Sorting:
Sort Descending
  • Global Report on Food Crises 2021

    รายงานระดับโลกว่าด้วยวิกฤติอาหาร 2564 ฉายภาพสถานการณ์วิกฤติความไม่มั่นคงทางอาหารอย่างรุนแรงใน 55 ประเทศ/เขตแดนทั่วโลก โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งที่มีอยู่เดิม การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างฉับพลันอันเป็นผลมาจากโควิด-19 และสภาพอากาศสุดขั้ว (extreme weather) ทั้งนี้ สำหรับปี 2564 จำนวนประชากรโลกที่เผชิญกับสภาวะดังกล่าว ถือว่ามีจำนวนสูงที่สุด ตามข้อมูลที่ปรากฎในรายงานระดับโลกว่าด้วยวิกฤติอาหารที่มีมา 5 ปีแล้ว หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Report on Food Crises 2019 Global Report on Food Crises 2020 Global Report on Food Crises 2017 The Impact of Disasters […]

  • Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Kingdom of Bhutan

    รายงาน “Joint external evaluation of IHR core capacities of the Kingdom of Bhutan” เป็นหนึ่งในกระบวนการติดตามและประเมินผลขีดความสามารถของราชอาณาจักรภูฏาน ให้เป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานที่มุ่งรักษาความมั่นคงด้านสุขภาพระดับโลกผ่านความร่วมมือระดับนานาชาติในการขับเคลื่อนด้านสาธารณสุข   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Kingdom of Thailand Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Kingdom of Cambodia Joint […]

  • รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2564 (2021 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development)

    รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2564 (2021 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development) หรือรายงาน VNR นำเสนอความก้าวหน้า อุปสรรค และประสบการณ์ในการขับเคลื่อน SDGs ของประเทศไทย   หน่วยงานที่จัดทำ: กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2561 (2018 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda […]

  • เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย (SDG 2: Zero Hunger)

    เป้าหมายที่ 2 (SDG 2: Zero Hunger) มุ่งมั่นที่จะขจัดความหิวโหยและความอดอยากทุกรูปแบบ ภายในปี 2573 เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและผู้ด้อยโอกาส เข้าถึงอาหารที่เพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการตลอดทั้งปี นอกจากนี้ ยังมุ่งส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน การปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่และกำลังการผลิตของเกษตรกรรายย่อยให้เข้าถึงแหล่งที่ดินทำกิน เทคโนโลยีและการตลาดอย่างเท่าเทียม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิง (SDG 5: Gender equality) เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและการสุขาภิบาลที่ยั่งยืน (SDG 6: Clean water and sanitation) เป้าหมายที่ 12 แผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (SDG 12: Responsible consumption and production) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action)

  • South-South and Triangular Cooperation In Action

    – Sexual and Reproductive Health รายงานฉบับนี้นำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีของความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาหรือความร่วมมือใต้ – ใต้ (South-South) ในประเด็นสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ความเท่าเทียมระหว่างเพศ การเสริมพลังอำนาจแก่เยาวชน และข้อมูลประชากรเพื่อการพัฒนา โดยรวมถึงกรณีศึกษาในด้าน อาทิ การวางแผนครอบครัว สุขภาพมารดาและเด็ก และพยาบาลผดุงครรภ์ ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลหรือแนวทางให้สามารถเลือกนำไปใช้ประกอบการส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือใต้-ใต้ในประเด็นเหล่านี้ หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Progress on Transboundary Water Cooperation – 2021 Update Progress on Transboundary Water Cooperation – Global Baseline for SDG Indicator 6.5.2 Joint External Evaluation of IHR […]

  • Guidelines for the Use of the SDG Logo including the Colour Wheel and 17 Icons

    คู่มือ “Guidelines for the Use of the SDG Logo including the Colour Wheel and 17 Icons” หรือ “คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งรวมถึงวงล้อสี SDGs และเครื่องหมาย (ไอคอน) SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย” (ฉบับปรับปรุงล่าสุด: พฤษภาคม 2020) ครอบคลุมแนวทางการใช้โลโก้ SDGs สำหรับหน่วยงานที่ไม่ได้อยู่ภายใต้องค์การสหประชาชาติ (non-UN entities) และอยู่ใต้องค์การสหประชาชาติ (UN entities) ข้อห้ามในการใช้โลโก้ที่เกี่ยวข้องกับ SDGs ทั้งหมด ข้อกำหนดโดยละเอียดในการจัดวาง ขนาดและสัดส่วน การจับคู่โลโก้ วงล้อสี และเครื่องหมาย SDGs กับโลโก้อื่นเพื่อบริบทการใช้งานต่าง ๆ ฟอนต์และโค้ดสี พร้อมลิงก์ในการดาวน์โหลดไฟล์โลโก้ทั้งหมดเพื่อนำไปใช้เผยแพร่   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: คู่มือฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ […]

  • The State of Food and Agriculture 2019

    Moving forward on food loss and waste reduction รายงานสถานการณ์อาหารและเกษตรกรรมปี 2562 เน้นประเด็นขยะอาหาร (food waste) และการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิตและหลังการเก็บเกี่ยว (food loss) โดยเป็นการประเมินที่ยังไม่นับรวมการสูญเสียในระดับการค้าปลีก ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายมีข้อมูลบทวิเคราะห์การสูญเสียอาหารในระบบห่วงโซ่อุปทานที่รอบด้าน และมีตัวอย่างมาตรการที่จะนำไปสู่การลดขยะอาหารและการสูญเสียอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: The State of Food and Agriculture 2018 The Impact of Disasters and Crises on Agriculture and Food Security: 2021 Global Report on Food Crises 2019 Global Report on […]

  • World Press Freedom Index

    ดัชนี “World Press Freedom Index” จัดอันดับดัชนีเสรีภาพสื่อมวลชนประจำปี โดยเป็นการประเมินจากข้อมูลจาก 180 ประเทศทั่วโลก ผ่านการตอบแบบสอบถามของทั่งสื่อมวลชน นักกฎหมาย และนักสังคมวิทยา ร่วมกับพิจารณาข้อมูลเชิงปริมาณเกี่ยวกับการละเมิดและการกระทำอันรุนแรงต่อนักข่าวในช่วงเวลาที่ประเมิน เกณฑ์ที่พิจารณาในแบบสอบถาม ได้แก่ ความเป็นอิสระของสื่อมวลชน สภาพแวดล้อมของสื่อมวลชนและการเซ็นเซอร์ตัวเอง กรอบกฎหมาย ความโปร่งใส และคุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการผลิตข่าวสาร จัดทำขึ้นมาตั้งปี 2002   หน่วยงานที่จัดทำ: Reporters Without Borders (RSF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: รายการ “เราปรับ…โลกเปลี่ยน” We Shift…World Change ตอน SDGs Talk World Social Report 2023 | Leaving No One Behind in an Ageing World 2019 SDG Index for […]

  • The State of the World’s Children 2023

    รายงาน “The State of the World’s Children 2023” นำเสนอสถานการณ์เด็กทั่วโลก ฉบับประจำปีนี้มุ่งเป้าไปที่การศึกษาแนวทางที่จะทำให้แน่ใจว่าเด็กทุกคนในโลกได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อที่ โดยจะฉายภาพให้เห็นว่าความยากจน การทำให้เป็นชายขอบ (marginalization) และเพศส่งผลต่อการเข้าถึงวัคซีนของเด็กอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาหลังโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อความก้าวหน้าด้านการได้รับวัคซีนให้เด็กทั่วโลก   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษ และอ่านรายงานรูปแบบ interactive ได้ ที่นี่ Related posts: World Social Report 2023 | Leaving No One Behind in an Ageing World Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก (The Climate […]

  • GCED learning and assessment: An Analysis of Four Case Studies in Asia

    เอกสาร “GCED learning and assessment: an analysis of four case studies in Asia” รวมกรณีตัวอย่างวิธีการบูรณาการ Global Citizenship Education (GCED) เข้ากับระบบการศึกษาในประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ได้แก่ ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลี และเวียดนาม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถที่มีประโยชน์สำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเพื่อสร้างสังคมที่มีความสันติสุข ครอบคลุมและยั่งยืน   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: GCED: Taking It Local in Asia-Pacific – A Regional Study on GCED Localization and Challenges […]

  • The Wildlife–Livelihoods–Health Nexus: Challenges and Priorities in Asia and the Pacific

    เอกสารสรุปข้อมูล (Information brief) “The Wildlife–Livelihoods–Health Nexus: Challenges and Priorities in Asia and the Pacific” นำเสนอข้อมูลความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันระหว่างสัตว์ป่า-สุขภาพ-การดำรงชีวิตของผู้คนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่จัดทำขึ้นเป็นฉบับแรก วัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นภาพรวมของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ป่า และสุขภาพ ตลอดจนประเด็นด้านความท้าทาย โอกาส และศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งได้เสนอข้อเสนอแนะต่อผู้กำหนดนโยบายถึงวิธีการปกป้องทั้งชนิดพันธุ์สัตว์ป่า ความเป็นอยู่ของคน และสังคมได้ดียิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือและส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายและการลงทุนในด้านการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและการจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า การดำรงชีวิตของผู้คนในชนบท และแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health)   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: GCED: Taking It Local in Asia-Pacific – A Regional Study on GCED Localization and Challenges People and Planet: Addressing the […]

  • SDG 7 Localization: Affordable and Clean Energy in ASEAN Cities

    รายงาน “SDG 7 Localization AFFORDABLE AND CLEAN ENERGY in ASEAN cities” นำเสนอผลงานการวิจัยและการวิเคราะห์ที่เริ่มโดย ESCAP ร่วมกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และ United Cities and Local Governments AsiaPacific (UCLG ASPAC) ภายใต้การสนับสนุนทุนจาก Energy Foundation China ความสำคัญของรายงานฉบับนี้คือการพัฒนากรอบการวิเคราะห์สำหรับการประเมินสถานะการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน #SDG7 ในท้องถิ่น (localization) และการประยุกต์ใช้กับเมืองที่อยู่ในประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: […]

  • Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the State of Eritrea

    รายงาน “Joint external evaluation of IHR core capacities of the State of Eritrea” เป็นหนึ่งในกระบวนการติดตามและประเมินผลขีดความสามารถของรัฐเอริเทรีย ให้เป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานที่มุ่งรักษาความมั่นคงด้านสุขภาพระดับโลกผ่านความร่วมมือระดับนานาชาติในการขับเคลื่อนด้านสาธารณสุข หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the State of Kuwait Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the State of Qatar Joint External Evaluation […]

  • เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8: Decent work and economic growth)

    ในระยะ 25 ปีที่ผ่านมา จำนวนแรงงานที่ประสบปัญหาความยากจนขั้นรุนแรงลดลงอย่างมาก จำนวนชนชั้นกลางมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 34 ของการจ้างงานทั้งหมดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม วิกฤตเศรษฐกิจปี 2551 ส่งผลให้เกิดภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก แม้เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว แต่อัตราการเติบโตยังต่ำ และปัญหาความเหลื่อมล้ำรุนแรงขึ้น การจ้างงานไม่เพียงพอต่อตลาดแรงงานที่เติบโตขึ้น องค์การแรงงานระหว่างประเทศรายงานว่าในปี 2558 มีผู้ไม่มีงานทำถึง 204 ล้านคนทั่วโลก เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยบรรลุการมีผลิตภาพและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ผ่านการสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการและการสร้างงาน รวมทั้งมาตรการที่มีประสิทธิผลในการขจัดแรงงานบังคับ แรงงานทาส และการค้ามนุษย์ เพื่อบรรลุการจ้างงานเต็มรูปแบบ มีประสิทธิภาพและมีคุณค่า สำหรับทุกคนภายในปี 2573 หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :   Related posts: เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย (SDG 2: Zero Hunger) เป้าหมายที่ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน (SDG 9: Industry innovation […]

  • Six Transformations to achieve the Sustainable Development Goals

    ‘6 ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐานเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs’ เป็นยุทธศาสตร์เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และเป้าหมายของความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Climate Accord) มีมาตรการสำคัญ (Key Interventions) คือต้องดำเนินการควบคู่กันทั้ง 6 ด้าน เพื่อทำให้เกิดผลผลิต/ผลลัพธ์ขั้นกลาง (Intermediate Output/Outcome) ที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs อีกต่อหนึ่ง ผู้แต่ง: Jeffrey Sachs และคณะ ดาวน์โหลดที่นี่ Related posts: Financing for Sustainable Development Report 2023: Financing Sustainable Transformations Let’s Work Together: Education has a Key Role in Helping Achieve the Sustainable Development Goals Education for Sustainable Development […]

  • ข้อคิดเห็นของเยาวชนและนายจ้างเกี่ยวกับโอกาสในการมีงานทำของเยาวชนไทย (Voices of youth and employers on youth employability in Thailand)

    “ข้อคิดเห็นของเยาวชนและนายจ้างเกี่ยวกับโอกาสในการมีงานทำของเยาวชนไทย: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนให้เยาวชนไทยได้เข้าถึงงานที่มีคุณค่าและเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต” ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อปรับปรุงคุณภาพ ความเหมาะสม และขอบเขตการดำเนินการในด้านต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตและความสามารถในการทำงานของเยาวชนไทย   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: Online Employability Resources for Youth 2021 ชุดวิดีโอประกอบคู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action) คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action) Global Employment Trends for Youth 2022: Investing in Transforming Futures for Young People

  • Global Wage Report 2016/17: Wage inequality in the workplace

    รายงานฉบับนี้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแสดงสถานการณ์และแนวโน้มของค่าจ้างแรงงานในระดับโลก และภูมิภาค โดยฉบับ 2016/17 นอกจากจะช่วยแสดงแนวโน้มของค่าแรงโดยภาพรวม ยังมุ่งเน้นไปที่ความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างที่กระจายตัวแตกต่างกันตามบริษัทหรือสถานที่ทำงาน และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Wage Report 2014 / 15 Wages and income inequality Global Wage Report 2010/11: Wage policies in times of crisis Global Wage Report 2012/13: Wages and Equitable Growth Global Wage Report 2018/19: What lies behind gender pay gaps

  • World Health Statistics 2020: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs)

    รายงาน “World health statistics 2020: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals” สรุปแนวโน้มล่าสุดเรื่องอายุขัยของคน (life expectancy) และรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานที่เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพ ตลอดจนเป้าหมายและเป้าประสงค์อื่นที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: World Health Statistics 2021: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs) World Health Statistics 2018: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs) World Health Statistics 2023: […]

  • Achieving the Sustainable Development Goals through Tourism – Toolkit of Indicators for Projects (TIPs)

    คู่มือ “Achieving the Sustainable Development Goals through Tourism – Toolkit of Indicators for Projects (TIPs)” พัฒนามาเพื่อเป็นชุดเครื่องมือในการจัดการโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการบูรณาการแนวปฏิบัติการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเข้าไว้ในนโยบาย กรอบการเงิน และการดำเนินธุรกิจ คู่มือนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 อธิบายว่าเหตุใดจึงจำเป็นต้องใช้ตัวชี้วัดตามโครงการ วิธีใช้ตัวชี้วัดในวัฏจักรของโครงการ และวิธีที่ผู้จัดการโครงการสามารถติดตามความก้าวหน้าของ SDGs ส่วนที่ 2 แสดงรายละเอียดของ SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย ความเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เป้าหมายย่อยและตัวชี้วัดที่อาจนำไปปรับใช้และใช้กับโครงการได้   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (World Tourism Organization: UNWTO) ร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency: JICA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Guide […]

  • Summary and Recommendations: Regional Seminar on Integrated Approaches for SDG Planning: The Case of SDG 6 on Water and Sanitation

    รายงาน’ Summary and Recommendations: Regional Seminar on Integrated Approaches for SDG Planning: The Case of SDG 6 on Water and Sanitation ‘ รายงานฉบับนี้เป็นการสรุปผลของการสัมมนา หัวข้อ : แนวทางการบูรณาการสำหรับการวางแผยขับเคลื่อน SDGs โดยมุ่งเน้นไปที่ SDG6 ว่าด้วยการมีน้ำสะอาดและสุขอนามัยที่ดี   หน่วยงานที่จัดทำ : คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและการสุขาภิบาลที่ยั่งยืน (SDG 6: Clean water and […]