Sorting:
Sort Descending
  • บทบาทของรัฐสภาในการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติ

    คู่มือ “บทบาทของรัฐสภาในการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติ” (Parliament’s role in Implementing the Sustainable Development Goals) ได้รับการพัฒนาเพื่อให้สมาชิกรัฐสภานำไปใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของรัฐสภาในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: WHO Guidance for Climate Resilient and Environmentally Sustainable Health Care Facilities International Health Regulations (IHR): Joint External Evaluation (JEE): Country Implementation Guide แนวทางการจัดทำแผนอาหารและโครงการระบบอาหารในระดับชุมชนท้องถิ่น Online Employability Resources for Youth 2021

  • Sustainable Development Goals Report 2022

    รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2022 นำเสนอความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมายและเส้นทางที่ยังเหลืออยู่ รายงานประจำปีฉบับที่ 7 นี้ยังพิจารณาแนวโน้มความก้าวหน้านับตั้งแต่ปี 2015 และผลกระทบของ COVID-19 ที่ทำให้เห็นว่าวิกฤตที่ลดหลั่นกันและเชื่อมโยงกันในหลายมิติทำให้การดำเนินการเพื่อวาระ 2030 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความท้าทายรุนแรง เช่นเดียวกับโอกาสในความอยู่รอดของมนุษยชาติ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Report on Food Crises 2022 Stronger Collaboration for an Equitable and Resilient Recovery Towards the Health-related Sustainable Development Goals: 2021 Progress Report on the Global Action Plan for Healthy […]

  • เหตุผลสนับสนุนการลงทุนในมาตรการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย (Prevention and Control of Noncommunicable Diseases in Thailand – The Case for Investment)

    รายงาน “เหตุผลสนับสนุนการลงทุนในมาตรการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย” แสดงหลักฐานว่าประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อย่างไรจากการลงทุนในมาตรการแทรกแซงนโยบายเพื่อควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ และยังกล่าวถึงประเด็นอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย เช่น มลพิษทางอากาศ   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) องค์การอนามัยโลก (WHO) และกระทรวงสาธารณสุข ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: Summary and Recommendations: Regional Seminar on Integrated Approaches for SDG Planning: The Case of SDG 6 on Water and Sanitation GCED learning and assessment: An Analysis of Four Case Studies in Asia SDG Investor Map […]

  • Principles and Policy Guidance on Children’s Rights to a Safe, Clean, Healthy and Sustainable Environment in the ASEAN Region

    เอกสารคู่มือ “Principles and Policy Guidance on Children’s Rights to a Safe, Clean, Healthy and Sustainable Environment in the ASEAN Region” กำหนดหลักการพื้นฐานเพื่อรับรองสิทธิของเด็กในการมีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สะอาด สุขภาพดี และยั่งยืน รวมทั้งการยึดถือประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นศูนย์กลางของโครงการริเริ่มต่าง ๆ โดยทุกภาคส่วนของสังคมในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื้อหาในเอกสารผ่านกระบวนการปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญในด้านสิทธิเด็กและประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงกับเด็กและเยาวชนจากทั่วทั้งภูมิภาคด้วย หลักการและแนวทางนโยบายในเอกสารนี้จะมอบแนวนโยบายที่เป็นประโยชน์ให้รัฐบาล ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ สื่อมวลชน และเด็กนำไปปฏิบัติเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก     หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และสำนักงานข้าสูงผู้แทนสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: SDG 7 Localization: Affordable and […]

  • รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2565

    รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปีพ.ศ. 2565 (Thailand SDGs 16 Progress Report 2022) รวบรวมข้อมูลและผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 16 ประกอบด้วยผลการดำเนินงานผ่านโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้ภารกิจของแต่ละหน่วยงานด้านการพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทยและข้อมูลสถิติตามตัวชี้วัด SDG16 จำนวน 24 ตัวชี้วัด       หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2563 รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2564-2565 เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2565 รายงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565

  • Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2022

    รายงาน “Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2022” นำเสนอการวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของประเด็นความเท่าเทียมทางเพศในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย และเน้นย้ำถึงแนวโน้ม ช่องว่าง อุปสรรคของการทำงานเพื่อบรรลุความเท่าเทียมทางเพศภายในปีค.ศ. 2030 โดยรายงานฉบับนี้แสดงข้อมูลให้เห็นว่าด้วยอัตราความก้าวหน้าในปัจจุบัน อาจต้องใช้เวลาเกือบ 300 ปีจึงจะบรรลุความเท่าเทียมทางเพศอย่างสมบูรณ์     หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women และ สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2023 Sustainable Development Goals Report 2022 Stronger Collaboration for an […]

  • ASEAN SDG Indicators Baseline Report 2020

    รายงาน “ASEAN SDG Indicators Baseline Report 2022” เป็นรายงานเรื่องตัวชี้วัด SDGs ฉบับแรกของอาเซียนที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลฐาน (baseline information) ของติดตามและวัดผล การดำเนินการบรรลุ SDGs ในภูมิภาค และจะช่วยสนับสนุนการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค รายงานฉบับนี้นำเสนอข้อมูลของรัฐสมาชิกอาเซียนที่รวบรวมได้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559-2561     หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: ASEAN SDG Baseline Regional Energy Trends Report 2020: Tracking SDG 7 in the ASEAN Region The 2022 ASEAN SDG Snapshot Report การประเมินผลการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ROAM-X ของยูเนสโก

  • World Happiness Report 2022

    รายงานความสุขโลกประจำปี 2022 เป็นฉบับครบ 10 ปีของรายงานที่ประเมินความสุขของคนทั่วโลกในมากกว่า 150 ประเทศ โดยรายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่าการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ไม่เพียงแต่นำมาซึ่งความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานเท่านั้น แต่ยังเพิ่มการสนับสนุนทางสังคมและความเมตตากรุณาที่คนมีให้กันด้วย ซึ่งทำให้เห็นความสามารถของปัจเจกบุคคลและชุมชนในการสนับสนุนซึ่งกันและกันในยามยากลำบากเมื่อต้องต่อสู้กับทั้งโรคและสงคราม   หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: World Happiness Report 2017 World Happiness Report 2018 World Happiness Report 2019 World Happiness Report 2021

  • General Guidelines for the Implementation of Sustainability in Higher Education Institutions

    คู่มือ “General guidelines for the implementation of sustainability in higher education institutions” สรุปองค์ประกอบที่สำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันอุดมศึกษาในการสร้างแนวทางที่เป็นระบบและเพิ่มการมีส่วนร่วมเพื่อการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ด้วยการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นองค์กรที่มีความยั่งยืนมากขึ้นจากภายใน     หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Academic Impact Initiative (UNAI) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Accelerating Education for the SDGs in Universities: A Guide for Universities, Colleges, and Tertiary and Higher Education Institutions Guidelines for the Use of the SDG Logo including […]

  • แนวทางการพัฒนาภาคการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance Initiatives for Thailand)​

    วิดีโอคลิป “แนวทางการพัฒนาภาคการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance Initiatives for Thailand)” ให้ข้อมูลความร่วมมือที่สำคัญของภาคการเงินไทยเพื่อกำหนดทิศทางและกรอบการดำเนินงานด้าน sustainable finance ในประเทศ   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) รับชมวิดีโอ: ได้ ที่นี่ Related posts: Hygiene: UN-Water GLAAS Findings on National Policies, Plans, Targets and Finance รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2561 (2018 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development) Joint External Evaluation of IHR […]

  • SDG Good Practices: A Compilation of Success Stories and Lessons Learned in SDG Implementation – Second Edition

    รายงาน “SDG Good Practices: A compilation of success stories and lessons learned in SDG Implementation – Second Edition” รวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Good practices) ที่ได้รับการคัดเลือกจากการเสนอชื่อทั่วโลกทั้งหมด 21 เรื่องราว เป็นฉบับที่สอง หลังจากเผยแพร่ไปครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 2021 ให้เป็นบทเรียนสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ว่าจะสามารถนำไปปรับใช้ในวงกว้างเพื่อทั้งเร่งความก้าวหน้าในการบรรลุ SDGs และรวมถึงฟื้นฟูสังคมโลกจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ได้อย่างไร     หน่วยงานที่จัดทำ: UN DESA ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: 10 Stories การจัดการของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร Climate Resilient Practices – Typology and Guiding […]

  • Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Federal Republic of Nigeria

    รายงาน “Joint external evaluation of IHR core capacities of the Federal Republic of Nigeria” เป็นหนึ่งในกระบวนการติดตามและประเมินผลขีดความสามารถของสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย ให้เป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานที่มุ่งรักษาความมั่นคงด้านสุขภาพระดับโลกผ่านความร่วมมือระดับนานาชาติในการขับเคลื่อนด้านสาธารณสุข หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Federal Democratic Republic of Ethiopia Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Republic of the […]

  • Child Food Poverty: A Nutrition Crisis in Early Childhood – 2024

    รายงาน “Child Food Poverty: A Nutrition Crisis in Early Childhood – 2024” วิเคราะห์ผลกระทบและสาเหตุของภาวะขาดสารอาหารในเด็กเล็กทั่วโลกเป็นครั้งแรก ครอบคลุมข้อมูลจากเกือบ 100 ประเทศและทุกกลุ่มรายได้ รายงานนี้ให้ภาพรวมสถานการณ์โลกพบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หลายล้านคน ไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและหลากหลายเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีที่สุดในวัยเด็กและอนาคตได้   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Global Trends in Child Monetary Poverty According to International Poverty Lines วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก (The Climate Crisis is a Child Rights Crisis: Children’s Climate Risk […]

  • งานดูแลและงานบ้านที่ไม่ได้รับค่าจ้างของหญิงไทย และผลกระทบต่อการจ้างงานที่มีคุณค่า

    รายงาน “งานดูแลและงานบ้านที่ไม่ได้รับค่าจ้างของหญิงไทย และผลกระทบต่อการจ้างงานที่มีคุณค่า” (Thai Women’s Unpaid Care and Domestic Work and the Impact on Decent Employment) อธิบายขอบเขตพลวัต และผลกระทบจากการดูแลโดยไม่ได้รับค่าจ้างและงานบ้านที่มีต่อผู้หญิงในประเทศไทย และระบุมาตรการสำคัญหลายประการเพื่อจัดการกับพลวัตดังกล่าว รวมถึงเสนอการฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ครอบคลุมมากขึ้น ด้วยการสร้างงานที่มีคุณค่าสำหรับผู้หญิงมากขึ้น     หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: 2020 Africa SDG Index and Dashboards Report Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Republic of Serbia Joint External Evaluation of IHR Core […]

  • สืบสานสู่ปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

    หนังสือ “สืบสานสู่ปฏิบัติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย” เป็นหนังสือแปลจากฉบับภาษาอังกฤษชื่อ “A Call to Action: Thailand and the Sustainable Development Goals” มีเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายและกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน เหตุและผลว่าทำไมคนไทยทุกคนควรรับรู้ เข้าใจและมีส่วนร่วมในการช่วยให้ประเทศบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง ดาวน์โหลด: ที่นี่ Related posts: Textbooks for Sustainable Development: a Guide to Embedding Education for Sustainable Development Goals: Learning Objectives Motivators for Sustainability: 17 Lessons of Sustainable Development Goals in Thailand นโยบายสาธารณะเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนอย่างเป็นธรรม (Public Policy for Just Sustainable Futures)

  • 2023 Gender Social Norms Index (GSNI)

    รายงาน “2023 Gender Social Norms Index (GSNI)” หรือดัชนีบรรทัดฐานทางสังคมทางเพศ ประเมินว่าความเชื่อทางสังคม (social beliefs) นั้นขัดขวางการสร้างความเท่าเทียมทางเพศในด้านต่าง ๆ เช่น การเมือง การทำงาน และการศึกษาอย่างไร โดยการจัดทำดัชนี GSNI ปี 2023 ดัชนีดังกล่าวครอบคลุมร้อยละ 85 ของประชากรโลก และผลการศึกษาเผยให้เห็นว่าชายและหญิงเกือบ 9 ใน 10 คนมีอคติพื้นฐานต่อผู้หญิง   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Social Protection in the Digital Age: A Summary of the Human Rights Risks of Digital Technologies in Social Protection Systems […]

  • Progress on Water-Use Efficiency – 2021 Update

    รายงานสถานการณ์การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพของโลกในปี 2021 รวมถึงสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายย่อยที่ 6.4 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในทุกภาคส่วนและสร้างหลักประกันว่าจะมีการใช้น้ำและจัดหาน้ำที่ยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และลดจำนวนประชาชนที่ประสบความทุกข์จากการขาดแคลนน้ำภายในปี 2030 รายงานฉบับนี้ได้อาศัยข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 6.4.1 การเปลี่ยนแปลงของการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพตลอดทุกช่วงเวลา หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Progress on Ambient Water Quality – 2021 Update Progress on Level of Water Stress – 2021 Update Progress on Integrated Water Resources Management – 2021 Update Summary Progress Update 2021: SDG 6 – Water […]

  • Regional Action Agenda on Achieving the. Sustainable Development Goals in the Western Pacific

    รายงาน “Regional action agenda on achieving the sustainable development goals in the Western Pacific” ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้คำแนะนำแก่ทุกระดับของการดำเนินงานด้านการพัฒนาในประเทศสมาชิกที่จะขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายและเป้าประสงค์ที่เกี่ยวกับประเด็นด้านสุขภาพในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (health-related targets of the SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: The Costs of Achieving the Sustainable Development Goals Achieving the Sustainable Development Goals through Tourism – Toolkit of Indicators for Projects (TIPs) GCED: Taking It Local in […]

  • รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2564 (2021 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development)

    รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2564 (2021 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development) หรือรายงาน VNR นำเสนอความก้าวหน้า อุปสรรค และประสบการณ์ในการขับเคลื่อน SDGs ของประเทศไทย   หน่วยงานที่จัดทำ: กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2561 (2018 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda […]

  • ASEAN SDG Baseline

    รายงาน ASEAN SDG baseline เป็นรายงานเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ของอนุภูมิภาคอาเซียน ซึ่งวิเคราะห์ตั้งแต่เป้าหมาย ข้อ1 ถึง ข้อ16 โดยใช้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคเป็นค่ามาตราฐานในการเปรียบเทียบ มากไปกว่านี้ รายงานฉบับนี้ยังนำเสนอถึงความคืบหน้าโครงการภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในแต่ละเป้าหมาย โดยใช้การวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap analysis) ทั้งนี้จุดประสงค์ของรายฉบับนี้มีเพื่อช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายมีข้อมูลในการปรึกษาหารือองค์ประชุมเพื่อกำหนดนโยบายที่เหมาะสมเพื่อบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืนภายในปี ค.ศ.2030     หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: ASEAN SDG Indicators Baseline Report 2020 Regional Energy Trends Report 2020: Tracking SDG 7 in the ASEAN Region […]