Sorting:
Sort Descending
  • เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8: Decent work and economic growth)

    ในระยะ 25 ปีที่ผ่านมา จำนวนแรงงานที่ประสบปัญหาความยากจนขั้นรุนแรงลดลงอย่างมาก จำนวนชนชั้นกลางมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 34 ของการจ้างงานทั้งหมดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม วิกฤตเศรษฐกิจปี 2551 ส่งผลให้เกิดภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก แม้เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว แต่อัตราการเติบโตยังต่ำ และปัญหาความเหลื่อมล้ำรุนแรงขึ้น การจ้างงานไม่เพียงพอต่อตลาดแรงงานที่เติบโตขึ้น องค์การแรงงานระหว่างประเทศรายงานว่าในปี 2558 มีผู้ไม่มีงานทำถึง 204 ล้านคนทั่วโลก เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยบรรลุการมีผลิตภาพและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ผ่านการสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการและการสร้างงาน รวมทั้งมาตรการที่มีประสิทธิผลในการขจัดแรงงานบังคับ แรงงานทาส และการค้ามนุษย์ เพื่อบรรลุการจ้างงานเต็มรูปแบบ มีประสิทธิภาพและมีคุณค่า สำหรับทุกคนภายในปี 2573 หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :   Related posts: เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย (SDG 2: Zero Hunger) เป้าหมายที่ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน (SDG 9: Industry innovation […]

  • เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: Life below water)

    ผู้คนกว่าสามพันล้านคนใช้ชีวิตขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและชายฝั่ง แต่ในปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่า 30% ของปลาทะเลของโลกได้ถูกใช้ไปเกินขนาด ซึ่งต่ำกว่าระดับที่พวกเขาสามารถผลิตผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้ได้ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สร้างกรอบการทำงานเพื่อการจัดการอย่างยั่งยืนและปกป้องระบบนิเวศทางชายฝั่งและทางทะเลจากภาวะมลพิษจากแหล่งบนบก ตลอดจนจัดการปัญหาผลกระทบของการเป็นกรดของมหาสมุทร เสริมสร้างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของทรัพยากรทะเลผ่านกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นกับมหาสมุทร หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและการสุขาภิบาลที่ยั่งยืน (SDG 6: Clean water and sanitation) เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน (SDG 15: Life on land) เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action)

  • SDGs กับอาหารริมทาง

    อาหารริมทาง (Street Food) มีส่วนสำคัญที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางมายังประเทศไทย ด้วยความหลากหลายของเมนูอาหาร ผนวกกับรสชาติที่โดดเด่น ราคาที่ย่อมเยา จึงทำให้ครองใจนักท่องเที่ยวทั่วโลก แต่ผลกระทบจากการท่องเที่ยวและการใช้ชีวิตประจำวันของเราก่อให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย ปัญหาขยะที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการใช้ภาชนะฟุ่มเฟือย และการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง ถึงเวลาแล้วที่เราจะพลิกโฉม Street food ของเราให้มีสุขอนามัยที่ดี สะอาดปลอดภัย ไม่สร้างมลภาวะ และสร้างความประทับใจให้แก่ผู้บริโภค หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: การ์ตูนเพื่อการเรียนรู้ SDGs เรื่อง “โลกของเรา และ 17 เป้าหมาย” SDGs กับภาคธุรกิจ SDGs กับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) SDGs กับเกษตรกร

  • Asia-Pacific Migration Data Report 2021

    รายงาน “Asia–Pacific Migration Data Report 2021” รวบรวมหลักฐานล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์การย้ายถิ่นฐานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปีพ.ศ. 2564 โดยเสนอผ่านเลนส์ของการฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และภายใต้วิกฤตการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอัฟกานิสถานและเมียนมา และผลกระทบที่เด่นชัดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Asia-Pacific Migration Data Report 2022 Migration Governance Insights: Informing People-centred Migration Policies Asia and the Pacific SDG Progress Report 2021 Climate Change, Environmental Degradation and International Labour Migration in Asia: Exploring the Role […]

  • Asia and the Pacific SDG Progress Report 2024

    รายงาน “Asia and the Pacific SDG progress report 2024: Showcasing Transformative Actions” เป็นหนึ่งในรายงานสำคัญประจำปีของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ สำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) รายงานฉบับนี้ ให้ภาพรวมของความก้าวหน้าของการดำเนินงานเพื่อบรรลุ SDGs ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก สำหรับปีนี้ รายงานเน้นย้ำเรื่องราวความสำเร็จและแนวโน้มต่าง ๆ พร้อมทั้งอุปสรรคเฉพาะที่พบในแต่ละพื้นที่ภายในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังระบุถึงลำดับความสำคัญในการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด SDGs โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มประชากรที่เปราะบางที่สุด ซึ่งจะช่วยในการกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาให้เท่าเทียมและครอบคลุมยิ่งขึ้น   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (ESCAP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Asia and the Pacific SDG Progress Report 2021 Asia and the Pacific SDG Progress Report 2022 Background Documents – Asia-Pacific Progress […]

  • World Employment and Social Outlook: Trends 2020

    รายงานฉบับนี้ได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ด้านแรงงานโดยภาพรวมของโลกในปี 2020 ตั้งแต่แนวโน้มลักษณะของตลาดแรงงาน อัตราการว่างงาน และความเสี่ยงอื่น ๆ ต่อการจ้างงานที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการจ้างงาน เทคโนโลยี และโครงสร้างประชากร หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: World Employment and Social Outlook: Trends 2018 World Employment and Social Outlook: Trends 2019 World Employment and Social Outlook: Trends 2021 World Social Protection Report 2020-22

  • Progress on Transboundary Water Cooperation – Global Baseline for SDG Indicator 6.5.2

    รายงานติดตามความก้าวหน้าการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำข้ามพรมแดน หรือการติดตามตัวชี้วัดย่อยที่ 6.5.2 สัดส่วนของพื้นที่ลุ่มน้ำที่ข้ามเขตแดนมีการจัดการดำเนินงานเพื่อความร่วมมือด้านน้ำ ในปี 2018 โดยเป็นหนึ่งในรายงานชุดที่เกี่ยวข้องกับน้ำสะอาด และสุขาภิบาล หน่วยงานที่จัดทำ:United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Progress on Transboundary Water Cooperation – 2021 Update Progress on Integrated Water Resources Management – Global Baseline for SDG Indicator 6.5.1 Progress on Water-Use Efficiency – Global baseline for SDG indicator 6.4.1 Progress on Level of Water Stress […]

  • เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิง (SDG 5: Gender equality)

    การยุติการเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิงเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ รวมทั้งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน โดยการเสริมสร้างบทบาทของผู้หญิงและเด็กหญิงจะช่วยสนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ แม้ในปัจจุบันจะมีเด็กผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น และมีจำนวนผู้หญิงในตลาดแรงงานมากขึ้น แต่ยังคงมีความไม่เสมอภาคระหว่างเพศในการเข้าถึงสิทธิแรงงานและค่าจ้าง นอกจากนี้ ความรุนแรงและการละเมิดทางเพศ รวมทั้งการทำงานบ้านและงานที่ไม่ได้รับค่าจ้าง และการเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิง ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในการบรรลุเป้าหมาย ดังนั้น การส่งเสริมให้ผู้หญิงมีสิทธิเท่าเทียมในการถือครองที่ดินและทรัพย์สิน ตลอดจนเข้าถึงสิทธิสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมทั้งเข้าถึงเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต จึงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญให้บรรลุเป้าหมายความเท่าเทียมทางเพศ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: In the Red: the US Failure to Deliver on a Promise of Racial Equality เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy) เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8: Decent work and economic growth) […]

  • Food Waste Index Report 2024

    รายงาน “Food Waste Index Report 2024” นำเสนอปัญหาอาหารเหลือทิ้งทั่วโลก รายงานประเมินว่า ในหนึ่งวันมีอาหารเหลือทิ้งกว่าหนึ่งพันล้านมื้อ แม้ว่าทั่วโลกจะมีคนหลายล้านคนที่ยังอดอยากอยู่ และปริมาณขยะอาหารมาจากในครัวเรือนเป็นสัดส่วนสูงสุด นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ระบุแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยระบุว่าความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนจะเป็นแนวทางที่มีแนวโน้มประสบความสำเร็จในการลดขยะอาหารได้ดีที่สุด   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment. Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Waste Management Outlook 2024 Asia and the Pacific SDG Progress Report 2024 UN World Water Development Report 2024: Water for Prosperity and Peace Global Hepatitis Report 2024: Action for Access […]

  • เป้าหมายที่ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก (SDG 16: Peace, justice and strong institutions)

    สันติภาพ ความสงบสุข ความมั่นคง สิทธิมนุษยชน และการปกครองที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของหลักนิติธรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม บางภูมิภาคในโลกยังตกอยู่ในวงจรของความขัดแย้งและความรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อการพัฒนาประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ในภาวะความขัดแย้งที่ขาดการเคารพในหลักนิติธรรม ยังมีแนวโน้มของการเกิดความรุนแรงทางเพศ อาชญากรรม และการแสวงผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ สูงขึ้น เป้าหมายที่ 16 มุ่งมั่นที่จะลดความรุนแรงทุกรูปแบบ และเสริมสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและชุมชนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความไม่มั่นคงอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งเสริมหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน การลดอาวุธผิดกฎหมาย และสนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมในสถาบันธรรมาภิบาลระดับโลก หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย (SDG 2: Zero Hunger) เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8: Decent work and economic growth) เป้าหมายที่ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน (SDG 9: Industry innovation […]

  • Why Gender Equality Matters to Achieving All 17 SDGs

    ชุดอินโฟกราฟิก “Why gender equality matters to achieving all 17 SDGs” แสดงความเชื่อมโยงระหว่างการสร้างความเท่าเทียมทางเพศ กับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย   หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิง (SDG 5: Gender equality) The Crucial Role of Legal Frameworks in Advancing Gender Equality Population Matters for Sustainable Development Multi-stakeholder Approaches to Education for Sustainable Development in Local Communities: […]

  • From the MDGs to Sustainable Development for All: Lessons from 15 Years of Practice

    รายงาน “From the MDGs to Sustainable Development for All: Lessons from 15 Years of Practice” นำเสนอบทเรียนสำคัญจากยุค MDGs ซึ่งรวบรวมโดยรัฐบาลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเองผ่านรายงานความคืบหน้า MDGs ระดับชาติ ระหว่างปี 2013 ถึง 2015 โดยมี 55 ประเทศจัดทำรายงานความคืบหน้า MDGs ระดับชาติ และระบุบทเรียนที่นำไปใช้กับการดำเนินการ SDGs ในปัจจุบัน บทเรียนเหล่านี้อาจมีประโยชน์ในการนำไปใช้กับการดำเนินการ SDGs ในประเทศรายได้สูง แต่รายงานนี้มุ่งเน้นไปที่ประเทศรายได้น้อยและกำลังพัฒนา   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และ Word Bank ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Health in 2015: from MDGs to SDGs Motivators for Sustainability: […]

  • Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand

    รายงาน “Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand” หรือ รายงาน “การประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมต่อเด็กในประเทศไทย” จะชี้ให้เห็นว่าเด็ก ๆ ทีเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ ภัยแล้ง คลื่นความร้อน และน้ำท่วม มากที่สุด อาศัยอยู่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหลือและภาคใต้ของประเทศไทย แผนที่ความเสี่ยงจากการศึกษาฉบับนี้เผยให้เห็น 10 จังหวัด (อุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีษะเกษ นครศรีธรรมราช นาราธิวาส สุรินทร์ สงขลา บุรีรัมย์ ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี) มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2578 โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ RCP4.5 (มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับปานกลาง)   หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: […]

  • Global Sustainable Development Report (GSDR) 2019

    รายงาน “Global Sustainable Development Report (GSDR) 2019” เขียนโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์อิสระ (Independent Group of Scientists: IGS) เป็นรายงานฉบับสำคัญที่เผยแพร่ทุก 4 ปีนับตั้งแต่มีการลงนามรับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อสนับสนุนการดำเนินการ โดยในฉบับแรกภายใต้หัวข้อ “The Future is Now: Science for Achieving Sustainable Development” พบว่าการทำความเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่าง SDGs แต่ละเป้าหมายกับระบบในสังคมที่เป็นรูปธรรมทั้งในรูปแบบเสริมพลังกัน (synergy) และสวนทางกัน (trade-off) จะเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดนโยบายที่จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมได้     หน่วยงานที่จัดทำ: UN DESA ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Global Sustainable Development Report (GSDR) 2023 Sustainable Development Report 2019 […]

  • Sustainable Development Goals Report 2022

    รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2022 นำเสนอความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมายและเส้นทางที่ยังเหลืออยู่ รายงานประจำปีฉบับที่ 7 นี้ยังพิจารณาแนวโน้มความก้าวหน้านับตั้งแต่ปี 2015 และผลกระทบของ COVID-19 ที่ทำให้เห็นว่าวิกฤตที่ลดหลั่นกันและเชื่อมโยงกันในหลายมิติทำให้การดำเนินการเพื่อวาระ 2030 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความท้าทายรุนแรง เช่นเดียวกับโอกาสในความอยู่รอดของมนุษยชาติ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Report on Food Crises 2022 Stronger Collaboration for an Equitable and Resilient Recovery Towards the Health-related Sustainable Development Goals: 2021 Progress Report on the Global Action Plan for Healthy […]

  • รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2562-63

    “รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2562-63” เป็นรายงานประจำปีที่ติดตามสถานการณ์และสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศไทย ทั้งในเชิงประเด็น เชิงกลุ่มเป้าหมาย และเชิงพื้นที่ ใช้ข้อมูลทางสังคมทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และระดับประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้มีอำนาจในการวิเคราะห์ทิศทางสำหรับการกำหนดนโยบายพัฒนาสังคมของประเทศไทยในอนาคต     หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่     Related posts: รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2565 รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2564 รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2562-2563 รายงานช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ – ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยที่สำคัญ พ.ศ. 2562 (Addressing the gaps (MICS6))

  • World Social Protection Report 2017-19

    Universal social protection to achieve the Sustainable Development Goals รายงานการคุ้มครองทางสังคมของโลก 2560 – 2562 รวบรวมข้อมูลระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลกล่าสุด รวมถึงแนวโน้มระบบการคุ้มครองทางสังคม การคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐาน (social protection floors) และการใช้จ่ายของงบประมาณภาครัฐ  อาทิ นโยบายที่เกี่ยวกับวัยแรงงานผู้หญิงและผู้ชาย การให้กำเนิดบุตร การจ้างงานผู้พิการและผู้ที่เจ็บป่วย การว่างงาน ผู้สูงอายุและเงินบำนาญ รวมถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รายงานฉบับนี้เป็นแหล่งข้อมูลเชิงสถิติสำหรับตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 1.3.1 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: World Health Statistics 2021: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs) World Health Statistics 2020: Monitoring […]

  • Stronger Collaboration, Better Health: 2020 Progress Report on the Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All

    รายงานฉบับนี้เป็นรายงานความคืบหน้าของแผนปฏิบัติการเพื่อสุขภาพและสุขภาวะที่ดีสำหรับทุกคน (Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All) ฉบับแรก ซึ่งครอบคลุมการดำเนินการ 8 เดือนแรกตั้งแต่ที่ได้เปิดตัวในที่ประชุมสมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติ เมื่อกันยายน 2562 โดยหน่วยงานภาคีได้ขยับจากคำมั่นสู่การลงมือปฏิบัติ ตลอดจนได้ใช้แผนดังกล่าวเพื่อเติมช่องว่างและเพิ่มคุณค่าในกลไกความร่วมมือระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลกที่มีอยู่เดิม เพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโควิด-19   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Stronger Collaboration for an Equitable and Resilient Recovery Towards the Health-related Sustainable Development Goals: 2021 Progress Report on the Global Action Plan for Healthy […]

  • Progress on Water-related Ecosystems – Piloting the Monitoring Methodology and Initial Findings for SDG Indicator 6.6.1

    รายงานติดตามความก้าวหน้าการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ หรือการติดตามตัวชี้วัดย่อยที่ 6.6.1 การเปลี่ยนแปลงในบริบทของระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับน้ำตลอดทุกช่วงเวลาในปี 2018 โดยเป็นหนึ่งในรายงานชุดที่เกี่ยวข้องกับการติดตามสถานการณ์น้ำสะอาด และสุขาภิบาลของโลก หน่วยงานที่จัดทำ:United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Progress on Ambient Water Quality – Piloting the Monitoring Methodology and Initial Findings for SDG Indicator 6.3.2 Progress on Wastewater Treatment – Piloting the Monitoring Methodology and Initial Findings for SDG Indicator 6.3.1 Progress on Water-related Ecosystems – 2021 […]

  • Sustainable Development Report 2022

    รายงาน “Sustainable Development Report 2022” นำเสนอดัชนี SDG (SDG Index) และ dashboards สำหรับประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) จัดทำโดย SDSN และมูลนิธิ Bertelsmann โดยฉบับนี้มาในธีม “From Crisis to Sustainable Development: the SDGs as Roadmap to 2030 and Beyond” หรือ “จากวิกฤตสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน: SDGs ในฐานะ roadmap สู่ปี ค.ศ. 2030 และไกลกว่านั้น”   หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Bertelsmann Stiftung ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Sustainable Development […]