Sorting:
Sort Descending
  • รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2562

    “รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2562” แสดงภาระทางสุขภาพด้วยดัชนี DALYs หรือปีสุขภาวะที่สูญเสียจากการตายก่อนวัยอันควร และภาวะบกพร่องทางสุขภาพจากการเจ็บป่วยและความพิการ และอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี เพื่อใช้ประกอบการจัดลำดับความสำคัญและนำ เสนอปัญหาภาระทางสุขภาพของประชากรไทย สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการจัดสรรทรัพยากรทางสุขภาพ วางระบบงานสาธารณสุข และเป็นฐานข้อมูลสำคัญในการวิจัยต่อไป เช่น การสูญเสียทางเศรษฐกิจจากภาระทางสุขภาพ การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2562-2563 รายงานช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ – ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยที่สำคัญ พ.ศ. 2562 (Addressing the gaps (MICS6)) รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2562-63 สถานการณ์และผลการดำเนินงานควบคุมวัณโรคของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 – 2566

  • เป้าหมายที่ 11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน (SDG 11: Sustainable cities and communities)

    การเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองในประเทศที่กำลังพัฒนา ควบคู่ไปกับการเพิ่มขึ้นในการย้ายถิ่นฐานจากชนบทสู่เมือง ซึ่งนำไปสู่ความเจริญในเมืองขนาดใหญ่ ในปี 2553 มี 10 เมืองใหญ่ที่มีพลเมืองจำนวน 10 ล้านคนหรือมากกว่านั้น ในปี 2557 มีเมืองขนาดใหญ่ถึง 28 เมือง ผู้อยู่อาศัยรวม 453,000,000 คน ความยากจนมักจะกระจุกตัวอยู่ในเมือง รัฐบาลระดับชาติและระดับท้องถิ่นต้องพยายามจัดการเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรในพื้นที่เหล่านั้น การทำให้เมืองปลอดภัยและยั่งยืน หมายถึง การทำให้เข้าถึงที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยและเหมาะสมและพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของชุมชนแออัด นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการลงทุนเรื่องการขนส่งสาธารณะ การสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวและการปรับปรุงการวางผังเมืองและการจัดการในลักษณะแบบมีส่วนร่วม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :   Related posts: 2019 US Cities Sustainable Development Report SDG Index and Dashboards Report for European Cities 2017 U.S. Cities SDG Index เป้าหมายที่ 12 แผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (SDG […]

  • Transforming our World: The 2030 Agenda for Sustainable Development

    เอกสาร “Transforming Our World: The 2030 Agenda for Sustainable Development” ต้นทางของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป็นเอกสารผลการประชุมที่ประเทศสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด 193 ประเทศลงนามรับรองอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2015 ให้เป็นวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับโลกวาระใหม่ที่จะกำหนดทิศทางการพัฒนาของโลกในห้วงเวลา 15 ปี (ค.ศ. 2015-2030) ต่อจากนี้     หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2561 (2018 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda […]

  • Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Republic of Somalia

    รายงาน “Joint external evaluation of IHR core capacities of the Republic of Somalia” เป็นหนึ่งในกระบวนการติดตามและประเมินผลขีดความสามารถของสาธารณรัฐโซมาเลีย ให้เป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานที่มุ่งรักษาความมั่นคงด้านสุขภาพระดับโลกผ่านความร่วมมือระดับนานาชาติในการขับเคลื่อนด้านสาธารณสุข หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Republic of the Gambia Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Lao People’s Democratic Republic Joint […]

  • Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Republic of Uganda

    รายงาน “Joint external evaluation of IHR core capacities of the Republic of Uganda” เป็นหนึ่งในกระบวนการติดตามและประเมินผลขีดความสามารถของสาธารณรัฐอูกันดา ให้เป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานที่มุ่งรักษาความมั่นคงด้านสุขภาพระดับโลกผ่านความร่วมมือระดับนานาชาติในการขับเคลื่อนด้านสาธารณสุข หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Republic of Lithuania Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Republic of the Union Myanmar Joint […]

  • เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ (SDG 10: Reduced Inequalities)

    ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยร้อยละ 10 ของผู้ร่ำรวยที่สุด มีรายได้เป็นร้อยละ 40 ของรายได้รวมทั่วโลก ในขณะที่ร้อยละ 10 ของคนจนที่สุด มีรายได้เพียงร้อยละ 2 – 7 ของรายได้รวมทั่วโลกและพบว่าในประเทศกำลังพัฒนา ความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ตามการเติบโตของประชากร การจัดการกับปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้นจำเป็นต้องมีนโยบายที่เหมาะสมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับประชากรกลุ่มที่มีรายได้ต่ำ และส่งเสริมความครอบคลุมทางเศรษฐกิจให้กับทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกทางเพศ เชื้อชาติ หรือชาติพันธุ์ นอกจากนี้ ยังต้องมีความร่วมมือระดับโลกเพื่อปรับปรุงกฎระเบียบและกำกับดูแลตลาดและสถาบันการเงิน รวมทั้งส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภูมิภาคที่มีความจำเป็นมากที่สุดการอำนวยความสะดวกการอพยพย้ายถิ่นที่ปลอดภัยและการเคลื่อนย้ายของผู้คนก็เป็นปัจจัยสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ (SDG 1: No Poverty) เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy) เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: Life below […]

  • Background Documents – Asia-Pacific Progress on SDG Implementation (March 2017)

    เอกสาร ‘Background documents – Asia-Pacific progress on SDG implementation (March 2017) ‘ เป็นข้อมูลภูมิหลังจากประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับความก้าวหน้าในการดำเนินการ SDGs ซึ่งนำเสนอในการประชุมภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หัวข้อ : การดำเนินการร่วมกันเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงสถิติอย่างเป็นทางการสำหรับวาระ 2030 ที่ กรุงเทพฯ 27-28 มีนาคม 2560 โดยเป็นข้อมูลของประเทศ อัฟกานิสถาน อาเซอร์ไบจาน บังคลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา อินโดนีเซีย อิหร่าน คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน มาเลเซีย มัลดีฟส์ มองโกเลีย พม่า เนปาล ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม   หน่วยงานที่จัดทำ : คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Overview of National Activities related to SDG Implementation Across […]

  • แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564 (National Tuberculosis Control Programme Guideline, Thailand 2021)

    เอกสาร “แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564” เป็นแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค เพื่อให้การดำเนินงาน ป้องกัน ดูแลรักษา และควบคุมวัณโรคของประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนปฏิบัติการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีแนวทางการควบคุมวัณโรคในประเทศไทยหลักตามแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค เป้าหมายยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)   หน่วยงานที่จัดทำ: กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2564 (2021 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development) Global Tuberculosis Report 2023 Key Elements of An Effective National […]

  • Global Climate Litigation Report: 2023 Status Review

    รายงาน “Global Climate Litigation Report: 2023 Status Review” ทบทวนภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบันและเทรนด์การดำเนินคดีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก รายงานนี้มุ่งเน้นเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับผู้พิพากษา ทนายความ นักวิจัย นักสิ่งแวดล้อม นักเคลื่อนไหวด้านสภาพภูมิอากาศ นักสิทธิมนุษยชน NGOs ภาคธุรกิจ และประชาคมโลก ที่สามารถแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างสิทธิมนุษยชนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านคดีส่วนใหญ่ที่ฟ้องร้องต่อศาล โดยรวบรวมข้อมูลจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2022 จาก Climate Change Litigation Databases ของ Sabin Center for Climate Change Law     หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Global Status Report on Road Safety […]

  • The Future of Asia & Pacific Cities 2023: Crisis Resilient Urban Futures

    รายงาน “The future of Asia & Pacific cities 2023 : crisis resilient urban futures” นำเสนอผลวิเคราะห์และการประเมินการพัฒนาเมืองยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกอย่างครอบคลุมทุกประเด็นสำคัญภายใต้ผลกระทบต่อเนื่องที่เมืองต้องเผชิญจากวิกฤตการณ์ระดับโลกในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยข้อมูลเชิงลึกที่จะเป็นประโยชน์ทั้งในเชิงพื้นที่ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และระบบการบริหารจัดการ (governance) เมือง พร้อมให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการฟื้นฟูพื้นที่เขตเมืองอย่างยั่งยืน     หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก. (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Thailand Economic Monitor 2023 | Building a Resilient Future: Coping with Droughts and Floods วิกฤติสภาพภูมิอากาศ […]

  • MY Neighbourhood

    คู่มือ ‘MY Neighbourhood’ จัดทำเช็กลิสต์ที่ครอบคลุมหลักการออกแบบชุมชนเมืองที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งในบริบทวัฒนธรรมและภูมิศาสตร์ที่หลากหลายในขนาดพื้นที่ระดับย่านที่อยู่อาศัย (neighbourhood scale) โดยใช้แนวทางแบบบูรณาการในการออกแบบผ่านฟังก์ชันสำคัญของพื้นที่เมือง 5 ประการ ได้แก่ การคมนาคม ที่อยู่อาศัย พื้นที่สาธารณะ สาธารณูปโภค และผนวกรวมกับมิติด้านการออกแบบ ได้แก่ ย่านที่พักอาศัย ถนน พื้นที่สาธารณะแบบเปิด และกลุ่มอาคาร   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: International Health Regulations (2005): Guidance Document for the State Party Self-assessment Annual Reporting Tool Reflect–Share–Act: A Guide to Community-based Education for Sustainable Development คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG […]

  • Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda SDG 7 Roadmap for Tonga

    รายงาน “Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda SDG 7 Roadmap for Tonga” นำเสนอการจัดทำ Roadmaps ของราชอาณาจักรทองกา (Tonga) ในเรื่องของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน โดยทางคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ได้จัดทำรายงานฉบับนี้ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูล เทคโนโลยี มาตรการที่รัฐบาลควรคำนึงถึง ซึ่งนำเสนอแนวทางต่าง ๆ ที่เหมาะสม โดยข้อมูลเหล่านี้พัฒนามาจากชุดข้อมูลระดับประเทศที่มีอยู่ เพื่อให้รัฐบาลสามารถตัดสินใจเชิงนโยบายได้อย่างเหมาะสมและบรรลุเป้าหมาย #SDG7 ภายในปี ค.ศ. 2030   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda […]

  • Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Republic of Malawi

    รายงาน “Joint external evaluation of IHR core capacities of the Republic of Malawi” เป็นหนึ่งในกระบวนการติดตามและประเมินผลขีดความสามารถของสาธารณรัฐมาลาวี ให้เป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานที่มุ่งรักษาความมั่นคงด้านสุขภาพระดับโลกผ่านความร่วมมือระดับนานาชาติในการขับเคลื่อนด้านสาธารณสุข   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Republic of the Philippines Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Republic of Zambia […]

  • Global Commons Stewardship Index 2024

    รายงาน “Global Commons Stewardship Index 2024” จัดทำขึ้นเป็นฉบับที่ 4 รวบรวมข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภายในประเทศและผลกระทบล้นไหล​ (spillover) ข้ามพรมแดนของแต่ละประเทศ โดยได้นำเสนอข้อมูล สถิติ และแนวทางนโยบายในการลดผลกระทบที่จะมีต่อทรัพย์สินร่วมของโลก เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายให้ความสำคัญกับการปกป้องระบบนิเวศของโลกมากยิ่งขึ้น     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network, Yale Center for Environmental Law & Policy, และ Center for Global Commons มหาวิทยาลัยโตเกียว ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Global Commons Stewardship (GCS) Index 2022 Global Commons Stewardship (GCS) Index 2021 Food Waste Index […]

  • Human Development Report 2023-24

    รายงานการพัฒนามนุษย์ “Human Development Report 2023-24 | Breaking the gridlock: Reimagining Cooperation in a Polarized World” นำเสนอดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดโดยรวมที่สะท้อนถึงรายได้ประชาชาติสุทธิต่อประชากร (Gross National Income: GNI) ต่อหัว การศึกษา และอายุขัยของประชากรในประเทศนั้น ๆ โดยรายงานของปีนี้เป็นการประเมินภาวะหยุดชะงักอันตรายที่เกิดจากความก้าวหน้าในการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน ความเหลื่อมล้ำที่ทวีความรุนแรง และความแตกแยกทางการเมืองที่รุนแรงมากขึ้น พร้อมกับเสนอแนวทางไปข้างหน้าโดยให้การทำงานแบบพหุภาคี (multilateralism) มีบทบาทสำคัญ   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Leveraging Human Mobility to Rescue the 2030 Agenda Social Protection in the Digital […]

  • Progress on Drinking Water, Sanitation and Hygiene in Schools: Special focus on COVID-19

    รายงานการติดตามสถานการณ์การเข้าถึงน้ำสะอาด ปลอดภัย การมีสุขาภิบาล และมีระบบจัดการที่ถูกสุขอนามัยในโรงเรียน ตั้งแต่ปี 2000 – 2020 ติดตามความคืบหน้าการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านข้อมูลการติดตามในระดับประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก พร้อมทั้งข้อเสนอแนะสำคัญในช่วงสถานการณ์การแพร่ระชาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การอนามัยโลก (WHO)/ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Drinking Water, Sanitation and Hygiene in Schools: Global Baseline Report 2018 Progress on Household Drinking Water, Sanitation, and Hygiene 2000-2020 Progress on Household Drinking Water, Sanitation, and Hygiene 2000-2017 Progress on Drinking […]

  • Sustainable Development Goals Report 2018

    รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2018 นำเสนอการทบทวนความก้าวหน้าในปีที่สามของการดำเนินการตามวาระ 2030 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาพรวมของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมายและช่องว่างที่ยังคงมีอยู่ โดยอิงจากข้อมูลล่าสุดที่มีอยู่ และยังมีบทที่กล่าวถึง 6 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เป็นธีมหลักของการประชุมเวทีหารือระดับสูงทางการเมืองว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (HLPF) ประจำปี 2018 ในเชิงลึกมากขึ้นด้วย   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: World Health Statistics 2018: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs) Sustainable Development Report of the United States 2018 Stronger Collaboration for an Equitable and Resilient Recovery Towards the Health-related […]

  • สืบสานสู่ปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

    หนังสือ “สืบสานสู่ปฏิบัติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย” เป็นหนังสือแปลจากฉบับภาษาอังกฤษชื่อ “A Call to Action: Thailand and the Sustainable Development Goals” มีเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายและกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน เหตุและผลว่าทำไมคนไทยทุกคนควรรับรู้ เข้าใจและมีส่วนร่วมในการช่วยให้ประเทศบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง ดาวน์โหลด: ที่นี่ Related posts: Textbooks for Sustainable Development: a Guide to Embedding Education for Sustainable Development Goals: Learning Objectives Motivators for Sustainability: 17 Lessons of Sustainable Development Goals in Thailand นโยบายสาธารณะเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนอย่างเป็นธรรม (Public Policy for Just Sustainable Futures)

  • State of the Climate in Asia 2023

    รายงาน “State of the Climate in Asia 2023” นำเสนอสถานการณ์ภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชีย โดยเน้นย้ำถึงอัตราเร่งของตัวชี้วัดสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิผิวน้ำ การละลายของธารน้ำแข็ง และระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อสังคม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศในภูมิภาค   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: 2023 State of Climate Services: Health State of the Global Climate 2023 Climate Resilient Practices – Typology and Guiding Material for Climate Risk Screening วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก (The Climate Crisis […]

  • การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในประเทศไทย โดย กลต.

    การนำเสนอ ” การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในประเทศไทย โดย กลต.” ให้แผนการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในประเทศไทย โดยเน้นไปที่บริษัทและธุรกิจที่อยู่ในตลาดหุ้นและตลาดทุน   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: การ์ตูนเพื่อการเรียนรู้ SDGs เรื่อง “โลกของเรา และ 17 เป้าหมาย” SDGs กับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) SDGs กับเกษตรกร SDGs กับชีวิตคนเมือง