SDG 3

Jun
01

รายงานช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ – ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยที่สำคัญ พ.ศ. 2562 (Addressing the gaps (MICS6))

“รายงานช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ – ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยที่สำคัญ พ.ศ. 2562 (Addressing the gaps (MICS6): Key results from the multiple indicator cluster survey Thailand 2019)” นำเสนอข้อมูลความก้าวหน้าของการดำเนินงานและความท้าทาย ในประเด็นความเป็นอยู่ที่ดีของเด็กในมิติต่าง ๆ อาทิ โภชนาการของเด็ก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พัฒนาการของเด็กปฐมวัย การเข้าเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ทักษะการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานและการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ การสร้างวินัยให้กับเด็ก การสมรสในวัยเด็ก การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เด็กที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ และรายงานฉบับนี้ยังเน้นให้เห็นสถานการณ์ความเหลือล้ำในการพัฒนาเด็ก โดยสามารถประเมินได้จากตัวชี้วัดที่แสดงถึงฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน ระดับการศึกษาของมารดา ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นกับเด็กที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ รวมถึงความแตกต่างระหว่างประชากรที่อาศัยในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล     หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และเอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

Jun 01 2021
รายงาน
DETAIL
May
20

Stronger Collaboration for an Equitable and Resilient Recovery Towards the Health-related Sustainable Development Goals: 2021 Progress Report on the Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All

รายงานฉบับนี้เป็นรายงานความคืบหน้าของแผนปฏิบัติการเพื่อสุขภาพและสุขภาวะที่ดีสำหรับทุกคน (Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All) ฉบับที่สอง โดยนำเสนอแผนงานในการพัฒนาระยะยาวที่จำเป็นสำหรับองค์กรต่าง ๆ ทั้ง 13 องค์กรที่สนับสนุนการพัฒนาด้านสุขภาพให้ประเทศต่าง ๆ ฟื้นกลับจากการระบาดของโควิด-19 พร้อมกับที่เดินหน้าขับเคลื่อนในเป้าประสงค์ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เกี่ยวกับประเด็นด้านสุขภาพ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

May 20 2021
รายงาน
DETAIL
May
20

World Health Statistics 2021: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs)

รายงาน “World Health Statistics 2021: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals” เป็นการรวบรวมข้อมูลล่าสุดด้านสุขภาพและตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพสำหรับประเทศสมาชิกทั้งหมด 194 ประเทศ นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำประเด็นผลกระทบและความสูญเสียจากการระบาดของโควิด-19 โดยการที่จะฟื้นฟูกลับมาต้องพึ่งพิงการมีข้อมูลจำนวนมากและระบบข้อมูลด้านสุขภาพ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

May 20 2021
รายงาน
DETAIL
May
05

The State of the World’s Midwifery 2021

รายงานการศึกษาที่ประเมินสถานการณ์การผดุงครรภ์ (Midwifery)ในภาคสาธารณสุข เพื่อให้เห็นสถานการณ์ของการดูแลมารดาระหว่างและหลังจากที่ให้กำเนิดบุตร โดยรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลกในช่วงปี 2021 นอกจากนั้น รายงานฉบับนี้จะช่วยแสดงให้เห็นถึงประเด็นความท้าทายจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ประเด็นที่ต้องการส่งเสริม และมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมการผดุงครรภ์ หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA), องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และ สมาพันธ์ผดุงครรภ์นานาชาติ (International Confederation of Midwives: ICM) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

May 05 2021
รายงาน
DETAIL
Apr
14

State of World Population 2021

– Claiming the right to autonomy and self-determination รายงานนี้เป็นฉบับแรกที่เน้นประเด็นเรื่องสิทธิเหนือเรือนร่างของตนเอง โดยเฉพาะของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง โดยไม่กังวลต่อการตัดสินจากผู้อื่นหรือหวาดกลัวต่อความรุนแรง เพราะหากไร้ซึ่งสิทธิดังกล่าว ย่อมจะกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้หญิงและเด็กหญิง รวมถึงผลิตภาพทางเศรษฐกิจ ทักษะในการทำงาน เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อการบริการสาธารณสุข และทำให้กลายเป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับระบบยุติธรรม รายงานรายปี State of World Population จัดทำโดยกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) เผยแพร่มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 เป็นรายงานที่เน้นประเด็นใหม่ด้านความท้าทายและโอกาสของสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ในการพัฒนาระหว่างประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Apr 14 2021
รายงาน
DETAIL
Oct
30

WHO Technical Guidance Notes on Sendai Framework Reporting for Ministries of Health

คู่มือ “WHO technical guidance notes on Sendai framework reporting for ministries of health” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ภาคสาธารณสุข โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกับบทบาทที่จะต้องเก็บรวบรวมและรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแต่ละเป้าประสงค์ 7 ประการของกรอบปฏิญญาเซนได (Sendai Framework targets) ตลอดจนกรอบการทำงานอื่น อาทิ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่    

Oct 30 2020
คู่มือ
DETAIL
Oct
07

WHO Guidance for Climate Resilient and Environmentally Sustainable Health Care Facilities

คู่มือ “WHO guidance for climate resilient and environmentally sustainable health care facilities” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานด้านสาธารณสุขในการเพิ่มขีดความสามารถของการปกป้องและช่วยพัฒนาให้สุขภาวะของชุมชนที่อยู่ในสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอนดีขึ้น ตลอดจนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้เกิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (universal health coverage – UHC)   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Oct 07 2020
คู่มือ
DETAIL
Oct
06

เป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (SDG 3: Good Health and Well-being)

การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ในช่วงปี 2543 – 2558 ประสบผลสำเร็จอย่างมากในการลดอัตราการเสียชีวิตของเด็ก การส่งเสริมสุขภาพของมารดา และการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี/เอดส์ มาลาเรียและโรคอื่นๆ โดยเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มุ่งมั่นที่จะสานต่อความสำเร็จของ MDGs ในการยุติการระบาดของโรคเอดส์ วัณโรค มาลาเรียและโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี 2573 โดยสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้งการเข้าถึงยาและวัคซีนอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับทุกคน ในราคาที่เหมาะสม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP