2020

Dec
02

Global Wage Report 2020-21: Wages and minimum wages in the time of COVID-19

รายงานฉบับนี้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแสดงสถานการณ์และแนวโน้มของค่าจ้างแรงงานในระดับโลก และภูมิภาค โดยฉบับ 2020/21 นอกจากจะช่วยแสดงแนวโน้มของค่าแรงโดยภาพรวม ยังมุ่งเน้นไปที่การกำหนดค่าจ้างแรงงานขึ้นต่ำ ผลกระทบจากโควิด – 19 และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Dec 02 2020
รายงาน
DETAIL
Nov
26

Atlas of Sustainable Development Goals 2020

Atlas of Sustainable Development Goals 2020 หรือ แผนที่สถานการณ์ความก้าวหน้า SDGs จากธนาคารโลก นำเสนอภาพแนวโน้มในการบรรลุ SDGs รวมถึงหลักการในการวัดผลตัวชี้วัดและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 ต่อความก้าวหน้าในบางประเด็นที่มีข้อมูล ผ่านการเล่าเรื่องที่ทำให้เราสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้ (interactive storytelling) และมีการออกแบบข้อมูลเป็นภาพ (data visualization) ที่ดึงดูดความสนใจ มาเพื่ออธิบายประเด็นที่ซับซ้อนทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้เข้าใจง่ายขึ้นได้   หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World bank) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

DETAIL
Oct
30

WHO Technical Guidance Notes on Sendai Framework Reporting for Ministries of Health

คู่มือ “WHO technical guidance notes on Sendai framework reporting for ministries of health” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ภาคสาธารณสุข โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกับบทบาทที่จะต้องเก็บรวบรวมและรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแต่ละเป้าประสงค์ 7 ประการของกรอบปฏิญญาเซนได (Sendai Framework targets) ตลอดจนกรอบการทำงานอื่น อาทิ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่    

Oct 30 2020
คู่มือ
DETAIL
Oct
25

Guide to Sustainable Tourism. Challenges and Criteria for Evaluation in the Tourism Sector

คู่มือ “Guide to Sustainable Tourism. Challenges and Criteria for Evaluation in the Tourism Sector” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือใช้ประเมินการดำเนินงานของภาคการท่องเที่ยวต่อ SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย และให้สถานที่ท่องเที่ยวและธุรกิจการท่องเที่ยวจะสามารถตรวจสอบตนเองได้ว่าดำเนินงานสอดคล้องเป็นไปตามข้อกำหนดที่จำเป็นเพื่อให้เกิดความยั่งยืนแล้วหรือไม่     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network (Spain) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Oct 25 2020
คู่มือ
DETAIL
Oct
23

ASEAN SDG Indicators Baseline Report 2020

รายงาน “ASEAN SDG Indicators Baseline Report 2022” เป็นรายงานเรื่องตัวชี้วัด SDGs ฉบับแรกของอาเซียนที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลฐาน (baseline information) ของติดตามและวัดผล การดำเนินการบรรลุ SDGs ในภูมิภาค และจะช่วยสนับสนุนการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค รายงานฉบับนี้นำเสนอข้อมูลของรัฐสมาชิกอาเซียนที่รวบรวมได้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559-2561     หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Oct 23 2020
รายงาน
DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG 17: Partnerships for the goals)

ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเชื่อมต่อกันมากขึ้นการส่งเสริมให้มีการเข้าถึงเทคโนโลยีและความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการแลกเปลี่ยนความคิดและเอื้อให้เกิดการสร้างนวัตกรรม นอกจากนี้ การประสานงานด้านนโยบายเพื่อช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนามีความสามารถในการบริหารจัดการหนี้ รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด มีความสำคัญต่อการพัฒนาและการเติบโตอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 17 มุ่งมั่นที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา (North-South) และความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (South-South) โดยการสนับสนุนแผนระดับชาติเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มอัตราการส่งออกล้วนเป็นองค์ประกอบของการมีระบบการค้าซึ่งอยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์สากล มีความเสมอภาค ยุติธรรม เปิดกว้าง และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก (SDG 16: Peace, justice and strong institutions)

สันติภาพ ความสงบสุข ความมั่นคง สิทธิมนุษยชน และการปกครองที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของหลักนิติธรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม บางภูมิภาคในโลกยังตกอยู่ในวงจรของความขัดแย้งและความรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อการพัฒนาประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ในภาวะความขัดแย้งที่ขาดการเคารพในหลักนิติธรรม ยังมีแนวโน้มของการเกิดความรุนแรงทางเพศ อาชญากรรม และการแสวงผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ สูงขึ้น เป้าหมายที่ 16 มุ่งมั่นที่จะลดความรุนแรงทุกรูปแบบ และเสริมสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและชุมชนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความไม่มั่นคงอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งเสริมหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน การลดอาวุธผิดกฎหมาย และสนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมในสถาบันธรรมาภิบาลระดับโลก หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน (SDG 15: Life on land)

ระบบนิเวศบนบกมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เช่นเดียวกับระบบนิเวศทางทะเล กว่าร้อยละ 80 ของอาหารมนุษย์มาจากพืช และมนุษย์พึ่งพาการเกษตรเป็นแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่สำคัญ นอกจากนี้ ป่าไม้ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญของสิ่งมีชีวิตนับล้านชนิด รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำและอากาศที่สะอาด และมีความสำคัญต่อการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ในทุกๆ ปี เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่ากว่า 13 ล้านเฮกเตอร์ (ประมาณ 81 ล้านไร่) ทั่วโลก และการเสื่อมโทรมของที่ดินส่งผลให้เกิดการกลายเป็นทะเลทรายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่ยากจนทั่วโลก การลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เป้าหมายที่ 15 มุ่งอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน สนับสนุนให้มีการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนและแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อลดความสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งดำเนินการให้มีความมั่นคงทางอาหารและน้ำ และสร้างศักยภาพในด้านการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP