SDG 10

Mar
01

ชีวิตที่ไม่มีใครเห็น: 48 ปีสถานการณ์เด็กไร้สัญชาติในประเทศไทย (2515–2563)

รายงานสรุป “ชีวิตที่ไม่มีใครเห็น: 48 ปีสถานการณ์เด็กไร้สัญชาติในประเทศไทย (2515 – 2563) (Invisible Lives: 48 Years of the Situation of Stateless Children in Thailand (1972-2020))” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Ending Childhood Statelessness in Thailand: Developing an Accelerated Nationality Review Model through Research and Empowerment of Stakeholders ดำเนินการศึกษาทบทวนสถานการณ์ปัญหา ข้อจำกัดในการเข้าถึงการจดทะเบียนการเกิด และพัฒนาสิทธิในสัญชาติไทยของเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางปฏิบัติ เพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว     หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

Mar 01 2021
รายงาน
DETAIL
Jan
01

การประเมินผลการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ROAM-X ของยูเนสโก

รายงาน “Assessing internet development in Thailand: using UNESCO’s Internet Universality ROAM-X Indicators” หรือ “การประเมินผลการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ROAM-X ของยูเนสโก” เสนอผลประเมินความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัด ROAM-X ของยูเนสโก ผ่านการศึกษาบทสัมภาษณ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ การทบทวนงานเขียน และข้อคิดเห็นจากรัฐบาล ภาคประชาสังคม และตัวแทนภาคธุรกิจ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่

Jan 01 2021
รายงาน
DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ (SDG 10: Reduced Inequalities)

ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยร้อยละ 10 ของผู้ร่ำรวยที่สุด มีรายได้เป็นร้อยละ 40 ของรายได้รวมทั่วโลก ในขณะที่ร้อยละ 10 ของคนจนที่สุด มีรายได้เพียงร้อยละ 2 – 7 ของรายได้รวมทั่วโลกและพบว่าในประเทศกำลังพัฒนา ความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ตามการเติบโตของประชากร การจัดการกับปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้นจำเป็นต้องมีนโยบายที่เหมาะสมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับประชากรกลุ่มที่มีรายได้ต่ำ และส่งเสริมความครอบคลุมทางเศรษฐกิจให้กับทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกทางเพศ เชื้อชาติ หรือชาติพันธุ์ นอกจากนี้ ยังต้องมีความร่วมมือระดับโลกเพื่อปรับปรุงกฎระเบียบและกำกับดูแลตลาดและสถาบันการเงิน รวมทั้งส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภูมิภาคที่มีความจำเป็นมากที่สุดการอำนวยความสะดวกการอพยพย้ายถิ่นที่ปลอดภัยและการเคลื่อนย้ายของผู้คนก็เป็นปัจจัยสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
May
01

วารสารความเป็นธรรมทางสังคมและความเหลื่อมล้ำ – Social justice and inequality journal

วารสารความเป็นธรรมทางสังคมและความเหลื่อมล้ำมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการทำความเข้าใจและวิเคราะห์ความเป็นธรรมทางสังคมและความเหลื่อมล้ำ ผ่านกระบวนทัศน์ในการนิยามและการรับรู้ นโยบายและกระบวนการทางนโยบายเพื่อยกระดับความเป็นธรรมทางสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลและปัจเจกบุคคลกับสังคมสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงความเข้าใจต่ออำนาจในมิติอันหลากหลาย หน่วยงานที่จัดทำ: หน่วยปฏิบัติการวิจัยความมั่นคงของมนุษย์และความเท่าเทียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลดได้ที่นี่

DETAIL
Jan
01

รายงานการย้ายถิ่นของประเทศไทย ฉบับปี 2562

“รายงานการย้ายถิ่นในประเทศไทย ฉบับปี 2562” (Thailand Migration Report 2019) ให้ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับแนวโน้มและรูปแบบการย้ายถิ่นในประเทศไทย ตลอดไปจนถึงการวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ และการพัฒนานโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่น รวมถึงข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อปรับปรุงธรรมภิบาลด้านการย้ายถิ่นด้วย   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะทำงานเฉพาะเรื่องแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการย้ายถิ่นของประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 01 2019
รายงาน
DETAIL
Jan
01

การสนทนาครั้งใหญ่: คู่มือในการแก้ไขปัญหาความรุนแรง ต่อผู้หญิงในสื่อและโดยสื่อ (The Big Conversation: Handbook to Address Violence against Women in and through the Media)

“การสนทนาครั้งใหญ่: คู่มือในการแก้ไขปัญหาความรุนแรง ต่อผู้หญิงในสื่อและโดยสื่อ” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับองค์การสหประชาชาติและหน่วยงานอื่น ๆ ที่ทำงานร่วมกับองค์กรสื่อในการใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศและป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดต่อผู้หญิงและเด็กหญิง ส่งเสริมคุณค่าของความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการไม่เลือกปฏิบัติผ่านการสร้างเนื้อหาที่สื่อผลิตขึ้น   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และ UN Women ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่

Jan 01 2019
คู่มือ
DETAIL
Dec
15

Global Wage Report 2016/17: Wage inequality in the workplace

รายงานฉบับนี้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแสดงสถานการณ์และแนวโน้มของค่าจ้างแรงงานในระดับโลก และภูมิภาค โดยฉบับ 2016/17 นอกจากจะช่วยแสดงแนวโน้มของค่าแรงโดยภาพรวม ยังมุ่งเน้นไปที่ความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างที่กระจายตัวแตกต่างกันตามบริษัทหรือสถานที่ทำงาน และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Dec 15 2016
รายงาน
DETAIL
Dec
05

Global Wage Report 2014 / 15 Wages and income inequality

รายงานฉบับนี้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแสดงสถานการณ์และแนวโน้มของค่าจ้างแรงงานในระดับโลก และภูมิภาค โดยฉบับ 2014/15 นอกจากจะช่วยแสดงแนวโน้มของค่าแรงโดยภาพรวม ยังมุ่งเน้นไปที่ความเชื่อมโยงระหว่างค่าจ้างและความเหลื่อมล้ำ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Dec 05 2014
รายงาน
DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP