหลักประกันว่าทุกคนเข้าถึงที่อยู่อาศัยและการบริการพื้นฐานที่เพียงพอ ปลอดภัย ในราคาที่สามารถจ่ายได้และยกระดับชุมชนแออัด ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 11.1.1 สัดส่วนของประชากรในเขตเมืองที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด ที่อยู่อาศัยนอกระบบ หรือที่ที่ไม่เหมาะสม

เป้าหมายย่อย 11.2 จัดให้ทุกคนเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืน เข้าถึงได้ปลอดภัย ในราคาที่สามารถจ่ายได้พัฒนาความปลอดภัยทางถนน ขยายการขนส่งสาธารณะและคำนึงถึงกลุ่มคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง ผู้หญิง เด็กผู้พิการ และผู้สูงอายุ ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 11.2.1 สัดส่วนของประชากรที่เข้าถึงขนส่งสาธารณะได้อย่างสะดวก จำแนกตาม เพศ อายุ และผู้พิการ

เป้าหมายย่อย 11.3 ยกระดับการพัฒนาเมืองและขีดความสามารถให้ครอบคลุมและยั่งยืนเพื่อการวางแผนและการบริหารจัดการการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์อย่างมีส่วนร่วม บูรณาการและยั่งยืนในทุกประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 11.3.1 สัดส่วนของอัตราการใช้ที่ดินต่ออัตราการเติบโตของประชากร
• ตัวชี้วัด 11.3.2 สัดส่วนของเมืองที่ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรงในการวางแผนการบริหารจัดการเมือง โดยมีการดำเนินการเป็นประจำและอย่างเป็นประชาธิปไตย

เป้าหมายย่อย 11.4 เสริมความพยายามในการปกป้องและคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติของโลก

• ตัวชี้วัด 11.4.1 รายจ่ายรวมต่อหัวประชากรในด้านการสงวน การป้องกัน และการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติ จำแนกตามแหล่งเงินสนับสนุน (ภาครัฐ/เอกชน) ประเภทมรดก (ทางวัฒนธรรม ทางธรรมชาติ) และระดับของรัฐบาล (ประเทศ ภูมิภาค และท้องถิ่น/เทศบาล)

เป้าหมายย่อย 11.5 ลดจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับผลกระทบตลอดจนลดความสูญเสียโดยตรงทางเศรษฐกิจเทียบเคียงกับ GDP ของโลก ที่เกิดจากภัยพิบัติ ซึ่งรวมถึงภัยพิบัติที่เกี่ยวกับน้ำ โดยมุ่งเป้าปกป้องคนจนและคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบางภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 11.5.1 จำนวนผู้เสียชีวิต สูญหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติต่อประชากร 100,000 คน
• ตัวชี้วัด 11.5.2 ความสูญเสียโดยตรงทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากภัยพิบัติเทียบเคียงกับ GDP
• ตัวชี้วัด 11.5.3 (ก) ความเสียหายที่เกิดกับโครงสร้างพื้นฐานหลัก และ (ข) จำนวนการบริการพื้นฐานที่หยุดชะงักอันเป็นผลมาจากภัยพิบัติ

เป้าหมายย่อย 11.6 ลดผลกระทบทางลบของเมืองต่อสิ่งแวดล้อมต่อหัวประชากรรวมถึงการให้ความสำคัญกับคุณภาพอากาศและการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 11.6.1 สัดส่วนของขยะมูลฝอยชุมชน (MSW) ที่มีการจัดเก็บและจัดการในสถานที่ที่มีการควบคุมต่อปริมาณขยะชุมชนรวม และจำแนกตามเมือง
• ตัวชี้วัด 11.6.2 ระดับค่าเฉลี่ยทั้งปีของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (เช่น PM2.5 และ PM10) ในเขตเมือง (ถ่วงน้ำหนักกับประชากร)

เป้าหมายย่อย 11.7 จัดให้มีการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะสีเขียวที่ปลอดภัยครอบคลุมและเข้าถึงได้ โดยถ้วนหน้าโดยเฉพาะสำหรับผู้หญิง เด็ก คนชรา และผู้พิการ ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 11.7.1 ส่วนแบ่งเฉลี่ยของพื้นที่เมืองที่เป็นพื้นที่เปิดสาธารณะสำหรับทุกคน จำแนกตามเพศ อายุ และผู้พิการ
• ตัวชี้วัด 11.7.2 สัดส่วนของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการคุกคามทางร่างกาย หรือเพศ จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพความพิการ และสถานที่เกิดเหตุ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

เป้าหมายย่อย 11.a สนับสุนนการเชื่อมโยงเชิงบวกทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมระหว่างพื้นที่เมือง รอบเมือง และชนบทโดยการเสริมความแข็งแกร่งของการวางแผนการพัฒนาในระดับชาติและภูมิภาค

• ตัวชี้วัด 11.a.1 จำนวนประเทศที่มีนโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาเมืองหรือแผนพัฒนาภาค ซึ่งมี (ก) ความสอดคล้องกับพลวัตของประชากร​ (ข) ความสมดุลของการพัฒนาเชิงพื้นที่ และ (ค) การเพิ่มพื้นที่การคลัง (fiscal space) ของท้องถิ่น

เป้าหมายย่อย 11.b ภายในปี พ.ศ. 2563 เพิ่มจำนวนเมืองและกระบวนการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่เลือกใช้และดำเนินการตามนโยบายและแผนที่บูรณาการเพื่อนำไปสู่ความครอบคลุม ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร การลดผลกระทบ และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีภูมิต้านทานต่อภัยพิบัติและให้พัฒนาและดำเนินการตามการบริหารความเสี่ยงจากภัยพิบัติแบบองค์รวมในทุกระดับ โดยเป็นไปตามกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยง

• ตัวชี้วัด 11.b.1 จำนวนประเทศที่มีและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับประเทศที่สอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558-2573
• ตัวชี้วัด 11.b.2 สัดส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับท้องถิ่นที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ

เป้าหมายย่อย 11.c สนับสนุนประเทศพัฒนาน้อยที่สุดรวมถึงผ่านทางความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการในการสร้างอาคารที่ยั่งยืนและมีความต้านทานและยืดหยุ่นโดยใช้วัสดุท้องถิ่น

• ตัวชี้วัด 11.c *ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา*


* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move

  เข้าถึงตัวชี้วัดภาษาอังกฤษ และวิธีการคำนวณตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้ได้ที่นี่  
เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
เป้าหมายย่อย 12.1 ดำเนินการให้เป็นผลตามกรอบระยะ 10 ปีของแผนงานว่าด้วยแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ทุกประเทศนำไปปฏิบัติโดยประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นผู้นำ โดยคำนึงถึงการพัฒนาและขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนา

• ตัวชี้วัด 12.1.1 จำนวนประเทศที่มีการพัฒนา รับรอง หรือนำใช้เครื่องมือการดำเนินนโยบายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

เป้าหมายย่อย 12.2 บรรลุการจัดการที่ยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 12.2.1 ร่องรอบการใช้วัตถุดิบ (Material Footprint) ร่องรอยการใช้วัตถุดิบต่อหัวประชากร และต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
• ตัวชี้วัดที่ 12.2.2 การบริโภควัตถุดิบในประเทศ การบริโภควัตถุดิบในประเทศต่อหัวประชากร และต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)

เป้าหมายย่อย 12.3 ลดของเสียอาหาร (food waste) ของโลกลงครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค และลดการสูญเสียอาหาร (food loss) ตลอดการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 12.3.1 (ก) ดัชนีการสูญเสียอาหาร (ข) ดัชนีของเสียอาหาร

เป้าหมายย่อย 12.4 บรรลุเรื่องการจัดการสารเคมีและของเสียทุกชนิดตลอดวงจรชีวิตของสิ่งเหล่านั้นด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่ตกลงกันแล้ว และลดการปลดปล่อยสิ่งเหล่านั้นออกสู่อากาศ น้ำ และดินอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อจะลดผลกระทบทางลบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด ภายในปี พ.ศ. 2563

• ตัวชี้วัด 12.4.1 จำนวนภาคีสมาชิกของข้อตกลงพหุภาคีด้านลิ่งแวดล้อมว่าด้วยของเสียอันตรายและสารเคมีอื่น ๆ ที่บรรลุวัตถุประสงค์ของพันธกรณีและข้อผูกพันในการถ่ายทอดข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในแต่ละข้อตดลงที่เกี่ยวข้อง
• ตัวชี้วัด 12.4.2 (ก) ของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นต่อหัวประชากร และ (ข) สัดส่วนของเสียอันตรายที่ได้รับการบำบัด จำแนกตามประเภทการบำบัด

เป้าหมายย่อย 12.5 ลดการเกิดของเสียโดยให้มีการป้องกัน การลดปริมาณ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 12.5.1 อัตราการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ระดับประเทศ (national recycling rate) (จำนวนตันของวัสดุที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่)

เป้าหมายย่อย 12.6 สนับสนุนให้บริษัท โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติและบริษัทขนาดใหญ่ รับแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนไปใช้ และบูรณาการข้อมูลด้านความยั่งยืนไว้ในรอบการรายงานของบริษัทเหล่านั้น

• ตัวชี้วัด 12.6.1 จำนวนบริษัทที่จัดทำรายงานความยั่งยืน

เป้าหมายย่อย 12.7 ส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่ยั่งยืน ตามนโยบายและการให้ลำดับความความสำคัญของประเทศ

• ตัวชี้วัด 12.7.1 จำนวนประเทศที่นำนโยบายและแผนปฏิบัติงานด้านการจัดซื้อจัดจ้างที่ยั่งยืนในภาครัฐไปปฏิบัติ

เป้าหมายย่อย 12.8 สร้างหลักประกันว่าประชาชนในทุกแห่งมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องและมีความตระหนักถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนและวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 12.8.1 ระดับการดำเนินการเพื่อบรรจุ (1) การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก และ (2) การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่นั่งยืน เป็นเรื่องหลักใน (ก) นโยบายการศึกษาของประเทศ (ข) หลักสูตร (ค) การศึกษาของครู และ (ง) การประเมินผลนักเรียน

เป้าหมายย่อย 12.a สนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการเสริมความแข็งแกร่งของขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะขับเคลื่อนไปสู่แบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น

• ตัวชี้วัด 12.a.1 กำลังผลิตติดตั้งพลังงานหมุนเวียนในประเทศกำลังพัฒนา (วัตต์ต่อหัวประชากร)

เป้าหมายย่อย 12.b พัฒนาและดำเนินการใช้เครื่องมือเพื่อติดตามผลกระทบของการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนที่สร้างงานและส่งเสริมวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

• ตัวชี้วัด 12.b.1 ดำเนินการใช้เครื่องมือทางการบัญชีที่มีมาตรฐานเพื่อติดตามมิติทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของความยั่งยืนทางการท่องเที่ยว

เป้าหมายย่อย 12.c ทำให้การอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไร้ประสิทธิภาพและนำไปสู่การบริโภคที่สิ้นเปลืองมีความสมเหตุสมผล โดยกำจัดการบิดเบือนทางการตลาด ให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศ รวมถึงการปรับโครงสร้างภาษีและเลิกการอุดหนุนที่เป็นภัยเหล่านั้น เพื่อสะท้อนให้เห็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

• ตัวชี้วัด 12.c.1 สัดส่วนของเงินอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อหน่วย GDP (ด้านการผลิตและการบริโภค)

 


* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move

  เข้าถึงตัวชี้วัดภาษาอังกฤษ และวิธีการคำนวณตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้ได้ที่นี่  
เป้าหมายที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น
เป้าหมายย่อย 13.1 เสริมภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ

• ตัวชี้วัด 13.1.1 จำนวนผู้เสียชีวิต สูญหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงอันเป็นผลมาจากภัยพิบัติต่อประชากร 100,000 คน
• ตัวชี้วัด 13.1.2 จํานวนประเทศที่มีและดําเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับประเทศที่สอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558 – 2573
• ตัวชี้วัด 13.1.3 สัดส่วนของหน่วยงานระดับท้องถิ่นที่มีและดําเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ

เป้าหมายย่อย 13.2 บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ

• ตัวชี้วัด 13.2.1 จํานวนประเทศที่จัดทำการมีส่วนร่วมที่ประเทศกําหนด (NDC) ยุทธศาสตร์ระยะยาว แผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (NAP) และยุทธศาสตร์ในรายงานการดําเนินงานด้านการปรับตัว (Adaptation communications) ตามที่รายงานต่อสํานักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC)
• ตัวชี้วัด 13.2.2 ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม ต่อปี

เป้าหมายย่อย 13.3 พัฒนาการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้ และขีดความสามารถของมนุษย์และของสถาบันในเรื่องการลดผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเตือนภัยล่วงหน้า

• ตัวชี้วัด 13.3.1 ระดับการดำเนินการเพื่อบรรจุ (1) การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก และ (2) การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นเรื่องหลักใน (ก) นโยบายการศึกษาของประเทศ (ข) หลักสูตร (ค) การศึกษาของครู (ง) การประเมินผลนักเรียน

เป้าหมายย่อย 13.a ดำเนินการให้เกิดผลตามพันธกรณีที่ผูกพันต่อประเทศพัฒนาแล้วซึ่งเป็นภาคีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีเป้าหมายร่วมกันระดมทุนจากทุกแหล่งให้ได้จำนวนหนึ่งแสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ภายในปี พ.ศ. 2563 เพื่อสนองความต้องการของประเทศกำลังพัฒนา ภายใต้บริบทของการดำเนินมาตรการลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ตลอดจนจัดหาเงินทุนเพื่อให้กองทุน Green Climate Fund ดำเนินการได้เต็มที่โดยเร็ว

• ตัวชี้วัด 13.a.1 จำนวนเงินที่ได้รับการจัดสรรและระดมทุนได้ต่อปี (ดอลลาร์สหรัฐ) เทียบเคียงกับเป้าหมายการระดมทุนสะสมต่อเนื่องให้ได้ 1 แสนล้านเหรียญตามพันธะสัญญาจนถึงปี พ.ศ. 2568

เป้าหมายย่อย 13.b ส่งเสริมกลไกที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการวางแผนและการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิผลในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก โดยให้ความสำคัญต่อผู้หญิง เยาวชน ชุมชนท้องถิ่นและชุมชนชายขอบ

• ตัวชี้วัด 13.b.1 จำนวนประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ที่จัดทำการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDCs) ยุทธศาสตร์ระยะยาว แผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์ในรายงานการดำเนินงานด้านการปรับตัว (Adaptation communications) ตามที่รายงานต่อสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC)

 


* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move

  เข้าถึงตัวชี้วัดภาษาอังกฤษ และวิธีการคำนวณตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้ได้ที่นี่  
เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายย่อย 14.1 ป้องกันและลดมลพิษทางทะเลทุกประเภทอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากกิจกรรมบนแผ่นดิน รวมถึงขยะในทะเลและมลพิษจากธาตุอาหาร (nutrient pollution) ภายในปี พ.ศ. 2568

• ตัวชี้วัด 14.1.1 (a) (ก) ดัชนีของปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชัน (utrophication) และ (ข) ความหนาแน่นของขยะพลาสติกในทะเล

เป้าหมายย่อย 14.2 บริหารจัดการและปกป้องระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบทางลบที่มีนัยสำคัญ รวมถึงโดยการเสริมภูมิต้านทานและปฏิบัติการเพื่อฟื้นฟู เพื่อบรรลุการมีมหาสมุทรที่มีสุขภาพดีและมีผลิตภาพ ภายในปี พ.ศ. 2563

• ตัวชี้วัด 14.2.1 จำนวนประเทศที่ใช้แนวทางเชิงระบบนิเวศในการบริหารจัดการพื้นที่ทางทะเล

เป้าหมายย่อย 14.3 ลดและแก้ปัญหาผลกระทบของการเป็นกรดในมหาสมุทร โดยรวมถึงผ่านทางการเพิ่มพูนความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ในทุกระดับ

• ตัวชี้วัด 14.3.1 ค่าความเป็นกรดในทะเลเฉลี่ย (pH) โดยวัดจากสถานีสุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่เห็นชอบร่วมกัน

เป้าหมายย่อย 14.4 ภายในปี พ.ศ. 2563 ให้กำกับการทำการประมงอย่างมีประสิทธิผล และยุติการประมงเกินขีดจำกัด การประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) และแนวปฏิบัติด้านการประมงที่เป็นไปในทางทำลาย และดำเนินการให้เป็นผลตามแผนการบริหารจัดการที่อยู่บนฐานวิทยาศาสตร์ เพื่อจะฟื้นฟูมวลปลา (fish stock) ในเวลาที่สั้นที่สุดที่จะเป็นไปได้ อย่างน้อยที่สุดให้อยู่ในระดับผลผลิตสูงสุดที่ยั่งยืน (maximum sustainable yield) ตามคุณลักษณะทางชีววิทยาของสัตว์น้ำเหล่านั้น

• ตัวชี้วัด 14.4.1 สัดส่วนของมวลสัตว์น้ำที่อยู่ในระดับความยั่งยืนทางชีวภาพ

เป้าหมายย่อย 14.5 ภายในปี พ.ศ. 2563 อนุรักษ์พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งอย่างน้อยร้อยละ 10 โดยให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศและภายในประเทศ และอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดที่มีอยู่

• ตัวชี้วัด 14.5.1 ขอบเขตพื้นที่คุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางทะเล

เป้าหมายย่อย 14.6 ภายในปี พ.ศ. 2563 ยับยั้งการอุดหนุนการประมงบางรูปแบบที่มีส่วนทำให้เกิดการประมงเกินขีดจำกัด ขจัดการอุดหนุนที่มีส่วนทำให้เกิดการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม และระงับการริเริ่มการอุดหนุนในลักษณะดังกล่าว โดยตระหนักว่าการปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่างที่เหมาะสมและมีประสิทธิผลสำหรับประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุดควรเป็นส่วนควบในการเจรจาการอุดหนุนการประมงขององค์การการค้าโลก

• ตัวชี้วัด 14.6.1 ระดับความก้าวหน้าการดำเนินการใช้เครื่องมือ/กลไกระหว่างประเทศ เพื่อต่อสู้กับการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม

เป้าหมายย่อย 14.7 ภายในปี พ.ศ. 2573 เพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็กและประเทศพัฒนาน้อยที่สุดจากการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน รวมถึงการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนในเรื่องการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการท่องเที่ยว

• ตัวชี้วัด 14.7.1 สัดส่วนของผลผลิตจากการประมงที่ยั่งยืนต่อ GDP ในรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และทุกประเทศ

เป้าหมายย่อย 14.a  เพิ่มความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาขีดความสามารถในการวิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทะเล โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทะเลของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสมุทรศาสตร์ เพื่อจะพัฒนาคุณภาพมหาสมุทรและเพิ่มพูนให้ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็กและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

• ตัวชี้วัด 14.a.1 สัดส่วนงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพื่อการวิจัยในด้านเทคโนโลยีทางทะเล

เป้าหมายย่อย 14.b จัดให้ชาวประมงพื้นบ้านรายเล็กเข้าถึงทรัพยากรทางทะเลและตลาด

• ตัวชี้วัด 14.b.1 ระดับความก้าวหน้าการนำใช้กรอบกฎหมาย / ข้อบังคับ / นโยบาย / กรอบการปฏิบัติงานที่ตระหนักและคุ้มครองสิทธิในการทำประมงขนาดเล็ก

เป้าหมายย่อย 14.c เพิ่มพูนการอนุรักษ์และการใช้มหาสมุทรและทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยการดำเนินการให้เกิดผลตามกฎหมายระหว่างประเทศตามที่สะท้อนในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) ซึ่งเป็นกรอบทางกฎหมายสำหรับการอนุรักษ์และการใช้มหาสมุทรและทรัพยากรเหล่านั้นอย่างยั่งยืน ตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 158 ของเอกสาร The Future We Want

• ตัวชี้วัด 14.c.1 จำนวนประเทศที่มีความก้าวหน้าในการให้สัตยาบันยอมรับ และนำกรอบการทำงานเชิงกฎหมาย/ นโยบาย/ สถาบัน และเครื่องมือในการแปลงกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับมหาสมุทรมาใช้ ดังที่สะท้อนอยู่ใน UNCLOS เพื่อการอนุรักษ์และการใช้มหาสมุทรและทรัพยากรอย่างยั่งยืน

 


* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move

  เข้าถึงตัวชี้วัดภาษาอังกฤษ และวิธีการคำนวณตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้ได้ที่นี่  
เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
เป้าหมายย่อย 15.1 สร้างหลักประกันว่าจะมีการอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ระบบนิเวศบนบกและแหล่งน้ำจืดในแผ่นดิน รวมทั้งบริการทางระบบนิเวศอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ ภูเขาและพื้นที่แห้งแล้ง โดยเป็นไปตามข้อบังคับภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2563

• ตัวชี้วัด 15.1.1 สัดส่วนของพื้นที่ป่าไม้ต่อพื้นที่ดินทั้งหมด
• ตัวชี้วัด 15.1.2 สัดส่วนของพื้นที่สำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั่งทางบกและแหล่งน้ำจืด ซึ่งเป็นพื้นที่คุ้มครอง จำแนกตามประเภทระบบนิเวศ

เป้าหมายย่อย 15.2 ส่งเสริมการดำเนินการด้านการบริหารจัดการป่าไม้ทุกประเภทอย่างยั่งยืน หยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่า ฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรม และเพิ่มการปลูกป่าและฟื้นฟูป่าทั่วโลกอย่างจริงจัง ภายในปี พ.ศ. 2563

• ตัวชี้วัด 15.2.1 ความก้าวหน้าในการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน

เป้าหมายย่อย 15.3 ต่อต้านการกลายสภาพเป็นทะเลทราย ฟื้นฟูที่ดินและดินที่เสื่อมโทรม รวมถึงที่ดินที่ได้รับผลกระทบจากการกลายสภาพเป็นทะเลทราย ภัยแล้ง และอุทกภัย และพยายามที่จะบรรลุถึงความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 15.3.1 สัดส่วนของที่ดินที่ถูกทำให้เสื่อมโทรมต่อพื้นที่ทั้งหมด

เป้าหมายย่อย 15.4 สร้างหลักประกันว่าจะมีการอนุรักษ์ระบบนิเวศภูเขาและความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศเหล่านั้น เพื่อเพิ่มพูนขีดความสามารถของระบบนิเวศในการสร้างผลประโยชน์อันสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 15.4.1 ขอบเขตของพื้นที่คุ้มครองที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพบนภูเขา
• ตัวชี้วัด 15.4.2 (ก) ดัชนีพื้นที่ภูเขาสีเขียว (Mountain Green Cover Index) และ (ข) สัดส่วนที่ดินภูเขาที่เสื่อมโทรม

เป้าหมายย่อย 15.5 ปฏิบัติการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อลดการเสื่อมโทรมของถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ หยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และภายในปี พ.ศ. 2563 ปกป้องและป้องกันการสูญพันธุ์ของชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม

• ตัวชี้วัด 15.5.1 ดัชนีบัญชีชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม (Red List Index)

เป้าหมายย่อย 15.6 ส่งเสริมการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม และส่งเสริมการเข้าถึงทรัพยากรเหล่านั้นอย่างเหมาะสม ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ

• ตัวชี้วัด 15.6.1 จำนวนประเทศที่มีการใช้กรอบทางกฎหมาย กรอบการบริหารงาน และกรอบนโยบาย ที่ประกันความเป็นธรรมและความเท่าเทียมในการแบ่งปันผลประโยชน์

เป้าหมายย่อย 15.7 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อจะยุติการล่าและการขนย้ายชนิดพันธุ์พืชและสัตว์คุ้มครอง และแก้ปัญหาทั้งอุปสงค์และอุปทานต่อผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย

• ตัวชี้วัด 15.7.1 สัดส่วนของการค้าสัตว์ป่าที่ถูกล่าหรือถูกขนย้ายอย่างผิดกฎหมาย

เป้าหมายย่อย 15.8 นำมาตรการเพื่อป้องกันการนำเข้าและลดผลกระทบของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานต่อระบบนิเวศบกและน้ำ และควบคุมหรือขจัด priority species ภายในปี พ.ศ. 2563

• ตัวชี้วัด 15.8.1 สัดส่วนประเทศที่ใช้กฎหมายระดับชาติที่เกี่ยวข้อง และจัดสรรทรัพยากรเพื่อป้องกันหรือควบคุมชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ถูกรุกรานอย่างเพียงพอ

เป้าหมายย่อย 15.9 บูรณาการมูลค่าของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเข้าไปสู่การจัดทำแผน กระบวนการพัฒนา ยุทธศาสตร์การลดความยากจน และบัญชีทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2563

• ตัวชี้วัด 15.9.1 (ก) จำนวนประเทศที่กำหนดเป้าหมายระดับชาติที่สอดคล้องหรือใกล้เคียงกับเป้าประสงค์ที่ 2 ของ Aichi Biodiversity ของแผนยุทธศาสตร์ความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 2011-2020 ไว้ในยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ (NBSAP) และมีรายงานความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว (ข) บูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพในระบบการรายงานและบัญชีประชาชาติ (การดำเนินการตามระบบบัญชีเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม SEEA)

เป้าหมายย่อย 15.a ระดมและเพิ่มทรัพยากรทางการเงินจากทุกแหล่ง เพื่ออนุรักษ์และใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

• ตัวชี้วัด 15.a.1 (ก) มูลค่าการช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) และการใช้จ่ายของรัฐด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน (ข) รายได้และเงินทุนจากการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ

เป้าหมายย่อย 15.b ระดมทรัพยากรจากทุกแหล่งและทุกระดับเพื่อสนับสนุนเงินแก่การบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสมสำหรับประเทศกำลังพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าในการบริหารจัดการ ซึ่งรวมถึงการอนุรักษ์และการปลูกป่า

• ตัวชี้วัด 15.b.1 (ก) มูลค่าการช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) และการใช้จ่ายของรัฐด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน (ข) รายได้และเงินทุนจากการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ

เป้าหมายย่อย 15.c เพิ่มพูนการสนับสนุนในระดับโลกแก่ความพยายามที่จะต่อสู้กับการล่า การเคลื่อนย้ายชนิดพันธุ์คุ้มครอง รวมถึงโดยการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น

• ตัวชี้วัด 15.c.1 สัดส่วนของการค้าสัตว์ป่าที่ถูกล่าหรือถูกขนย้ายอย่างผิดกฎหมาย

 


* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move

  เข้าถึงตัวชี้วัดภาษาอังกฤษ และวิธีการคำนวณตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้ได้ที่นี่  
เป้าหมายที่ 16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ
เป้าหมายย่อย 16.1 ลดความรุนแรงทุกรูปแบบและอัตราการตายที่เกี่ยวข้องในทุกแห่งให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

• ตัวชี้วัด 16.1.1 จำนวนเหยื่อฆาตกรรม ต่อประชากร 100,000 คน จำแนกตามเพศ และอายุ
• ตัวชี้วัด 16.1.2 การเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ต่อประชากร 100,000 คน จำแนกตามอายุ เพศ และสาเหตุ
• ตัวชี้วัด 16.1.3 สัดส่วนของประชากรที่ได้รับความรุนแรง (ก) ทางร่างกาย (ข) จิตใจ และ (ค) ทางเพศ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
• ตัวชี้วัด 16.1.4 สัดส่วนประชากรที่รู้สึกปลอดภัยเมื่อเดินในบริเวณพื้นที่ที่อาศัยเพียงลำพังในเวลากลางคืน

เป้าหมายย่อย 16.2 ยุติการข่มเหง การแสวงหาประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง การค้ามนุษย์ และความรุนแรงและการทรมานทุกรูปแบบที่มีต่อเด็ก

• ตัวชี้วัด 16.2.1 สัดส่วนของเด็กอายุ 1-17 ปี ที่เคยถูกทำร้ายทางร่างกายและ/หรือข่มเหงทางจิตใจโดยผู้ดูแลในเดือนที่ผ่านมา
• ตัวชี้วัด 16.2.2 จำนวนเหยื่อการค้ามนุษย์ต่อประชากร 100,000 คน จำแนกตามเพศ อายุ และรูปแบบการแสวงหาประโยชน์
• ตัวชี้วัด 16.2.3 สัดส่วนของผู้หญิงและผู้ชาย อายุ 18-29 ปีที่เคยถูกกระทำความรุนแรงทางเพศก่อนอายุ 18 ปี

เป้าหมายย่อย 16.3 ส่งเสริมหลักนิติธรรมทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ และสร้างหลักประกันว่าทุกคนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียม

• ตัวชี้วัด 16.3.1 สัดส่วนของเหยื่อความรุนแรงใน 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งได้แจ้งการกระทำอันรุนแรงนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจหน้าที่ หรือกลไกทางการในการยุติข้อขัดแย้ง
• ตัวชี้วัด 16.3.2 สัดส่วนของจำนวนผู้ต้องขังที่ศาลยังไม่พิพากษาต่อจำนวนนักโทษทั้งหมด
• ตัวชี้วัด 16.3.3 สัดส่วนของประชากรที่มีปัญหาความขัดแย้งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และเข้าถึงกลไกการแก้ปัญหาความขัดแย้งทั้งที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ จำแนกตามประเภทของกลไก

เป้าหมายย่อย 16.4 ลดการลักลอบเคลื่อนย้ายอาวุธและเงิน เสริมความแข็งแกร่งของกระบวนการติดตามและการส่งคืนสินทรัพย์ที่ถูกขโมยไป และต่อสู้กับอาชญากรรมที่จัดตั้งในลักษณะองค์กรทุกรูปแบบ ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 16.4.1 มูลค่ารวมทั้งหมดของกระแสเข้าออกของเงินที่ผิดกฎหมาย (หน่วยเป็น ดอลลาร์สหรัฐ)
• ตัวชี้วัด 16.4.2 สัดส่วนของอาวุธที่ถูกยึด ค้นพบ และส่งมอบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ติดตามและระบุแหล่งที่มาหรือบริบทที่ผิดกฎหมายของอาวุธ โดยเป็นไปตามมาตรฐานและเครื่องมือทางกฎหมายระหว่างประเทศ

เป้าหมายย่อย 16.5  ลดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และการรับสินบนทุกรูปแบบ

• ตัวชี้วัด 16.5.1 สัดส่วนของบุคคลที่เคยติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างน้อย 1 ครั้ง และมีการให้สินบนหรือถูกเรียกสินบนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในช่วงระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา
• ตัวชี้วัด 16.5.2 สัดส่วนขององค์ธุรกิจที่เคยติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างน้อย 1 ครั้ง และมีการให้สินบนหรือถูกเรียกสินบนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในช่วงระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา

เป้าหมายย่อย 16.6 พัฒนาสถาบันที่มีประสิทธิผล มีความรับผิดชอบ และโปร่งใสในทุกระดับ

• ตัวชี้วัด 16.6.1 สัดส่วนการเบิกจ่ายต่องบประมาณที่ได้รับการอนุมัติแล้ว จําแนกเป็น ภาค (หรือจําแนกตามรหัสงบประมาณ หรือที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน)
• ตัวชี้วัด 16.6.2 สัดส่วนประชากรที่พึงพอใจกับบริการสาธารณะครั้งล่าสุดที่ตนได้ใช้บริการ

เป้าหมายย่อย 16.7 สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ ครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความเป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ

• ตัวชี้วัด 16.7.1 สัดส่วนตำแหน่งในสถาบันของรัฐระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ซึ่งรวมถึง (ก) สภานิติบัญญัติ (ข) บริการสาธารณะ และ (ค) คณะตุลาการ เปรียบเทียบกับการกระจายตัวในระดับชาติ โดยจำแนกตามเพศ อายุ ผู้พิการ และกลุ่มประชากร
• ตัวชี้วัด 16.7.2 สัดส่วนของประชากรที่เชื่อว่ามีกระบวนการตัดสินใจที่ครอบคลุมและตอบสนองความต้องการ จำแนกตามเพศ อายุ ความพิการ และกลุ่มประชากร

เป้าหมายย่อย 16.8 ขยายและเสริมความแข็งแกร่งของการมีส่วนร่วมของประเทศกำลังพัฒนาในสถาบันที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลโลก

• ตัวชี้วัด 16.8.1 สัดส่วนของสมาชิก และสิทธิในการออกเสียงของประเทศกำลังพัฒนาในองค์กรระหว่างประเทศ

เป้าหมายย่อย 16.9 จัดให้มีอัตลักษณ์ทางกฎหมายสำหรับทุกคน โดยรวมถึงการให้มีการจดทะเบียนเกิด (สูติบัตร) ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 16.9.1 สัดส่วนของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่มีการจดทะเบียนการเกิดกับหน่วยงานของรัฐ จำแนกตามอายุ

เป้าหมายย่อย 16.10 สร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและมีการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมายภายในประเทศและความตกลงระหว่างประเทศ

• ตัวชี้วัด 16.10.1 จํานวนคดีที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นจริง (verified) เกี่ยวกับการฆาตกรรม (killing) การลักพาตัว (kidnapping) การอุ้มหาย (enforced disappearance) การควบคุมตัวโดยพลการ (arbitrary detention) การทรมาน (torture) ที่กระทําต่อผู้สื่อข่าว บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสื่อ สหภาพแรงงาน และผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
• ตัวชี้วัด 16.10.2 จำนวนประเทศที่ใช้และดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและ/หรือนโยบายที่รับประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้

เป้าหมายย่อย 16.a เสริมความแข็งแกร่งของสถาบันระดับชาติที่เกี่ยวข้อง โดยรวมถึงกระทำผ่านทางความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อสร้างขีดความสามารถในทุกระดับ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อจะป้องกันความรุนแรงและต่อสู้กับการก่อการร้ายและอาชญากรรม

• ตัวชี้วัด 16.a.1 การมีองค์กรอิสระด้านสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับหลักสนธิสัญญาปารีส (Paris Princicples)

เป้าหมายย่อย 16.b ส่งเสริมและบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่ไม่เลือกปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

• ตัวชี้วัด 16.b.1 สัดส่วนของประชากรที่รายงานว่ารู้สึกถูกเลือกปฏิบัติหรือถูกคุกคามในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ตามข้อบัญญัติพื้นฐานของการห้ามเลือกปฏิบัติภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

 


* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move

  เข้าถึงตัวชี้วัดภาษาอังกฤษ และวิธีการคำนวณตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้ได้ที่นี่  
เป้าหมายที่ 17 เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายย่อย 17.1 เสริมความแข็งแกร่งของการระดมทรัพยากรภายในประเทศ โดยรวมถึงการสนับสนุนระหว่างประเทศไปยังประเทศกำลังพัฒนา เพื่อปรับปรุงขีดความสามารถของประเทศในการเก็บภาษีและรายได้อื่นๆ ของรัฐ

• ตัวชี้วัด 17.1.1 สัดส่วนรายได้ภาครัฐรวม ต่อ GDP จำแนกตามแหล่งที่มาของรายได้
• ตัวชี้วัด 17.1.2 สัดส่วนงบประมาณภายในประเทศที่จัดสรรจากภาษีภายในประเทศ

เป้าหมายย่อย 17.2 ประเทศพัฒนาแล้วจะดำเนินการให้เป็นผลตามพันธกรณีเรื่องการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) อย่างเต็มที่ โดยรวมถึงพันธกรณีที่ให้ไว้โดยประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศที่จะบรรลุเป้าหมายการมีสัดส่วน ODA/GNI ที่ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา ร้อยละ 0.7 และมีสัดส่วน ODA/GNI ที่ให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดร้อยละ 0.15 ถึง ร้อยละ 0.20 โดยผู้ให้ ODA ควรพิจารณาตั้งเป้าหมายที่จะให้มีสัดส่วน ODA/GNI ที่ให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

• ตัวชี้วัด 17.2.1 ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) สุทธิ ยอดรวม และที่ให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยคิดเป็นสัดส่วนรายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ของผู้บริจาคที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา (Development Assistance Committee) ของ OECD

เป้าหมายย่อย 17.3 ระดมทรัพยากรทางการเงินสำหรับประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มเติม จากแหล่งที่หลากหลาย

• ตัวชี้วัด 17.3.1 ทรัพยากรทางการเงินเพิ่มเติมที่ได้รับการระดมจากแหล่งที่หลากหลายไปยังประเทศกำลังพัฒนา
• ตัวชี้วัด 17.3.2 สัดส่วนของมูลค่าการโอนเงินกลับประเทศ (เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) ต่อ GDP ทั้งหมด

เป้าหมายย่อย 17.4 ช่วยประเทศกำลังพัฒนาในการบรรลุความยั่งยืนของหนี้ระยะยาว โดยใช้นโยบายที่ประสานงานกันที่มุ่งส่งเสริมการจัดหาเงินทุนโดยการก่อหนี้ การบรรเทาหนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ตามความเหมาะสม และแก้ปัญหาหนี้ต่างประเทศของประเทศยากจนที่มีหนี้สินในระดับสูงเพื่อลดการประสบปัญหาหนี้ (debt distress)

• ตัวชี้วัด 17.4.1 สัดส่วนภาระหนี้ (debt service) ต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ

เป้าหมายย่อย 17.5 ใช้และดำเนินการให้เกิดผลตามระบอบการส่งเสริมการลงทุนสำหรับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

• ตัวชี้วัด 17.5.1 จำนวนประเทศที่ยอมรับและดำเนินการตามกฎเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนสำหรับประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

เป้าหมายย่อย 17.6 เพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างประเทศและในภูมิภาคแบบเหนือ-ใต้ ใต้-ใต้ และไตรภาคี และการเข้าถึงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม และยกระดับการแบ่งปันความรู้ ตามเงื่อนไขที่ตกลงร่วมกัน โดยรวมถึงผ่านการพัฒนาการประสานงานระหว่างกลไกที่มีอยู่เดิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับของสหประชาชาติ และผ่านทางกลไกอำนวยความสะดวกด้านเทคโนโลยี (Technology Facilitation Mechanism) ของโลก

• ตัวชี้วัด 17.6.1 จำนวนผู้ลงทะเบียนใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ประจำที่ ต่อผู้อยู่อาศัย 100 คน จำแนกตามความเร็ว

เป้าหมายย่อย 17.7 ส่งเสริมการพัฒนา การถ่ายทอด และการเผยแพร่เทคโนโลยี ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับประเทศกำลังพัฒนา ภายใต้เงื่อนไขที่อำนวยประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งตามเงื่อนไขสิทธิพิเศษตามที่ตกลงร่วมกัน

• ตัวชี้วัด 17.7.1 จำนวนเงินทุนรวมที่ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสนับสนุนการพัฒนา การถ่ายทอด การเผยแพร่ และการกระจายของเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เป้าหมายย่อย 17.8 ให้ธนาคารเทคโนโลยีและกลไกการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สำหรับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ทำงานได้อย่างเต็มที่ภายในปี พ.ศ. 2560 และเพิ่มพูนการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

• ตัวชี้วัด 17.8.1 สัดส่วนประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ต

เป้าหมายย่อย 17.9 เพิ่มพูนการสนับสนุนระหว่างประเทศสำหรับการดำเนินการด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถที่มีประสิทธิผลและมีการตั้งเป้าในประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสนับสนุนแผนระดับชาติที่จะดำเนินงานในทุกเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงผ่านทางความร่วมมือแบบเหนือ-ใต้ ใต้-ใต้ และไตรภาคี

