Sustainable Development Goals Report 2022
รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2022 นำเสนอความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมายและเส้นทางที่ยังเหลืออยู่ รายงานประจำปีฉบับที่ 7 นี้ยังพิจารณาแนวโน้มความก้าวหน้านับตั้งแต่ปี 2015 และผลกระทบของ COVID-19 ที่ทำให้เห็นว่าวิกฤตที่ลดหลั่นกันและเชื่อมโยงกันในหลายมิติทำให้การดำเนินการเพื่อวาระ 2030 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความท้าทายรุนแรง เช่นเดียวกับโอกาสในความอยู่รอดของมนุษยชาติ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Business Reporting on the SDGs: An Analysis of the Goals and Targets
Business Reporting on the SDGs: An Analysis of the Goals and Targets เป็นแนวทางเเนะนำ (guidance) ฉบับปรับปรุงล่าสุดปี 2022 เพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ใช้สำหรับบูรณาการ SDGs เข้ากับกระบวนการรายงานความยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์เเก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเปรียบเทียบและใช้งานข้อมูลได้สะดวกขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: Global Reporting Initiative (GRI) และ UN Global Compact (UNGC) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Report 2022
รายงาน “Sustainable Development Report 2022” นำเสนอดัชนี SDG (SDG Index) และ dashboards สำหรับประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) จัดทำโดย SDSN และมูลนิธิ Bertelsmann โดยฉบับนี้มาในธีม “From Crisis to Sustainable Development: the SDGs as Roadmap to 2030 and Beyond” หรือ “จากวิกฤตสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน: SDGs ในฐานะ roadmap สู่ปี ค.ศ. 2030 และไกลกว่านั้น” หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Bertelsmann Stiftung ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Happiness Report 2022
รายงานความสุขโลกประจำปี 2022 เป็นฉบับครบ 10 ปีของรายงานที่ประเมินความสุขของคนทั่วโลกในมากกว่า 150 ประเทศ โดยรายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่าการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ไม่เพียงแต่นำมาซึ่งความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานเท่านั้น แต่ยังเพิ่มการสนับสนุนทางสังคมและความเมตตากรุณาที่คนมีให้กันด้วย ซึ่งทำให้เห็นความสามารถของปัจเจกบุคคลและชุมชนในการสนับสนุนซึ่งกันและกันในยามยากลำบากเมื่อต้องต่อสู้กับทั้งโรคและสงคราม หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
ชุดวิดีโอประกอบคู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)
ชุดวิดีโอประกอบ “คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)” นำเสนอเนื้อหาโดยสรุปของคู่มือทั้งการทำความเข้าใจประเด็นความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่มาและความสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และเชื่อมโยงกับประเด็นรอบตัวที่เยาวชนกำลังเผชิญอยู่ในชีวิตประจำวันภายใต้มุมมองของ SDGs พร้อมทั้งแนะนำวิธีการที่เยาวชนจะพัฒนากิจกรรมและโครงการเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลกอย่างยั่งยืนได้อย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) รับชมวิดิโอได้ที่นี่:
คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)
คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action) นำเสนอเส้นทางการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับเยาวชนเพื่อเข้าใจมุมมองรอบตัวพวกเขาผ่านเลนส์ของ SDGs คู่มือนี้มีคำถามเพื่อให้ผู้อ่านได้คิดทบทวนตนเองในการเลือกการออกแบบทำกิจกรรมเพื่อความยั่งยืนในชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังจัดให้มีแบบฝึกหัดสำหรับเยาวชนเพื่อเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงโลกผ่านโครงการเล็ก ๆ ที่ยั่งยืนที่ทำได้ในพื้นที่ของตัวเอง หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ดาวน์โหลด: คู่มือฉบับภาษาไทยและอังกฤษ ที่นี่
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะทางสังคมศาสตร์คณะแรกที่จัดตั้งขึ้นที่วิทยาเขตหาดใหญ่ วัตถุประสงค์เริ่มแรกของการจัดตั้งเพื่อสนองความต้องการในด้านแรงงานของภาคใต้ โดยทำการสอนและผลิตบัณฑิตสาขาบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ และบริการสอนวิชาพื้นฐานทั่วไปแก่นักศึกษาทุกคณะในวิทยาเขตหาดใหญ่ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญด้านบริหารธุรกิจ บริหารรัฐกิจ และบุคลากรวิชาชีพ(บัญชี) ที่มีคุณภาพโดยยึดถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่งภายใต้หลักสูตรที่ทันสมัยมุ่งสู่ความเป็นสากล ด้วยบุคลากรที่หลากหลายสาขาวิชาที่มีศักยภาพ พร้อมทรัพยากรที่เกื้อหนุน ส่งเสริมและสนับสนุน ความร่วมมือ การสร้างเครือข่ายองค์กรวิชาชีพ และการแก้ปัญหาของสังคมและชุมชนด้วยทำเลที่ตั้งในศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคใต้ โดยหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ประจำปี พ.ศ. 2563-2566 คือ สานพลังรับใช้สังคม : ขับเคลื่อนและสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและสังคมด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals (SDGs))
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สถาบันอุุดมศึกษา ที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งด้านวิชาการและการวิจัย ทางสังคมศาสตร์ ด้วยการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ สร้างงานวิจัย ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนในทุกระดับ และพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีความเป็นมาตรฐานสากล และมีธรรมาภิบาล ในส่วนของหลักสูตร งานวิจัยต่าง ๆ มีการนำแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เข้ามาปรับใช้ในการวางกลยุทธ์และกำหนดตัวชี้วัดสำหรับการพัฒนากิจกรรม โครงการ และการเรียนการสอนของคณะ เช่น กำหนดให้มีการจัดทำโครงการการบูรณาการแนวคิด SDGs ในรายวิชา หรือกิจกรรมของหลักสูตร โดยกำหนดให้ร้อยละของหลักสูตรมีรายวิชาที่ ส่งเสริมความรู้หรือกิจกรรมด้าน SDGs ให้ทุกหลักสูตรเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรม ด้าน SDGs กำหนดให้การจัดโครงการบริการวิชาการเพื่อสังคม มีกิจกรรม SDGs ด้านการศึกษา การลดความเหลื่อมล้ำ และสิ่งแวดล้อม และมีการส่งเสริมงานวิจัยที่สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs จัดโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย ซึ่งกำหนดให้ทุกภาควิชามีงานวิจัยด้าน SDGs และมีการนำไปใช้ประโยชน์
10 Stories การจัดการของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร
รายงาน “10 Stories การจัดการของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร” เป็นผลงานจากโครงการระดับท้องถิ่นในหัวข้อ “การพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องิ่นและนำร่องแผนงานของชุมชนเพื่อยกระดับความมั่นคงทางอาหาร การบริโภคอาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยในกลุ่มผู้เปราะบางในจังหวัดยะลา นราธิวาส และปัตตานี” ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย สถาบันไทยนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นและสมาพันธ์สวิส มีวัตถุประสงค์ของเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในสังคมและความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของท้องถิ่นผ่านการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองและชุมชนในบริบทของ COVID-19 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Goals Report 2021
รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2021 นำเสนอผลกระทบจากกว่าหนึ่งปีของการระบาดใหญ่ที่สำคัญในหลายประเด็นการพัฒนา ทั้งอัตราความยากจนขั้นรุนแรงทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปี วิกฤตครั้งนี้คุกคามความก้าวหน้าของการพัฒนาที่ดำเนินการมาหลายทศวรรษ สร้างความถดถอยต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และยิ่งแสดงถึงการเพิ่มความจำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอย่างเร่งด่วนขึ้นและครอบคลุมมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Report 2021
รายงาน “Sustainable Development Report 2021” นำเสนอดัชนี SDG (SDG Index) และ dashboards สำหรับประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) จัดทำโดย SDSN และมูลนิธิ Bertelsmann โดยฉบับนี้ว่าด้วยเรื่องทศวรรษแห่งการลงมือทำเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและอธิบายว่าจะนำ SDGs มาช่วยฟื้นฟูจากผลกระทบของโควิด-19 อย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Bertelsmann Stiftung ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Goal: SDG Booklet
เอกสารเผยแพร่ชื่อเป้าหมาย (Goal) และเป้าหมายย่อย (Target) ของ SDGs ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UN Country Team: Thailand)
World Happiness Report 2021
รายงานความสุขโลกประจำปี 2021 จัดอันดับ 156 ประเทศตามระดับความสุขของประชาชนในประเทศ โดยฉบับนี้มุ่งเน้นไปที่ผลกระทบของ COVID-19 และวิธีที่ผู้คนทั่วโลกจัดการกับชีวิต รายงานแบ่งเป็นสองส่วนคือ หนึ่ง เน้นที่ผลกระทบของ COVID-19 ต่อโครงสร้างและคุณภาพชีวิตของผู้คน และสอง เพื่ออธิบายและประเมินว่ารัฐบาลทั่วโลกจัดการกับโรคระบาดนี้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หาคำตอบว่าทำไมบางประเทศจึงทำได้ดีกว่าประเทศอื่น หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Asia and the Pacific SDG Progress Report 2021
รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของเอเชียและแปซิฟิก 2021 เป็นการวิเคราะห์ความก้าวหน้าและประเมินช่องว่างที่จะต้องเติมเต็มเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมาย SDGs ภายในปี 2030 ทั้งนี้ ผู้ที่มีส่วนได้เสียสามารถใช้เป็นข้อมูลในการจัดอันดับความสำคัญ วางแผน นำไปปฏิบัติ และติดตามประเมินผลการพัฒนาตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในเอเชียและแปซิฟิก หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SDGs กับเยาวชน
เด็กและเยาวชนทุกคน จะต้องมีส่วนร่วมสร้างโลกในวันข้างหน้า ด้วยการลงมือทำปรับพฤติกรรม เพื่อสร้างวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า โดยเริ่มจากการสร้างค่านิยมในการใช้ซ้ำ ลด ละ เลิก และงดการแชร์ส่งต่อ การล้อเลียน หรือ Bully ด้วยการสร้างวาทกรรมเสียดสี หรือ Hate Speech และหันมาใส่ใจกับคนรอบข้างและคนใกล้ตัวให้มากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :
SDGs กับภาคธุรกิจ
ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เรามักให้ความสำคัญกับการทำกำไรสูงสุด โดยละเลยต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหามลพิษทางอากาศ และทางทะเล โลกร้อน การใช้แรงงานผิดกฎหมาย และการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้น การดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Business จึงกลายมาเป็นแนวปฏิบัติเพื่อบรรเทาผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้น และส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตไปพร้อมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนได้ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :
ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
ประเทศไทยและประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นกว่าเดิมและคุณภาพชีวิตของทุกคนในโลกให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น บรรลุการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยวาระการพัฒนาดังกล่าว ประกอบด้วย 17 เป้าหมายหลัก 169 เป้าหมายย่อย ซึ่งเชื่อมโยงเกื้อหนุนกัน และกำหนดให้มีตัวชี้วัดเพื่อประเมินความก้าวหน้าของการพัฒนา โดย SDGs ทั้ง 17 เป้าหมายหลัก สามารถจัดกลุ่มตามปัจจัยที่เชื่อมโยงกันใน 5 มิติ คือ มิติการพัฒนาคน มิติสิ่งแวดล้อม มิติเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง มิติสันติภาพและความยุติธรรม และมิติความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :
SDGs กับอาหารริมทาง
อาหารริมทาง (Street Food) มีส่วนสำคัญที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางมายังประเทศไทย ด้วยความหลากหลายของเมนูอาหาร ผนวกกับรสชาติที่โดดเด่น ราคาที่ย่อมเยา จึงทำให้ครองใจนักท่องเที่ยวทั่วโลก แต่ผลกระทบจากการท่องเที่ยวและการใช้ชีวิตประจำวันของเราก่อให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย ปัญหาขยะที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการใช้ภาชนะฟุ่มเฟือย และการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง ถึงเวลาแล้วที่เราจะพลิกโฉม Street food ของเราให้มีสุขอนามัยที่ดี สะอาดปลอดภัย ไม่สร้างมลภาวะ และสร้างความประทับใจให้แก่ผู้บริโภค หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :
SDGs กับเกษตรกร
เกษตรกรรมยั่งยืน คือ ระบบเกษตรที่ครอบคลุมวิถีชีวิตเกษตรกร กระบวนการผลิต และการจัดการทุกรูปแบบเพื่อให้เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ ซึ่งนำไปสู่การพึ่งตนเองและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค ซึ่งการเปลี่ยนจากการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวแบบเดิม ให้มีความหลากหลายมากขึ้น หรือการลดใช้สารเคมี จะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการเกษตรได้ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :
SDGs กับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+)
ประเทศไทยมีประชากรกลุ่ม LGBTQI+ จำนวนกว่า 4 ล้านคน คิดเป็น 6% ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด แม้ว่าในมุมมองของชาว LGBTQI+ ทั่วโลกจะเห็นว่าประเทศไทยค่อนข้างจะเปิดกว้างในเรื่องความหลากหลายทางเพศ และให้การยอมรับชาว LGBTQI+ อย่างเต็มที่ แต่การวิจัยจากกลุ่มธนาคารโลก ร่วมกับคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบริษัท Love Frankie ระบุว่ากลุ่มคนข้ามเพศ 77% หญิงรักหญิง 62.5% และชายรักชาย 49% ถูกปฏิเสธการรับเข้าทำงาน เนื่องจากความแตกต่างทางเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไม่ได้มีเพียงแค่ในสังคมที่ทำงานเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับชาว LGBTQI+ โดยทั่วไป หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดีโอได้ที่นี่ :
SDGs กับชีวิตคนเมือง
คุณภาพชีวิตที่ดี เริ่มได้ง่ายๆด้วยการจัดสรรเวลาในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การกิน การออกกำลังกาย และการพักผ่อนให้เกิดความสมดุลในการใช้ชีวิต การใช้ชีวิตในเมืองใหญ่สร้างผลกระทบต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลายด้าน เช่น มลภาวะทางอากาศ น้ำ ปัญหาขยะต่าง ๆ รวมถึงสุขภาพของคนเมือง หากคนเมืองเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่าง จะช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดีโอได้ที่นี่ :
SDGs ในทศวรรษแห่งการดำเนินการอย่างจริงจัง (Decade of Action)
เหลือเวลาอีกเพียง 10 ปี ที่ประชาคมโลกจะต้องร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่ออนาคตที่ดีกว่า การจะบรรลุ SDGs ทั้งในระดับโลก ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น ภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาคส่วนอื่นๆ ในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :
Europe Sustainable Development Report 2020
รายงาน “Europe Sustainable Development Report 2020” เป็นฉบับที่ 2 ที่รายงานเกี่ยวกับความคืบหน้าของสหภาพยุโรปและกลุ่มสมาชิกในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนายั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Institute for European Environmental Policy ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Atlas of Sustainable Development Goals 2020
Atlas of Sustainable Development Goals 2020 หรือ แผนที่สถานการณ์ความก้าวหน้า SDGs จากธนาคารโลก นำเสนอภาพแนวโน้มในการบรรลุ SDGs รวมถึงหลักการในการวัดผลตัวชี้วัดและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 ต่อความก้าวหน้าในบางประเด็นที่มีข้อมูล ผ่านการเล่าเรื่องที่ทำให้เราสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้ (interactive storytelling) และมีการออกแบบข้อมูลเป็นภาพ (data visualization) ที่ดึงดูดความสนใจ มาเพื่ออธิบายประเด็นที่ซับซ้อนทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้เข้าใจง่ายขึ้นได้ หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World bank) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
2020 Africa SDG Index and Dashboards Report
รายงาน “2020 Africa SDG Index and Dashboards Report” ประเมินความคืบหน้าของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของประเทศในทวีปแอฟริกา ผ่านเลนส์ ‘ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Sustainable Development Goals Center for Africa ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
United Nations Common Guidance on Helping Build Resilient Societies
แนวทางของสหประชาชาติเล่มนี้ เป็นตำราแนวทางขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างบูรณาการทั้งระบบและภาคส่วน อาทิ งานด้านมนุษยธรรม สันติภาพและความมั่นคง การพัฒนา และสิทธิมนุษยชน เพื่อสร้างสังคมโดยเฉพาะในระดับประเทศ ให้มีความสามารถในการตั้งรับอย่างมีภูมิคุ้มกันและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง (resilience) หน่วยงานที่จัดทำ: สหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: คู่มือฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Municipal Atlas of the SDGs in Bolivia 2020
รายงาน “Municipal Atlas of the SDGs in Bolivia 2020” รายงานความคืบหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของประเทศโบลิเวีย โดยครอบคลุมทั้งระดับประเทศ หน่วยงานและองค์กรรัฐ และเทศบาล หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
การ์ตูนเพื่อการเรียนรู้ SDGs เรื่อง “โลกของเรา และ 17 เป้าหมาย”
การ์ตูนเรื่อง “โลกของเรา และ 17 เป้าหมาย” แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ชื่อ “The Planet and the 17 Goals” โดย Margreet de Heer นักวาดการ์ตูนจากประเทศเนเธอร์เแลนด์ ภายใต้การดำเนินการในโครงการ Comics Uniting Nations ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง UNICEF, PCI Media, World’s Largest Lesson, มูลนิธิ PVBLIC และ Reading with Pictures มีเป้าหมายเพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและทำความรู้จัก เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals หรือ SDGs ผ่านการ์ตูนที่เข้าถึงผู้อ่านได้ทุกกลุ่ม หน่วยงานที่จัดทำ: SDG Move ดาวน์โหลดได้ที่นี่
The SDSN Italia SDGs City Index
รายงาน “The SDSN Italia SDGs City Index” นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเมืองของอิตาลี ซึ่งเป็นข้อมูลที่ต่อจากฉบับที่เผยแพร่ในปี 2018 หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Goals Report 2020
รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2020 นำเสนอภาพรวมของการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย ที่ทำให้เห็นว่าแม้ว่าจะไม่มีผลกระทบจาก COVID-19 แต่ละประเทศก็มีความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไม่เท่ากัน และด้วยวิกฤตด้านสาธารณสุขครั้งนี้ที่ส่งผลต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก็ยิ่งทำให้การบรรรลุเป้าหมายให้ทันภายในปี 2030 มีความท้าทายมากยิ่งขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Report 2020
รายงาน Sustainable Development Report 2020 นำเสนอดัชนี SDGs และ Dashboard แสดงสถานะของข้อมูล ความก้าวหน้าในการดำเนินงานเพื่อนบรรลุ SDGs ของประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Bertelsmann Stiftung ดาวน์โหลด:รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
2019 SDG Index for Latin America and the Caribbean
รายงาน “2019 SDG Index for Latin America and the Caribbean” นำเสนอเครื่องมือแรกที่ใช้ในการติดตามโดยเปรียบเทียบพัฒนาการการบรรลุเป่าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ระหว่างประเทศแถบลาตินอเมริกาและ แคริบเบียน หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Happiness Report 2020
รายงานความสุขโลกประจำปี 2020 จัดอันดับ 156 ประเทศตามระดับความสุขของประชาชนในประเทศ และเป็นฉบับแรกที่มีการจัดอันดับเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกตามความเป็นอยู่ที่ดี และเจาะลึกว่ามิติด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม พื้นที่เมือง และธรรมชาติ รวมกันนั้นส่งผลต่อความสุขของเราอย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
2019 Europe Sustainable Development Report
รายงาน “2019 Europe Sustainable Development Report” เป็นรายงานเชิงปริมาณฉบับแรกที่นำเสนอพัฒนาการของสหภาพยุโรปและกลุ่มสมาชิกในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Institute for European Environmental Policy ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
2019 Arab Region SDG Index and Dashboards Report
รายงาน “2019 Arab Region SDG Index and Dashboards Report” มีจุดประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือให้รัฐบาลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใช้ในการวัดความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของภูมิภาคอาหรับ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Report 2019 — Mediterranean Countries Edition
รายงาน “Sustainable Development Report 2019 — Mediterranean Countries Edition” ทบทวน Sustainable Development Report 2019 โดยเฉพาะ 23 ประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีจุดประสงค์ที่จะสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และสนับสนุนให้นำ SDGs ไปใช้ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network for the Mediterranean Area (SDSN—Mediterranean) ดาวน์โหลด: รายงานภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
2019 Africa SDG Index and Dashboards Report
รายงาน “2019 Africa SDG Index and Dashboards Report” เรียกร้องให้ประเทศในแอฟริกาลงมือทำเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และพัฒนาข้อมูลที่ต่อเนื่องและมีคุณภาพ โดยเน้นถึงความพยายามของรัฐบาลที่จะผนวกเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในยุทธศาสตร์ชาติ งบประมาน การมีส่วนร่วมของประชาชน และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ SDG Center for Africa ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Goals Report 2019
รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2019 นำเสนอภาพรวมของการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย โดยจะเห็นว่ามีความก้าวหน้าและแนวโน้มที่ดีขึ้นในบางประเด็นที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน เพื่อสร้างการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายทั้งหมดให้ทันภายในปี 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
2019 US Cities Sustainable Development Report
รายงาน “2019 US Cities Sustainable Development Report” รายงานที่จัดอันดับความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของเมืองในสหรัฐอเมริกาทั้งหมด 105 เมือง หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network United States ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Report 2019
รายงาน “Sustainable Development Report 2019” นำเสนอดัชนี SDG (SDG Index) และ Dashboards และวางกรอบการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ไปปฏิบัติ กับ ‘six transformations’ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Bertelsmann Stiftung ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SDG Index and Dashboards Report for European Cities
รายงาน “SDG Index and Dashboards Report for European Cities” รายงานฉบับต้นแบบ (prototype version) จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอภาพรวมการดำเนินการของเมืองหลวงและเมืองขนาดใหญ่จำนวน 45 แห่งในยุโรปในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ the Brabant Center for Sustainable Development ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Happiness Report 2019
รายงานความสุขโลกประจำปี 2019 จัดอันดับ 156 ประเทศตามระดับความสุขของประชาชนในประเทศ พิจารณาคประเด็นหลักคือ ความสุขและชุมชน ตอบคำถามว่าความสุขมีวิวัฒนาการอย่างไรในช่วงสิบปีที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นไปที่การใช้เทคโนโลยี บรรทัดฐานทางสังคม ความขัดแย้ง และนโยบายของรัฐบาลที่ขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
สืบสานสู่ปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย
หนังสือ “สืบสานสู่ปฏิบัติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย” เป็นหนังสือแปลจากฉบับภาษาอังกฤษชื่อ “A Call to Action: Thailand and the Sustainable Development Goals” มีเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายและกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน เหตุและผลว่าทำไมคนไทยทุกคนควรรับรู้ เข้าใจและมีส่วนร่วมในการช่วยให้ประเทศบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง ดาวน์โหลด: ที่นี่
Sustainable Development Report of the United States 2018
รายงาน “Sustainable Development Report of the United States 2018” วิเคราะห์ค่าฐาน (baseline) สำหรับใช้ติดตามความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ระดับ 50 รัฐในสหรัฐอเมริกา หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: ราบงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SDG Index and Dashboards 2018
รายงาน “SDG Index and Dashboards 2018” นำเสนอดัชนี SDG (SDG Index) และ Dashboards ที่จะช่วยชี้ประเด็นลำดับความสำคัญในการดำเนินการเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Bertelsmann Stiftung ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Africa SDG Index and Dashboards 2018
รายงาน “Africa SDG Index and Dashboards 2018” เป็นเครื่องมือที่ใช้ติดตามความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของประเทศในทวีปแอฟริกา ช่วยชี้ความท้าทายของการลงมือทำและกระตุ้นให้นำเป้าหมาย SDGs ไปปฏิบัติ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Sustainable Development Goals Center for Africa ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Goals Report 2018
รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2018 นำเสนอการทบทวนความก้าวหน้าในปีที่สามของการดำเนินการตามวาระ 2030 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาพรวมของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมายและช่องว่างที่ยังคงมีอยู่ โดยอิงจากข้อมูลล่าสุดที่มีอยู่ และยังมีบทที่กล่าวถึง 6 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เป็นธีมหลักของการประชุมเวทีหารือระดับสูงทางการเมืองว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (HLPF) ประจำปี 2018 ในเชิงลึกมากขึ้นด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
2018 U.S. Cities SDGs Index
รายงาน “2018 U.S. Cities SDGs Index” จัดอันดับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของมหานคร (เมือง) ที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดจำนวน 100 แห่งในสหรัฐอเมริกา หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
VNR Thailand 2018 – การทบทวนการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยความสมัครใจของไทย พุทธศักราช 2561
การทบทวนการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยความสมัครใจของไทย ประจำปี 2561 โดยกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก จัดทำขึ้นเพื่อรายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อน SDGs ในประเทศตามธีมต่าง ๆ สำหรับปีค.ศ. 2018 ธีม (Theme) หลักคือเรื่องการนำ SDGs ไปปฏิบัติใช้ในพื้นที่ (Localizing SDGs) และการสร้างการมีส่วนร่วมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม (Stakeholder Engagement) ฉะนั้นในแต่ละบทจะนำเสนอประสบการณ์ในปี 2018 ที่หน่วยงานของรัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่เกี่ยวข้องกับ 2 ธีมนี้ หน่วยงานที่จัดทำ: กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ดาวน์โหลด : รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
แผนที่นำทางเพื่อการพัฒนา SDGs ในระดับพื้นที่: การดำเนินการ และการติดตามผล (ฉบับย่อ)
แผนที่นำทางเพื่อการพัฒนา SDGs ในระดับพื้นที่: การดำเนินการ และการติดตามผล โดยศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) แปลและเรียบเรียงจาก Global Taskforce of Local and Regional Governments และ UN Habitat สำหรับการนำ SDGs ไปปฏิบัติในพื้นที่ (Localizing SDGs) คือ กระบวนการที่นำเอาบริบทเชิงพื้นที่เข้าไปผนวกในยุทธศาสตร์การดำเนินงานเรื่อง SDGs ของประเทศ และในระดับภายในประเทศ (Sub National) กระบวนการนี้มีความสำคัญเพราะว่าเป้าประสงค์ของ SDGs แทบทุกข้อเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของหน่วยงานในระดับท้องถิ่นทั้งสิ้น