Leveraging Human Mobility to Rescue the 2030 Agenda
รายงาน “Leveraging Human Mobility to Rescue the 2030 Agenda” นำเสนอข้อมูลที่ได้รับการพัฒนาร่วมกับหน่วยงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับเพื่อแสดงหลักฐานที่ชัดเจนว่าการดำเนินการที่ถูกต้องเหมาะสมต่อการโยกย้ายถิ่นฐานสามารถช่วยสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้ จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อที่ประชุม SDG Summit ปี 2023 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Tracking Progress on Food and Agriculture-related SDG Indicators 2023
รายงาน “Tracking progress on food and agriculture-related SDG indicators 2023” ติดตามความก้าวหน้าของตัวชี้วัด SDGs ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและการเกษตรใน SDGs ทั้งหมด 8 เป้าหมาย ได้แก่ SDG 1, 2, 5, 6, 10, 12, 14, และ 15 เน้นไปที่ความก้าวหน้าทางสถิติและประเด็นที่ต้องพัฒนาเพิ่ม โดยเป็นรายงานการประเมินของ FAO ฉบับแรกที่รวมตัวชี้วัดทั้งหมดที่มุ่งเป้าไปที่การบรรลุ SDG 2 ไม่เพียงเฉพาะตัวชี้วัดที่ FAO ดูแลเท่านั้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
World Public Sector Report 2023
รายงาน “World Public Sector Report 2023” นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของภาครัฐในระดับโลก ภายใต้ธีม Transforming institutions to achieve the Sustainable Development Goals after the pandemic เพื่อศึกษาบทบาทของนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงด้านสถาบันและการกำกับดูแลที่เกิดขึ้นอันเป็นผลจากการระบาดของโควิด-19 ในระดับประเทศ ในการส่งเสริมความก้าวหน้าสู่วาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน ค.ศ. 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2565
“รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2565” เป็นรายงานประจำปีที่นำเสนอสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงสำคัญด้านความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย โดยวิเคราะห์ถึงลักษณะปัญหา โครงการสำคัญของภาครัฐในการแก้ปัญหา ช่องว่างของนโยบาย ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
คู่มือองค์ความรู้ BCG
“คู่มือองค์ความรู้ BCG” จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงองค์ความรู้เรื่อง BCG โดยเน้นความรู้พื้นฐาน ภาพรวมของการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ ความท้าทาย รวมถึงทิศทางในการพัฒนาประเทศ จากประเทศที่มุ่งเน้น “ผลิตมากแต่สร้างรายได้น้อย ไปสู่การผลิตน้อยแต่สร้างรายได้มาก” ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Asia-Pacific Migration Data Report 2022
“รายงาน “”Asia-Pacific Migration Data Report 2022″” รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการโยกย้ายถิ่นฐานล่าสุด และข้อมูลเชิงลึกในด้านแนวโน้มต่างๆ ที่สังเกตการณ์ได้ตลอดปี 2022 ซึ่งแม้ว่าการระบาดของโควิด-19 จะไม่ใช่แรงขับเคลื่อนหลักของการโยกย้ายถิ่นฐานอีกต่อไป แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นยังคงทิ้งผลลัพธ์ทางอ้อมไว้ต่อผู้อพยพทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รายงานข้อมูลการโยกย้ายถิ่นฐานเอเชีย-แปซิฟิกฉบับนี้เป็นรายงานฉบับที่สาม ที่จัดทำมาต่อเนื่องประจำปีนับตั้งแต่ปี 2020″ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
The Path that Ends AIDS
รายงาน “The Path that Ends AIDS” นำเสนอข้อมูลและกรณีศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า การยุติการเกิดโรคเอดส์ให้สำเร็จได้นั้นเป็นการทำงานทางการเมืองและการเงินที่เข้มแข็งของประเทศนั้น ๆ ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติตามข้อมูลวิทยาศาสตร์ ความรู้ และหลักฐาน การแก้ไขความเหลื่อมล้ำที่ขัดขวางความก้าวหน้า การสนับสนุนชุมชนและองค์กรภาคประชาสังคมในบทบาทสำคัญของการตอบสนอง และการประกันเงินทุนที่เพียงพอและยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2566
“รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2566” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 10 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 12 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ภายใต้ธีมหลัก “คำสัญญาของไทยใน “คอป” (COP: Conference of Parties) กับการรับมือ “โลกรวน” หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่