รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565
May 30, 2022“รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 12 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 10 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ และ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ฉบับปีนี้มาในธีม “ครอบครัวไทยในวิกฤตโควิด-19” หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2564 รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2564-2565 เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2565 รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2565
SDG related report/publication in Mongolia
April 12, 2017เอกสาร ‘SDG related report/publication in Mongolia’ เป็นเอกสารเพิ่มเติมของการประชุมภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกโดยมีหัวข้อ : การดำเนินการร่วมกันเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงสถิติอย่างเป็นทางการสำหรับวาระ 2030 ที่กรุงเทพฯ วันที่ 27–28 มีนาคม 2560 ซึ่งกล่าวถึง การดำเนินการและกิจกรรมเพิ่มเติมในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน SDGs ในมองโกเลีย หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Joint external evaluation of IHR core capacities of Mongolia Progress on Water-related Ecosystems – Piloting the Monitoring Methodology and Initial […]
Reducing Inequality in the Decade of Action to Achieve the SDGs and Accelerate Post-pandemic Recovery
August 31, 2022บทสรุปเชิงนโยบาย “Reducing Inequality in the Decade of Action to Achieve the SDGs and Accelerate Post-pandemic Recovery” ให้ความสำคัญและขยายความแนวทางการลดความเหลื่อมล้ำในภูมิภาคอาเซียนเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง นอกจากนี้ บทความนี้ยังกล่าวถึงผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำต่อประชากรในมิติต่าง ๆ ครอบคลุมประเด็นสำคัญ 5 ประเด็น ได้แก่ งาน สวัสดิการสังคม การศึกษา สาธารณสุข และความมั่นคงทางอาหาร โดยบทสรุปเชิงนโยบายนี้เป็นผลลัพธ์จากการหารือบนเวทีการประชุมเชิงวิชาการอาเซียน-จีน-UNDP ครั้งที่ 6 เกี่ยวกับ SDGs หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Women as Agents of Change for Greening […]
FAO’s Work With Small Island Developing States
January 1, 2019Transforming food systems, sustaining small islands FAO ชวนสำรวจดูความท้าทายและโอกาสในปัจจุบันของรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก และจะทำอย่างไรให้ประเทศเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงระบบอาหารจากรากฐานเพื่อเลี้ยงดูประชากรของหมู่เกาะได้ โดยการนำแผนระดับโลกด้านความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการสำหรับรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็กไปใช้ (Global Action Programme on Food Security and Nutrition in Small Island Developing States – SIDS) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Small Island Developing States Response to COVID-19 Fair Share for Health and Care: Gender and the Undervaluation of Health and Care Work Joint […]
SDGs กับอาหารริมทาง
February 5, 2021อาหารริมทาง (Street Food) มีส่วนสำคัญที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางมายังประเทศไทย ด้วยความหลากหลายของเมนูอาหาร ผนวกกับรสชาติที่โดดเด่น ราคาที่ย่อมเยา จึงทำให้ครองใจนักท่องเที่ยวทั่วโลก แต่ผลกระทบจากการท่องเที่ยวและการใช้ชีวิตประจำวันของเราก่อให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย ปัญหาขยะที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการใช้ภาชนะฟุ่มเฟือย และการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง ถึงเวลาแล้วที่เราจะพลิกโฉม Street food ของเราให้มีสุขอนามัยที่ดี สะอาดปลอดภัย ไม่สร้างมลภาวะ และสร้างความประทับใจให้แก่ผู้บริโภค หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: การ์ตูนเพื่อการเรียนรู้ SDGs เรื่อง “โลกของเรา และ 17 เป้าหมาย” SDGs กับภาคธุรกิจ SDGs กับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) SDGs กับเกษตรกร
The State of the World’s Midwifery 2021
May 5, 2021รายงานการศึกษาที่ประเมินสถานการณ์การผดุงครรภ์ (Midwifery)ในภาคสาธารณสุข เพื่อให้เห็นสถานการณ์ของการดูแลมารดาระหว่างและหลังจากที่ให้กำเนิดบุตร โดยรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลกในช่วงปี 2021 นอกจากนั้น รายงานฉบับนี้จะช่วยแสดงให้เห็นถึงประเด็นความท้าทายจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ประเด็นที่ต้องการส่งเสริม และมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมการผดุงครรภ์ หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA), องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และ สมาพันธ์ผดุงครรภ์นานาชาติ (International Confederation of Midwives: ICM) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: The State of the World’s Midwifery 2011 The State of the World’s Midwifery 2014 State of World Population 2021 World Employment and […]
On Behalf of My Delegation: A Survival Guide for New and Lonely Climate Change Negotiators
December 4, 2023หนังสือ “”On Behalf of My Delegation: A Survival Guide for New and Lonely Climate Change Negotiators”” เขียนโดย Joyeeta Gupta และ Jennifer Allan สรุปบริบทการเจรจาต่อรองในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการวิเคราะห์ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิวัฒนาการของระบอบสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศ (international climate regime) และองค์กรภายในระบอบ เนื้อหาครอบคลุมกฎระเบียบ รัฐและผู้มีส่วนร่วมที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงกลุ่มต่างๆ ในระบอบการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น กลุ่ม G-77 และจีน ผู้เขียนยังนำเสนอกลยุทธ์ในการรับมือและ “เคล็ดลับ” สำหรับผู้เจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเน้นทักษะการเจรจาที่จำเป็น และเสริมด้วยคำแนะนำสำหรับ “ตัวแทนเจรจาทางการทูตด้านสภาพภูมิอากาศผู้โดดเดี่ยว” (Lonely Climate Change Negotiator) ที่มักเป็นผู้แทนเพียงคนเดียวจากประเทศกำลังพัฒนาในเวทีระดับโลกโดยเฉพาะ หนังสือเล่มนี้เป็นฉบับอัปเดตจากฉบับแรกที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2000 โดยปรับปรุงเนื้อหาจากการวิจัยติดตามผลและการสังเกตกระบวนการเจรจาของผู้เขียน หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (International Institute […]
Global Report on Food Crises 2023
May 2, 2023รายงาน “Global Report on Food Crises 2023” ว่าด้วยวิกฤติด้านอาหารในระดับโลก พบว่ามีจำนวนผู้ประสบภัยจากความไม่มั่นคงทางอาหารเพิ่มสูงขึ้น โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและสงครามในยูเครนด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Report on Food Crises 2021 Global Report on Food Crises 2020 Global Report on Food Crises 2017 Global Report on Food Crises 2022
Asia and the Pacific SDG Progress Report 2025
March 31, 2025รายงาน “Asia and the Pacific SDG Progress Report 2025: Engaging communities to close the evidence gap” แสดงความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยได้นำเสนอผลการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก พร้อมเน้นย้ำว่าความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมาย SDGs หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: Asia and the Pacific SDG Progress Report 2021 Asia and the Pacific SDG Progress Report 2022 Asia and the Pacific SDG Progress Report 2024 World Happiness […]
Asia and the Pacific – Regional Overview of Food Security and Nutrition 2023
December 11, 2023“รายงาน “”Asia and the Pacific – Regional Overview of Food Security and Nutrition 2023 Statistics and Trends”” ในรูปแบบรายงานดิจิทัล นำเสนอสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการล่าสุดของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยเน้นย้ำถึงความก้าวหน้า (หรือความล่าช้า) ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยเฉพาะ SDG 2 ยุติความหิวโหย และเป้าหมาย World Health Assembly 2030 ด้านความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ สถิติล่าสุดพบว่า ภูมิภาคนี้มีผู้ขาดสารอาหารมากถึง 370.7 ล้านคน คิดเป็นครึ่งหนึ่งของตัวเลขทั้งโลก เช่นเดียวกัน โดยผู้หญิงมีภาวะขาดแคลนอาหารมากกว่าผู้ชาย อัตราการเกิดภาวะแคระแกร็น ผอมแห้ง และน้ำหนักเกินในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี รวมถึงภาวะโลหิตจางในสตรีวัยเจริญพันธุ์ ยังคงห่างไกลจากเป้าหมายโภชนาการทั่วโลกของ World Health Assembly” หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ […]
รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2565
September 1, 2023“รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2565” เป็นรายงานประจำปีที่นำเสนอสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงสำคัญด้านความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย โดยวิเคราะห์ถึงลักษณะปัญหา โครงการสำคัญของภาครัฐในการแก้ปัญหา ช่องว่างของนโยบาย ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2564-2565 รายงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565 รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565 รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2565
Global Waste Management Outlook 2024
February 28, 2024รายงาน “Global Waste Management Outlook 2024” นำเสนอสถานการณ์วิกฤติขยะที่กำลังใกล้เข้ามา มีการคาดการณ์ว่าปริมาณขยะทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นสองเท่าภายในปี 2050 ส่งผลให้ต้นทุนการจัดการขยะจะเพิ่มขึ้นตามเป็นสองเท่า อย่างไรก็ตามต้นทุนนี้หลีกเลี่ยงได้ด้วยการลดปริมาณขยะอย่างจริงจังเท่านั้น รายงานเสนอแนวทางการเปลี่ยนไปสู่ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Circular Economy) ที่มองขยะเป็นทรัพยากร ไม่ใช่สิ่งของไร้ค่า ด้วยการควบคุมการเกิดขยะ ใช้แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน และการจัดการขยะที่ดีขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment. Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Resources Outlook 2024 World Employment and Social Outlook: Trends 2024 Progress on Integrated Water Resources Management – Global Baseline for SDG Indicator 6.5.1 Nature-based […]
Sustainable Development Goal Interactions Through A Climate Lens: A Global Analysis
February 1, 2023รายงาน “Sustainable Development Goal interactions through a climate lens: a global analysis” วิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่สำคัญกับการดำเนินการตามความพยายามในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่ 1.5°C ว่าสามารถทำงานร่วมกันหรือขัดแย้งกันอย่างไร และเสนอข้อค้นพบที่เป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับการดำเนินการทั้งสองมิติดังกล่าว หน่วยงานที่จัดทำ: Stockholm Environment Institute (SEI) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Progress Report on Sustainable Development Goal 16 Indicators: A Wake-Up Call for Action on Peace, Justice and Inclusion Advancing SDG 5 in Asia and […]
Global Happiness and Well-being Policy Report 2022
May 22, 2022รายงาน “Global Happiness and Well-being Policy Report 2022” จัดทำโดย Global Happiness Council (GHC) ซึ่งเป็นเครือข่ายของนักวิชาการชั้นนำด้านความสุขและคนทำงานในสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ การศึกษา สาธารณสุข ภาคประชาสังคม ธุรกิจ และรัฐบาล ทำการประเมินผลกระทบและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ผ่านเลนส์ความเป็นอยู่ที่ดี (well-being) และถ่ายทอดบทเรียนข้อค้นพบบางประการที่จะมีประโยชน์กับรัฐบาลในการกำหนดนโยบายในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Global Happiness Council ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: World Happiness Report 2022 Global Wage Report 2008/09: Minimum wages and collective bargaining: Towards […]
Guidelines for the Use of the SDG Logo including the Colour Wheel and 17 Icons
May 1, 2020คู่มือ “Guidelines for the Use of the SDG Logo including the Colour Wheel and 17 Icons” หรือ “คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งรวมถึงวงล้อสี SDGs และเครื่องหมาย (ไอคอน) SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย” (ฉบับปรับปรุงล่าสุด: พฤษภาคม 2020) ครอบคลุมแนวทางการใช้โลโก้ SDGs สำหรับหน่วยงานที่ไม่ได้อยู่ภายใต้องค์การสหประชาชาติ (non-UN entities) และอยู่ใต้องค์การสหประชาชาติ (UN entities) ข้อห้ามในการใช้โลโก้ที่เกี่ยวข้องกับ SDGs ทั้งหมด ข้อกำหนดโดยละเอียดในการจัดวาง ขนาดและสัดส่วน การจับคู่โลโก้ วงล้อสี และเครื่องหมาย SDGs กับโลโก้อื่นเพื่อบริบทการใช้งานต่าง ๆ ฟอนต์และโค้ดสี พร้อมลิงก์ในการดาวน์โหลดไฟล์โลโก้ทั้งหมดเพื่อนำไปใช้เผยแพร่ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: คู่มือฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ […]
เหตุผลสนับสนุนการลงทุนในมาตรการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย (Prevention and Control of Noncommunicable Diseases in Thailand – The Case for Investment)
November 23, 2021รายงาน “เหตุผลสนับสนุนการลงทุนในมาตรการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย” แสดงหลักฐานว่าประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อย่างไรจากการลงทุนในมาตรการแทรกแซงนโยบายเพื่อควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ และยังกล่าวถึงประเด็นอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย เช่น มลพิษทางอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) องค์การอนามัยโลก (WHO) และกระทรวงสาธารณสุข ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: Summary and Recommendations: Regional Seminar on Integrated Approaches for SDG Planning: The Case of SDG 6 on Water and Sanitation GCED learning and assessment: An Analysis of Four Case Studies in Asia SDG Investor Map […]
บันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเชิงพื้นที่ (SDG Localization) พ.ศ. 2565
February 18, 2022บันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเชิงพื้นที่ (SDG Localization) จัดโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2565 ที่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้และเสริมศักยภาพของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน SDGs ในระดับพื้นที่ รวมทั้งแลกเปลี่ยนและติดตามความคืบหน้าการดำเนินการ SDGs ในระดับพื้นที่ อ่านรายละเอียดหัวข้อการเสวนาและการบรรยายทั้งหมดได้ที่นี่ Related posts: SDG 7 Localization: Affordable and Clean Energy in ASEAN Cities GCED: Taking It Local in Asia-Pacific – A Regional Study on GCED Localization and Challenges รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2564-2565 เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2565
The State of the World’s Midwifery 2014
January 1, 2014รายงานการศึกษาที่ประเมินสถานการณ์การผดุงครรภ์ (Midwifery)ในภาคสาธารณสุข เพื่อให้เห็นสถานการณ์ของการดูแลมารดาระหว่างและหลังจากที่ให้กำเนิดบุตร โดยรวบรวมข้อมูลจาก 73 ประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก ในช่วงปี 2014 นอกจากนั้น รายงานฉบับนี้จะช่วยแสดงให้เห็นถึงประเด็นความท้าทาย ประเด็นที่ต้องการส่งเสริม และมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมการผดุงครรภ์ หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: The State of the World’s Midwifery 2011 The State of the World’s Midwifery 2021 Global Wage Report 2014 / 15 Wages and income inequality State of World Population 2015
World Happiness Report 2018
March 20, 2018รายงานความสุขโลกประจำปี 2018 จัดอันดับ 156 ประเทศตามระดับความสุขของประชาชนในประเทศ และยังจัดอันดับ 117 ประเทศเรียงตามความสุขของผู้อพยพ จุดสนใจหลักของรายงานประจำปีนี้ นอกเหนือจากการจัดอันดับตามปกติของระดับและการเปลี่ยนแปลงของระดับความสุขในระดับโลกแล้ว ยังรวมถึงประเด็นการอพยพทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: World Happiness Report 2017 World Health Statistics 2018: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs) State of World Population 2018 World Employment and Social Outlook: Trends 2018
Global Sustainable Development Report (GSDR) 2019
September 11, 2019รายงาน “Global Sustainable Development Report (GSDR) 2019” เขียนโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์อิสระ (Independent Group of Scientists: IGS) เป็นรายงานฉบับสำคัญที่เผยแพร่ทุก 4 ปีนับตั้งแต่มีการลงนามรับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อสนับสนุนการดำเนินการ โดยในฉบับแรกภายใต้หัวข้อ “The Future is Now: Science for Achieving Sustainable Development” พบว่าการทำความเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่าง SDGs แต่ละเป้าหมายกับระบบในสังคมที่เป็นรูปธรรมทั้งในรูปแบบเสริมพลังกัน (synergy) และสวนทางกัน (trade-off) จะเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดนโยบายที่จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมได้ หน่วยงานที่จัดทำ: UN DESA ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Sustainable Development Report (GSDR) 2023 Sustainable Development Report 2019 […]