2020

Oct
12

เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8: Decent work and economic growth)

ในระยะ 25 ปีที่ผ่านมา จำนวนแรงงานที่ประสบปัญหาความยากจนขั้นรุนแรงลดลงอย่างมาก จำนวนชนชั้นกลางมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 34 ของการจ้างงานทั้งหมดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม วิกฤตเศรษฐกิจปี 2551 ส่งผลให้เกิดภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก แม้เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว แต่อัตราการเติบโตยังต่ำ และปัญหาความเหลื่อมล้ำรุนแรงขึ้น การจ้างงานไม่เพียงพอต่อตลาดแรงงานที่เติบโตขึ้น องค์การแรงงานระหว่างประเทศรายงานว่าในปี 2558 มีผู้ไม่มีงานทำถึง 204 ล้านคนทั่วโลก เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยบรรลุการมีผลิตภาพและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ผ่านการสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการและการสร้างงาน รวมทั้งมาตรการที่มีประสิทธิผลในการขจัดแรงงานบังคับ แรงงานทาส และการค้ามนุษย์ เพื่อบรรลุการจ้างงานเต็มรูปแบบ มีประสิทธิภาพและมีคุณค่า สำหรับทุกคนภายในปี 2573 หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :  

DETAIL
Oct
09

เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy)

ในห้วงเกือบสองทศวรรษที่ผ่านมา ประชากรโลกสามารถเข้าถึงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณ 1,700 ล้านคนทั่วโลก และยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มีความต้องการใช้พลังงานราคาถูกมากขึ้น ในขณะที่ภาคเศรษฐกิจที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ดังนั้น การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ 7 ภายในปี 2573 จึงจำเป็นต้องมีการลงทุนในแหล่งพลังงานสะอาด อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานความร้อน รวมทั้งการเพิ่มผลิตภาพพลังงาน และการสร้างหลักประกันการเข้าถึงพลังงานโดยถ้วนหน้า โดยการขยายโครงสร้างพื้นฐานและยกระดับเทคโนโลยีในการผลิตพลังงานที่สะอาดและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในทุกประเทศจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจและรักษาสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
09

เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและการสุขาภิบาลที่ยั่งยืน (SDG 6: Clean water and sanitation)

ปัญหาการขาดแคลนน้ำส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วโลกกว่าร้อยละ 40 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ปริมาณน้ำดื่มสะอาดที่ลดลงยังเป็นปัญหาสำคัญ หลายประเทศทั่วโลกเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำ ภัยแล้ง และภาวะการเป็นทะเลทรายที่รุนแรงขึ้น ดังนี้ การจัดหาน้ำดื่มที่ปลอดภัยในราคาที่เหมาะสมสำหรับทุกคนภายในปี 2573 จึงต้องมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอ รวมทั้งการมีสุขอนามัยและการสุขาภิบาลที่เหมาะสม ปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น ป่าไม้ ภูเขาและแม่น้ำ ตลอดจนสร้างหลักประกันการเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยในราคาที่เหมาะสมโดยถ้วนหน้า หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
09

เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิง (SDG 5: Gender equality)

การยุติการเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิงเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ รวมทั้งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน โดยการเสริมสร้างบทบาทของผู้หญิงและเด็กหญิงจะช่วยสนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ แม้ในปัจจุบันจะมีเด็กผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น และมีจำนวนผู้หญิงในตลาดแรงงานมากขึ้น แต่ยังคงมีความไม่เสมอภาคระหว่างเพศในการเข้าถึงสิทธิแรงงานและค่าจ้าง นอกจากนี้ ความรุนแรงและการละเมิดทางเพศ รวมทั้งการทำงานบ้านและงานที่ไม่ได้รับค่าจ้าง และการเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิง ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในการบรรลุเป้าหมาย ดังนั้น การส่งเสริมให้ผู้หญิงมีสิทธิเท่าเทียมในการถือครองที่ดินและทรัพย์สิน ตลอดจนเข้าถึงสิทธิสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมทั้งเข้าถึงเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต จึงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญให้บรรลุเป้าหมายความเท่าเทียมทางเพศ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
09

เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพ (SDG 4: Quality education)

เป้าหมายที่ 4 มุ่งสร้างหลักประกันว่าเด็กทั้งชายและหญิงสามารถเข้าถึงการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยและระดับมัธยมศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายภายในปี 2573 รวมทั้งให้มีการเข้าถึงการฝึกอบรมทักษะอาชีพในราคาที่เหมาะสมอย่างเท่าเทียมกัน และขจัดความไม่เสมอภาคทางเพศและความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนบรรลุการเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพอย่างถ้วนหน้า หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :  

DETAIL
Oct
07

WHO Guidance for Climate Resilient and Environmentally Sustainable Health Care Facilities

คู่มือ “WHO guidance for climate resilient and environmentally sustainable health care facilities” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานด้านสาธารณสุขในการเพิ่มขีดความสามารถของการปกป้องและช่วยพัฒนาให้สุขภาวะของชุมชนที่อยู่ในสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอนดีขึ้น ตลอดจนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้เกิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (universal health coverage – UHC)   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Oct 07 2020
คู่มือ
DETAIL
Oct
06

เป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (SDG 3: Good Health and Well-being)

การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ในช่วงปี 2543 – 2558 ประสบผลสำเร็จอย่างมากในการลดอัตราการเสียชีวิตของเด็ก การส่งเสริมสุขภาพของมารดา และการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี/เอดส์ มาลาเรียและโรคอื่นๆ โดยเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มุ่งมั่นที่จะสานต่อความสำเร็จของ MDGs ในการยุติการระบาดของโรคเอดส์ วัณโรค มาลาเรียและโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี 2573 โดยสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้งการเข้าถึงยาและวัคซีนอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับทุกคน ในราคาที่เหมาะสม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
06

เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย (SDG 2: Zero Hunger)

เป้าหมายที่ 2 (SDG 2: Zero Hunger) มุ่งมั่นที่จะขจัดความหิวโหยและความอดอยากทุกรูปแบบ ภายในปี 2573 เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและผู้ด้อยโอกาส เข้าถึงอาหารที่เพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการตลอดทั้งปี นอกจากนี้ ยังมุ่งส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน การปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่และกำลังการผลิตของเกษตรกรรายย่อยให้เข้าถึงแหล่งที่ดินทำกิน เทคโนโลยีและการตลาดอย่างเท่าเทียม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP