Strategy Paper on Nature-based Solutions to Build Climate Resilience in Informal Areas
เอกสาร “Strategy Paper on Nature-based Solutions to Build Climate Resilience in Informal Areas” พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยและข้อมูลจากโครงการเชิงปฏิบัติการที่ใช้การแก้ปัญหาที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions: NbS) เพื่อการปรับตัวและสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่พื้นที่ที่อยู่อาศัยแออัดเพื่อให้เข้าใจถึงศักยภาพในการดำเนินการขยายขนาดและความท้าทายได้ดียิ่งขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการศึกษาที่ประโยชน์ในการสร้างความสามารถลดความเสี่ยง จัดการกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับคนยากจนในเขตเมืองและแก่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Lessons from COVID-19 for Climate Change
เอกสารสมุดปกขาว “Lessons from COVID-19 for Climate Change” นำเสนอการพัฒนายุทธศาสตร์ในรูปแบบบูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อกระกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จัดการกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤต ซึ่งเป็นบทเรียนที่ได้จากช่วงเวลาการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นวิกฤติระดับโลกเช่นกัน หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม และงานท่ีมีคุณค่าสำหรับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ในห้วงการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย “แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม และงานท่ีมีคุณค่าสำหรับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ในห้วงการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19” เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ผ่านกระบวนการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนเสียหลากหลายกลุ่ม ที่จัดโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงยุติธรรม โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางแก่รัฐบาลไทยในการทบทวน พัฒนา และดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายถิ่นฐานของแรงงานข้ามชาติที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่
ข้อคิดเห็นของเยาวชนและนายจ้างเกี่ยวกับโอกาสในการมีงานทำของเยาวชนไทย (Voices of youth and employers on youth employability in Thailand)
“ข้อคิดเห็นของเยาวชนและนายจ้างเกี่ยวกับโอกาสในการมีงานทำของเยาวชนไทย: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนให้เยาวชนไทยได้เข้าถึงงานที่มีคุณค่าและเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต” ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อปรับปรุงคุณภาพ ความเหมาะสม และขอบเขตการดำเนินการในด้านต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตและความสามารถในการทำงานของเยาวชนไทย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
Liquidity and Debt Solutions to Invest in the SDGs: The Time to Act is Now
บทสรุปเชิงนโยบาย “Liquidity and Debt Solutions to Invest in the SDGs: The Time to Act is Now” ทำการรวบรวมการตอบสนองทางนโยบายทั่วโลกตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ประเมินช่องว่างและความท้าทายที่เหลืออยู่สำหรับการนำไปปฏิบัติ และเสนอข้อแนะนำในการแก้ปัญหาทางการเงินที่เป็นรูปธรรมสำหรับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพและการพัฒนาที่เป็นผลมาจากโควิด-19 รวมถึงทางเลือกในการฟื้นฟูที่ดีขึ้นและการลงทุนในอนาคตที่ยั่งยืนและครอบคลุมมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (UN) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Putting children at the centre of the Sustainable Development Goals
Policy Brief 5 ปีให้หลังจากที่ประเทศต่าง ๆ ให้คำมั่นต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเมื่อปี 2015 เด็กจำนวนมากถึง 250 ล้านคนยังไม่ได้รับการส่งเสริมตามศักยภาพของตนอย่างเต็มกำลังได้ รายงาน “Putting children at the centre of the Sustainable Development Goals” ฉบับนี้ เป็นคำแนะนำให้ผู้กำหนดนโยบายตระหนักว่าความเป็นอยู่ของเด็กเป็นตัวชี้วัดหรือหัวใจสำคัญของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ และการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Measuring children’s well-being: the Child Flourishing and Futures Index
Policy Brief จากสถานการณ์โลกที่เผชิญกับภาวะโลกร้อน โรคระบาด วิกฤติภาวะทุพโภชนาการ และวิกฤติความขัดแย้งและการโยกย้ายถิ่นฐาน ทำให้เด็กเปราะบางและมักตกเป็นเหยื่อ รายงานสรุปเชิงนโยบาย “Measuring children’s well-being: the Child Flourishing and Futures Index” จึงนำเสนอดัชนีโลก (global index) ที่สำรวจ 180 ประเทศ โดยแสดงให้เห็นว่าไม่มีประเทศใดที่สามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่จำเป็นสำหรับการที่เด็กจะมีได้มีสุขภาพที่ดีทั้งในวันนี้และในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Small Island Developing States Response to COVID-19
Highlighting food security, nutrition and sustainable food systems Policy Brief นี้ได้สำรวจผลกระทบจากโควิด-19 ที่มีต่อระบบอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และโภชนาการของรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก รวมถึงการใช้มาตรการตอบสนองอย่างรวดเร็ว อาทิ การพยายามทำให้มาตรการหลาย ๆ อย่างของภาคเกษตรกรรมเป็นรูปแบบดิจิทัล เช่น e-commerce และ mobile banking เป็นต้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่