• ตัวชี้วัด 17.9.1 มูลค่าเงินดอลลาร์ ของการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนา (รวมถึงผ่านความร่วมมือ เหนือ-ใต้ ใต้-ใต้ และไตรภาคี) ที่ได้ให้คำมั่นไว้

เป้าหมายย่อย 17.10 ส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีที่เป็นสากล มีกติกา เปิดกว้าง ไม่เลือกปฏิบัติ และเสมอภาค ภายใต้องค์การการค้าโลก โดยรวมถึงผ่านข้อสรุปของการเจรจาภายใต้วาระการพัฒนารอบโดฮา

• ตัวชี้วัด 17.10.1 ค่าเฉลี่ยของอัตราภาษีศุลกากรถ่วงน้ำหนักทั่วโลก

เป้าหมายย่อย 17.11 เพิ่มส่วนแบ่งการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนาให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมุ่งเพิ่มส่วนแบ่งของประเทศพัฒนาน้อยที่สุดในการส่งออกทั่วโลกให้สูงขึ้น 2 เท่าในปี พ.ศ. 2563

• ตัวชี้วัด 17.11.1 ส่วนแบ่งของการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุดในการส่งออกรวมของโลก

เป้าหมายย่อย 17.12 ทำให้เกิดการดำเนินการในเวลาที่เหมาะสมในเรื่องการเข้าถึงตลาดปลอดภาษีและปลอดการจำกัดปริมาณในระยะยาวสำหรับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยให้สอดคล้องกับคำตัดสินขององค์การการค้าโลก โดยรวมถึงการสร้างหลักประกันว่ากฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าที่มีการให้สิทธิพิเศษทางการค้าที่ใช้กับประเทศพัฒนาน้อยที่สุดจะมีความโปร่งใสและเรียบง่ายและมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงตลาด

• ตัวชี้วัด 17.12.1 ภาษีศุลกากรเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ประเทศกำลังพัฒนา ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก เผชิญอยู่

เป้าหมายย่อย 17.13 เพิ่มพูนเสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาคของโลก โดยรวมถึงผ่านทางการประสานงานนโยบายและความสอดคล้องเชิงนโยบาย

• ตัวชี้วัด 17.13.1 ผังติดตามเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Dashboard)

เป้าหมายย่อย 17.14 ยกระดับความสอดคล้องเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

• ตัวชี้วัด 17.14.1 จำนวนประเทศที่มีกลไกเสริมสร้างความสอดคล้องของนโยบายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน

เป้าหมายย่อย 17.15 เคารพพื้นที่ทางนโยบายและความเป็นผู้นำของแต่ละประเทศที่จะสร้างและดำเนินงานตามนโยบายเพื่อการขจัดความยากจนและการพัฒนาที่ยั่งยืน

• ตัวชี้วัด 17.15.1 ระดับของการที่ผู้ให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนานำใช้กรอบติดตามผลลัพธ์และเครื่องมือการจัดทำแผนที่ประเทศเป็นเจ้าของ

เป้าหมายย่อย 17.16 ยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยร่วมเติมเต็มโดยหุ้นส่วนความร่วมมือจากภาคส่วนที่หลากหลายซึ่งจะระดมและแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญเทคโนโลยี และทรัพยากรทางการเงิน เพื่อจะสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา

• ตัวชี้วัด 17.16.1 จำนวนประเทศที่รายงานความก้าวหน้าตามกรอบการติดตามประสิทธิผลของการพัฒนาที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย ที่สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

เป้าหมายย่อย 17.17 สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม สร้างบนประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านทรัพยากรของหุ้นส่วน

• ตัวชี้วัด 17.17.1 จำนวนเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีภาระผูกพันให้ใช้ในโครงการความร่วมมือภาครัฐ-เอกชนด้านโครงสร้างพื้นฐาน

เป้าหมายย่อย 17.18 ยกระดับการสนับสนุนด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ให้เพิ่มการมีอยู่ของข้อมูลที่มีคุณภาพ ทันเวลาและเชื่อถือได้ จำแนกตามรายได้ เพศ อายุ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ สถานะการอพยพ ความพิการ ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ และคุณลักษณะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามบริบทของประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2563

• ตัวชี้วัด 17.18.1 ตัวชี้วัดขีดความสามารถเชิงสถิติเพื่อการติดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
• ตัวชี้วัด 17.18.2 จำนวนประเทศที่มีกฎหมายด้านสถิติของประเทศที่สอดคล้องกับหลักพื้นฐานของสถิติทางการ
• ตัวชี้วัด 17.18.3 จำนวนประเทศที่มีแผนสถิติระดับประเทศที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนอย่างเต็มที่ และอยู่ระหว่างการดำเนินการ จำแนกตามแหล่งเงินทุน

เป้าหมายย่อย 17.19 ต่อยอดจากข้อริเริ่มที่มีอยู่แล้วในการพัฒนาการวัดความก้าวหน้าของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และสนับสนุนการสร้างขีดความสามารถด้านสถิติในประเทศกำลังพัฒนา ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 17.19.1 มูลค่าเงินดอลลาร์ของทรัพยากรที่จัดสรรเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านสถิติของประเทศกำลังพัฒนา
• ตัวชี้วัด 17.19.2 สัดส่วนของประเทศที่ (ก) มีการดำเนินการสำมะโนประชากรและสำมะโนครัวเรือนอย่างน้อยหนึ่งครัhงในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และ (ข) มีการจดทะเบียนการเกิด ร้อยละ 100 และ จดทะเบียนการตาย ร้อยละ 80

 


* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move

  เข้าถึงตัวชี้วัดภาษาอังกฤษ และวิธีการคำนวณตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้ได้ที่นี่