World Health Statistics 2023: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs)
รายงาน “World health statistics 2023: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals” เป็นรายงานความก้าวหน้าตัวชี้วัดด้านสุขภาพประจำปีที่จัดทำมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 โดยในฉบับปี 2023 นี้ จะเป็นการทบทวนสถานะล่าสุดของตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Indicators) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพมากกว่า 50 ตัวชี้วัดที่อยู่ในเป้าหมายต่าง ๆ และสถานะตามแผนการดำเนินงานขององค์การอนามัยโลก ฉบับที่ 13 (The Thirteenth General Programme of Work: GPW 13) ของทุกประเทศทั่วโลก จากข้อมูลจนถึงปี 2022 ตอกย้ำให้เห็นถึงความซบเซาของความก้าวหน้าด้านสุขภาพจากตัวชี้วัดด้านสุขภาพที่สำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับแนวโน้มที่เห็นในช่วงปี 2000-2015 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Report on Food Crises 2023
รายงาน “Global Report on Food Crises 2023” ว่าด้วยวิกฤติด้านอาหารในระดับโลก พบว่ามีจำนวนผู้ประสบภัยจากความไม่มั่นคงทางอาหารเพิ่มสูงขึ้น โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและสงครามในยูเครนด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The State of the World’s Children 2023
รายงาน “The State of the World’s Children 2023” นำเสนอสถานการณ์เด็กทั่วโลก ฉบับประจำปีนี้มุ่งเป้าไปที่การศึกษาแนวทางที่จะทำให้แน่ใจว่าเด็กทุกคนในโลกได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อที่ โดยจะฉายภาพให้เห็นว่าความยากจน การทำให้เป็นชายขอบ (marginalization) และเพศส่งผลต่อการเข้าถึงวัคซีนของเด็กอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาหลังโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อความก้าวหน้าด้านการได้รับวัคซีนให้เด็กทั่วโลก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษ และอ่านรายงานรูปแบบ interactive ได้ ที่นี่
Financing for Sustainable Development Report 2023: Financing Sustainable Transformations
รายงาน “Financing for Sustainable Development Report 2023: Financing Sustainable Transformations” พบว่า ความต้องการด้านการเงินสำหรับการดำเนินการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กำลังเพิ่มขึ้น แต่การจัดหาเงินทุนที่ได้ในปัจจุบันนั้นตามไม่ทัน เป็นผลมาจากทั้งสงครามในยูเครน ราคาอาหารและพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเงื่อนไขทางการเงินที่ตึงตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ปัญหาความหิวโหยและความยากจนรุนแรงขึ้น และจะทำให้ความก้าวหน้าเพื่อบรรลุ SDGs นั้นเดินถอยหลัง หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Thailand’s BCG Transformation – 40 case studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action
หนังสือ “Thailand’s BCG Transformation. 40 case studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action” รวบรวมเรื่องราวความสำเร็จของ BCG Model ที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งระดับบุคคลหรือครัวเรือน ระดับองค์กรธุรกิจ และระดับชาติ ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งแสดงความเชื่อมโยงในการใช้กลยุทธ BCG Model บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสร้างแนวทางที่ชัดเจนไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2562-63
“รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2562-63” เป็นรายงานประจำปีที่ติดตามสถานการณ์และสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศไทย ทั้งในเชิงประเด็น เชิงกลุ่มเป้าหมาย และเชิงพื้นที่ ใช้ข้อมูลทางสังคมทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และระดับประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้มีอำนาจในการวิเคราะห์ทิศทางสำหรับการกำหนดนโยบายพัฒนาสังคมของประเทศไทยในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565
“รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 12 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 10 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ และ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ฉบับปีนี้มาในธีม “ครอบครัวไทยในวิกฤตโควิด-19” หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Global Report on Food Crises 2022
Global Report on Food Crises – 2022 รายงานวิกฤตการณ์อาหารโลกปี 2022 (GRFC 2022) เน้นย้ำถึงความรุนแรงและจำนวนผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤตใน 53 ประเทศ/เขตแดน ที่เป็นผลมาจากความขัดแย้งที่มีอยู่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 และสภาพอากาศสุดขั้ว โดยตัวเลขผู้รับผลกระทบในรายงานฉบับปี 2022 นี้เป็นจำนวนสูงสุดตั้งแต่มีการทำงานรายงานมาหกปี หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่