ALL SDGs

Feb
05

SDGs กับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+)

ประเทศไทยมีประชากรกลุ่ม LGBTQI+ จำนวนกว่า 4 ล้านคน คิดเป็น 6% ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด แม้ว่าในมุมมองของชาว LGBTQI+ ทั่วโลกจะเห็นว่าประเทศไทยค่อนข้างจะเปิดกว้างในเรื่องความหลากหลายทางเพศ และให้การยอมรับชาว LGBTQI+ อย่างเต็มที่ แต่การวิจัยจากกลุ่มธนาคารโลก ร่วมกับคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบริษัท Love Frankie ระบุว่ากลุ่มคนข้ามเพศ 77% หญิงรักหญิง 62.5% และชายรักชาย 49% ถูกปฏิเสธการรับเข้าทำงาน เนื่องจากความแตกต่างทางเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไม่ได้มีเพียงแค่ในสังคมที่ทำงานเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับชาว LGBTQI+ โดยทั่วไป หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดีโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Feb
05

SDGs กับชีวิตคนเมือง

คุณภาพชีวิตที่ดี เริ่มได้ง่ายๆด้วยการจัดสรรเวลาในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การกิน การออกกำลังกาย และการพักผ่อนให้เกิดความสมดุลในการใช้ชีวิต การใช้ชีวิตในเมืองใหญ่สร้างผลกระทบต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลายด้าน เช่น มลภาวะทางอากาศ น้ำ ปัญหาขยะต่าง ๆ รวมถึงสุขภาพของคนเมือง หากคนเมืองเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่าง จะช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดีโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Jan
26

SDGs ในทศวรรษแห่งการดำเนินการอย่างจริงจัง (Decade of Action)

เหลือเวลาอีกเพียง 10 ปี ที่ประชาคมโลกจะต้องร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่ออนาคตที่ดีกว่า การจะบรรลุ SDGs ทั้งในระดับโลก ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น ภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาคส่วนอื่นๆ ในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :  

DETAIL
Jan
01

SWU Sustainable Development Goals Report 2021

รายงานการดำเนินการด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปี พ.ศ.​ 2564   หน่วยงานที่จัดทำ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 01 2021
รายงาน
DETAIL
Jan
01

ชุดเอกสาร Inner Development Goals

ชุดเอกสาร “Inner Development Goals” หรือ “เป้าหมายการพัฒนาภายใน” นำเสนอกรอบทักษะสำคัญสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจัดทำเป็นคู่มือซึ่งจะเผยแพร่แบบโอเพนซอร์สให้ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้ฟรี กรอบการทำงานของ Inner Development Goals นั้นประกอบด้วย 5 มิติและ 23 ทักษะ คุณลักษณะ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้นำในการขับเคลื่อนป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และทุกคน กรอบการทำงานนี้เปรียบเสมือนตัวเร่งที่ทรงพลังในการบรรลุ SDGs เและสร้างอนาคตที่ดีให้กับมวลมนุษยชาติ   หน่วยงานที่จัดทำ: Inner Development Goals Initiative ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 01 2021
คู่มือ
DETAIL
Jan
01

การประเมินผลการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ROAM-X ของยูเนสโก

รายงาน “Assessing internet development in Thailand: using UNESCO’s Internet Universality ROAM-X Indicators” หรือ “การประเมินผลการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ROAM-X ของยูเนสโก” เสนอผลประเมินความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัด ROAM-X ของยูเนสโก ผ่านการศึกษาบทสัมภาษณ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ การทบทวนงานเขียน และข้อคิดเห็นจากรัฐบาล ภาคประชาสังคม และตัวแทนภาคธุรกิจ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่

Jan 01 2021
รายงาน
DETAIL
Dec
08

Europe Sustainable Development Report 2020

รายงาน “Europe Sustainable Development Report 2020” เป็นฉบับที่ 2 ที่รายงานเกี่ยวกับความคืบหน้าของสหภาพยุโรปและกลุ่มสมาชิกในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนายั่งยืน (SDGs)   หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Institute for European Environmental Policy ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Dec 08 2020
รายงาน
DETAIL
Nov
26

Atlas of Sustainable Development Goals 2020

Atlas of Sustainable Development Goals 2020 หรือ แผนที่สถานการณ์ความก้าวหน้า SDGs จากธนาคารโลก นำเสนอภาพแนวโน้มในการบรรลุ SDGs รวมถึงหลักการในการวัดผลตัวชี้วัดและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 ต่อความก้าวหน้าในบางประเด็นที่มีข้อมูล ผ่านการเล่าเรื่องที่ทำให้เราสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้ (interactive storytelling) และมีการออกแบบข้อมูลเป็นภาพ (data visualization) ที่ดึงดูดความสนใจ มาเพื่ออธิบายประเด็นที่ซับซ้อนทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้เข้าใจง่ายขึ้นได้   หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World bank) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP