พจนานุกรมสภาพภูมิอากาศ: คู่มือคำศัพท์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
พจนานุกรมสภาพภูมิอากาศ (The Climate Dictionary) รวบรวมคำศัพท์หรือปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยคำอธิบายที่กระชับที่จะช่วยเชื่อมช่องว่างระหว่างศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนกับประชาชนทั่วไป เนื้อหาได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถันเพื่อรองรับผู้อ่านหลากหลายกลุ่ม ครอบคลุมทั้งผู้ที่ชื่นชอบวิทยาศาสตร์และผู้ที่ไม่มีความรู้พื้นฐานเรื่องดังกล่าว หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่
Sustainable Finance: Bridging the Gap in Asia and the Pacific
รายงาน “Sustainable Finance: Bridging the Gap in Asia and the Pacific” นำเสนอภาพประเด็นเร่งด่วนด้านการเงินเพื่อสนับสนุนการพัฒนายั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับประเด็นด้านสภาพภูมิอากาศ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ตลอดจนการหารือเกี่ยวกับความท้าทาย โอกาส รวมทั้งให้ข้อเสนอเป็นหลักสิบประการในการดำเนินการสำหรับผู้กำหนดนโยบาย หน่วยงานกำกับดูแล และการเงินเอกชนในการปิดช่องว่างนี้ของบรรดาประเทศสมาชิกในภูมิภาค หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
มาตรฐานแนวทางปฏิบัติของภาคธุรกิจเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อเลสเบียน (หญิงรักหญิง) เกย์ (ชายรักชาย) ไบ (คนรักสองเพศ) ทรานส์ (คนข้ามเพศ) และอินเตอร์เซกส์ (บุคคลที่มีเพศสรีระทางชีววิทยาไม่ชัดเจน)
เอกสาร “มาตรฐานแนวทางปฏิบัติของภาคธุรกิจเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อเลสเบียน (หญิงรักหญิง) เกย์ (ชายรักชาย) ไบ (คนรักสองเพศ) ทรานส์ (คนข้ามเพศ) และอินเตอร์เซกส์ (บุคคลที่มีเพศสรีระทางชีววิทยาไม่ชัดเจน)” เป็นฉบับแปลภาษาไทยของเอกสาร “Standards of Conduct for Business: Tackling Discrimination against Lesbian, Gay, Bi, Trans, & Intersex People” จัดทำขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นเครื่องมือชี้แนะแนวทางการส่งเสริมความเสมอภาคและการต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่ม LGBTI ในสถานประกอบการสำหรับภาคธุรกิจ โดยยึดหลักสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ (1) เคารพสิทธิมนุษยชน (2) ยุติการเลือกปฏิบัติ (3) สนับสนุนชุมชน LGBTI (4) ป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ และ (5) มีบทบาทในภาคสาธารณะ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) และ UNDP ร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่
Leveraging Human Mobility to Rescue the 2030 Agenda
รายงาน “Leveraging Human Mobility to Rescue the 2030 Agenda” นำเสนอข้อมูลที่ได้รับการพัฒนาร่วมกับหน่วยงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับเพื่อแสดงหลักฐานที่ชัดเจนว่าการดำเนินการที่ถูกต้องเหมาะสมต่อการโยกย้ายถิ่นฐานสามารถช่วยสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้ จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อที่ประชุม SDG Summit ปี 2023 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Trends in Child Monetary Poverty According to International Poverty Lines
รายงาน “Global Trends in Child Monetary Poverty According to International Poverty Lines” นำเสนอประมาณการแนวโน้มความยากจนในเด็ก 10.4 ล้านคนจาก 147 ประเทศ ตั้งแต่ปี 2013 – 2022 พบว่ามีเด็กประมาณ 333 ล้านคนทั่วโลก หรือ 1 ใน 6 ใช้ชีวิตอยู่ความยากจนขั้นรุนแรง (มีระดับรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่อวันต่ำกว่า 2.15 ดอลลาร์สหรัฐ) และจากการวิเคราะห์ยังชี้ให้เห็นว่าด้วยอัตราความก้าวหน้าระดับปัจจุบัน การยุติความยากจนขั้นรุนแรงในเด็กจะไม่สามารถบรรลุได้ทันภายในปี 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และธนาคารโลก ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Climate Change and Climate Finance: Current Experience and Future Directions
หนังสือ “Climate Change and Climate Finance: Current Experience and Future Directions” วิเคราะห์บทบาทของบริษัทในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แสดงวิธีการสร้างกรอบการกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่มีประสิทธิภาพ และร่างกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่นสำหรับกิจกรรมและการลงทุนที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
คู่มือองค์ความรู้ BCG
“คู่มือองค์ความรู้ BCG” จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงองค์ความรู้เรื่อง BCG โดยเน้นความรู้พื้นฐาน ภาพรวมของการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ ความท้าทาย รวมถึงทิศทางในการพัฒนาประเทศ จากประเทศที่มุ่งเน้น “ผลิตมากแต่สร้างรายได้น้อย ไปสู่การผลิตน้อยแต่สร้างรายได้มาก” ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Asia-Pacific Migration Data Report 2022
“รายงาน “”Asia-Pacific Migration Data Report 2022″” รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการโยกย้ายถิ่นฐานล่าสุด และข้อมูลเชิงลึกในด้านแนวโน้มต่างๆ ที่สังเกตการณ์ได้ตลอดปี 2022 ซึ่งแม้ว่าการระบาดของโควิด-19 จะไม่ใช่แรงขับเคลื่อนหลักของการโยกย้ายถิ่นฐานอีกต่อไป แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นยังคงทิ้งผลลัพธ์ทางอ้อมไว้ต่อผู้อพยพทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รายงานข้อมูลการโยกย้ายถิ่นฐานเอเชีย-แปซิฟิกฉบับนี้เป็นรายงานฉบับที่สาม ที่จัดทำมาต่อเนื่องประจำปีนับตั้งแต่ปี 2020″ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่