ASEAN Gender Outlook: Achieving the SDGs for All and Leaving No Woman and Girl Behind
รายงาน “ASEAN Gender Outlook: Achieving the SDGs for All and Leaving No Woman and Girl Behind” ชี้ให้เห็นช่องว่างของข้อมูลด้านเพศที่มีอยู่ในภูมิภาค และเรียกร้องให้มีการลงทุนและให้ความสำคัญกับงานด้านข้อมูลมากขึ้น เพื่อติดตามความก้าวหน้าสู่ความเท่าเทียมทางเพศและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับ ASEAN Complementarities Initiative, ASEAN Community Vision 2025 และวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Goals Report 2024
รายงาน “Sustainable Development Goals Report 2024หรือ รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2024 นำเสนอความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย อิงตามกรอบตัวชี้วัดระดับโลก โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ล่าสุดในปัจจุบัน รายงานประจำปีนี้พบว่ามีเป้าหมายย่อยของ SDGs แค่ 17% เท่านั้นที่จะบรรลุได้ทันตามเป้าหมายเวลาปี 2030 ซ้ำยังพบช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่ขยายกว้างขึ้น รายงานยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเพิ่มการลงทุนและการดำเนินการเพื่อบรรลุ SDGs หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Asia and the Pacific SDG Progress Report 2024
รายงาน “Asia and the Pacific SDG progress report 2024: Showcasing Transformative Actions” เป็นหนึ่งในรายงานสำคัญประจำปีของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ สำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) รายงานฉบับนี้ ให้ภาพรวมของความก้าวหน้าของการดำเนินงานเพื่อบรรลุ SDGs ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก สำหรับปีนี้ รายงานเน้นย้ำเรื่องราวความสำเร็จและแนวโน้มต่าง ๆ พร้อมทั้งอุปสรรคเฉพาะที่พบในแต่ละพื้นที่ภายในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังระบุถึงลำดับความสำคัญในการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด SDGs โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มประชากรที่เปราะบางที่สุด ซึ่งจะช่วยในการกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาให้เท่าเทียมและครอบคลุมยิ่งขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (ESCAP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
World Economic Situation and Prospects 2024
รายงาน “World Economic Situation and Prospects 2024” เป็นรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ประจำปี 2024 ได้นำเสนอมุมมองด้านเศรษฐกิจโลก และเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศและนโยบายที่รอบคอบในการยกระดับการเติบโตของโลกและเร่งความก้าวหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยรายการฉบับนี้ประเมินว่าการเติบโตเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงต่อไป จากประมาณ 2.7% ในปี 2023 เป็น 2.4% ในปี 2024 ยังคงต่ำกว่าอัตราการเติบโตก่อนเกิดโรคระบาดที่ 3% ผลการศึกษายังเรียกร้องให้มีการร่วมมือระหว่างประเทศที่เข้มแข็งขึ้น เพื่อกระตุ้นการเติบโตและส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียว หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
คู่มือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับบริษัทจดทะเบียนไทย
“คู่มือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับบริษัทจดทะเบียนไทย” (SDG Guidebook for Thai Listed Companies) เป็นแนวปฏิบัติสำหรับบริษัทจดทะเบียนไทยในการผนวกแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เข้ากับกลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจขององค์กร รวมทั้งเสนอเครื่องมือเครื่องมือการวัดผลและการจัดการผลกระทบ (Impact Measurement and Management – IMM) ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับข้อกำหนดในแบบการเปิดเผยข้อมูล 56-1 One Report ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และ โครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่
General Guidelines for the Implementation of Sustainability in Higher Education Institutions
คู่มือ “General guidelines for the implementation of sustainability in higher education institutions” สรุปองค์ประกอบที่สำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันอุดมศึกษาในการสร้างแนวทางที่เป็นระบบและเพิ่มการมีส่วนร่วมเพื่อการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ด้วยการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นองค์กรที่มีความยั่งยืนมากขึ้นจากภายใน หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Academic Impact Initiative (UNAI) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Costs of Achieving the Sustainable Development Goals
รายงานการวิเคราะห์ “The costs of achieving the Sustainable Development Goals” รูปแบบออนไลน์ เสนอผลการประเมินมูลค่าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) เพื่อช่วยให้ผู้จัดทำนโยบายตัดสินใจลงทุนและจัดสรรงบประมาณเพื่อการบรรลุ SDGs ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย UNCTAD วิเคราะห์ข้อมูลเกือบ 50 ตัวชี้วัด SDGs จาก 90 ประเทศ ซึ่งรวมถึง 48 ประเทศกำลังพัฒนา ทั้งหมดคิดเป็นสามในสี่ของประชากรโลก หน่วยงานที่จัดทำ: การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Synergy Solutions for a World in Crisis: Tackling Climate and SDG Action Together
รายงาน “Synergy Solutions for a World in Crisis: Tackling Climate and SDG Action Together” เป็นรานงานฉบับแรกที่ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญหลากหลายศาสตร์ทั้งหมด 14 ท่าน เพื่อให้ภาพรวมและคำแนะนำสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ส่งเสริมกัน (synergy) บนฐานของข้อมูล หลักฐาน และประสบการณ์จากคนทำงานแนวหน้าเอง หน่วยงานที่จัดทำ: UNDESA และ UNFCCC ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Global Sustainable Development Report (GSDR) 2023
รายงาน “Global Sustainable Development Report (GSDR) 2023” เขียนโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์อิสระ (Independent Group of Scientists: IGS) เป็นรายงานฉบับสำคัญที่เผยแพร่ทุก 4 ปีนับตั้งแต่มีการลงนามรับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อสนับสนุนการดำเนินการ โดยฉบับที่สองประจำปีค.ศ. 2023 นี้ถือเป็นการทบทวนครึ่งทางของวาระ จึงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมด้วยวิทยาศาสตร์ ที่จะสามารถเปลี่ยนทิศทางการขับเคลื่อน (SDGs) ให้ไปข้างหน้าได้รวดเร็วขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: UN DESA ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Key Indicators for Asia and the Pacific 2023
รายงาน “Key Indicators for Asia and the Pacific 2023” นำเสนอสถิติเกี่ยวกับตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ การเงิน สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงตัวชี้วัดที่สำคัญบางประการสำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ล่าสุดของประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก 49 ประเทศที่เป็นสมาชิกธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เนื้อหาภายในวิเคราะห์แนวโน้มความก้าวหน้าในการพัฒนา และอุปสรรคในการบรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ทั้งค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นควบคู่ไปกับผลกระทบที่ยังคงอยู่จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ประชาชนหลายล้านคนในภูมิภาคเข้าสู่ภาวะยากจนมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Global Commons Stewardship (GCS) Index 2022
การจัดทำดัชนี “Global Commons Stewardship (GCS) Index” ครั้งที่ 3 ประจำปี 2022 ให้ข้อมูลล่าสุดของการส่งผ่านผลกระทบทางลบ (spillovers) ภายในประเทศและต่างประเทศต่อทรัพยากรร่วมของโลก (Global Commons) โดยรายงานฉบับนี้เผยให้เห็นว่าไม่มีประเทศใดในโลกประสบความสำเร็จในการจัดการเพื่อบรรลุการพัฒนามนุษย์ในระดับสูง (วัดโดย GDP ต่อหัวหรือดัชนีการพัฒนามนุษย์) และกลุ่มประเทศร่ำรวย เช่น ในกลุ่ม G20 ส่งผ่านผลกระทบทางลบในระดับสูงอันเป็นผลมาจากการบริโภคที่ไม่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network, Yale Center for Environmental Law & Policy และ Center for Global Commons มหาวิทยาลัยโตเกียว ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Goals Report 2023: Special Edition
“The Sustainable Development Goals Report 2023: Special Edition” หรือ รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2023: ฉบับพิเศษ ณ ครึ่งทางของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี 2030 นำเสนอความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย อิงตามกรอบตัวชี้วัดระดับโลก โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ล่าสุดในปัจจุบัน รายงานประจำปีนี้เน้นย้ำถึงช่องว่างของการดำเนินการและความท้าทายที่ยังมีอยู่ในการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ทันภายในปี 2030 และเรียกร้องให้โลกเพิ่มความพยายามเป็นสองเท่า หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Achieving the Sustainable Development Goals through Tourism – Toolkit of Indicators for Projects (TIPs)
คู่มือ “Achieving the Sustainable Development Goals through Tourism – Toolkit of Indicators for Projects (TIPs)” พัฒนามาเพื่อเป็นชุดเครื่องมือในการจัดการโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการบูรณาการแนวปฏิบัติการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเข้าไว้ในนโยบาย กรอบการเงิน และการดำเนินธุรกิจ คู่มือนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 อธิบายว่าเหตุใดจึงจำเป็นต้องใช้ตัวชี้วัดตามโครงการ วิธีใช้ตัวชี้วัดในวัฏจักรของโครงการ และวิธีที่ผู้จัดการโครงการสามารถติดตามความก้าวหน้าของ SDGs ส่วนที่ 2 แสดงรายละเอียดของ SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย ความเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เป้าหมายย่อยและตัวชี้วัดที่อาจนำไปปรับใช้และใช้กับโครงการได้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (World Tourism Organization: UNWTO) ร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency: JICA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Report 2023
รายงาน “Sustainable Development Report 2023” นำเสนอดัชนี SDGs (SDG Index) และ dashboards ประจำปี ค.ศ. 2023 แสดงความก้าวหน้าในการบรรลุ SDGs ของประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) จัดทำโดย SDSN และมูลนิธิ Bertelsmann โดยฉบับนี้เน้นไปที่ความจำเป็นในการขยายขนาดการเงินเพื่อการพัฒนา และการปฏิรูปสถาปัตยกรรมทางการเงิน (financial architecture) ระดับโลกเพื่อสนับสนุน SDGs หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network, the Bertelsmann Stiftung ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Case for Long-Term SDG Financing
บทความ “The Case for Long-Term SDG Financing” เน้นย้ำลำดับความสำคัญสี่ประการในการขยายขนาดและปรับกระแสการจัดหาเงินทุนระดับโลกสำหรับการดำเนินงานเพื่อบรรลุ SDGs ได้แก่ 1) การปฏิรูปสถาปัตยกรรมทางการเงินทั่วโลก 2 ) ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการที่ตรงเป้าหมายมากขึ้น 3) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้รัฐบาลที่พิจารณาถึงศักยภาพการเติบโตในระยะยาวของการลงทุน SDGs ด้วย และ 4) การวางแผนการลงทุนระยะยาว หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Transforming Our World: Interdisciplinary Insights on the Sustainable Development Goals
เอกสาร “Transforming Our World: Interdisciplinary Insights on the Sustainable Development Goals” นำเสนอข้อค้นพบเชิงลึกแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ (interdisciplinary) เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มีเนื้อหารวมไปถึง โอกาสของสหภาพยุโรปในการจัดการความท้าทายในการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับโลก ความเชื่อมโยงระหว่างทุนทางธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรม ศักยภาพของงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล การทำฟาร์มคาร์บอนและตลาดคาร์บอนโดยสมัครใจในสหภาพยุโรป การให้ทุนสนับสนุนของภาคเอกชนของ SDGs และการระบุประเด็น SDGs ในพอร์ตการลงทุนสินทรัพย์ทางการเงิน หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SDGs Mega Trends 2023: Unlock the Global Pathways to Resilience, Growth, and Sustainability
รายงาน “SDGs Mega Trends 2023” นำเสนอ 5 แนวโน้มสำคัญเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี ค.ศ. 2023” ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยคัดเลือกประเด็นเด่น 5 ประเด็นเกี่ยวกับความยั่งยืนจากแหล่งข้อมูลชั้นนำทั่วโลกที่ควรให้ความสำคัญ เพื่อปลดล็อคจากความท้าทาย สู่การฟื้นตัวหลังโควิด-19 เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน และตอบโจทย์ SDGs ในหลากหลายมิติ หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
World Happiness Report 2023
รายงาน “World Happiness Report ประจำปี 2023” จัดอันดับประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก โดยจะประเมินความสุขตามเกณฑ์ต่าง ๆ อาทิ การสนับสนุนทางสังคม รายได้ ชีวิตที่มีสุขภาพที่ดี และการทุจริต เป็นต้น โดยยังคงกล่าวถึงผลพสงจากโควิด-19 และวิกฤติสงครามรัสเซีย-ยูเครน หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
แผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รายจังหวัด
“แผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” รวบรวมแผนการขับเคลื่อน SDGs รายจังหวัด ทั้ง 76 จังหวัด โดยละเอียด อันเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากที่กระทรวงมหาดไทยพร้อมผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศได้ร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์ “76 จังหวัด 76 คํามั่นสัญญา เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน” (Statement of Commitment to Sustainable Thailand by the Governors of the Provinces of Thailand) กับสหประชาชาติประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2565 หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานจังหวัดของแต่ละจังหวัด ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
เอกสารรายงานแผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ระดับจังหวัด
“เอกสารรายงานแผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” รวบรวมแผนการขับเคลื่อน SDGs รายจังหวัด ทั้ง 76 จังหวัด อันเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากที่กระทรวงมหาดไทยพร้อมผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศได้ร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์ “76 จังหวัด 76 คํามั่นสัญญา เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน” (Statement of Commitment to Sustainable Thailand by the Governors of the Provinces of Thailand) กับสหประชาชาติประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2565 หน่วยงานที่จัดทำ: กองการต่างประเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2566
รวมเอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ภายในปี พ.ศ. 2566 หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทย ที่นี่
Asia and the Pacific SDG Progress Report 2023
รายงาน “Asia and the Pacific SDG progress report 2023 : championing sustainability despite adversities” แสดงความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Goal Interactions Through A Climate Lens: A Global Analysis
รายงาน “Sustainable Development Goal interactions through a climate lens: a global analysis” วิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่สำคัญกับการดำเนินการตามความพยายามในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่ 1.5°C ว่าสามารถทำงานร่วมกันหรือขัดแย้งกันอย่างไร และเสนอข้อค้นพบที่เป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับการดำเนินการทั้งสองมิติดังกล่าว หน่วยงานที่จัดทำ: Stockholm Environment Institute (SEI) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Social Report 2023 | Leaving No One Behind in an Ageing World
รางาน “World Social Report 2023” มาในธีม Leaving No One Behind in an Ageing World แสดงสถานการณ์ของผู้สูงอายุ และประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างความสูงวัยของประชากรและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รวมถึงมิติทางสังคมที่เกี่ยวข้อง ทั้งความยากจน ความเหลื่อมล้ำ การดูแลสุขภาพ และการบริบาลในระยะยาวของผู้สูงวัย หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
รายงานสถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ.2566
รายงาน “สถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ.2566” นำเสนอสถานะข้อมูลตัวชี้วัด (indicators) SDGs ของประเทศไทยทั้ง 17 เป้าหมาย ตามกรอบตัวชี้วัดสากลขององค์การสหประชาชาติ เป็นรายงานฉบับที่สองต่อเนื่องจากฉบับปี 2562 เพื่อติดตามความก้าวหน้าของข้อมูลตัวชี้วัดแต่ละตัว หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่
The 2022 ASEAN SDG Snapshot Report
รายงาน “ASEAN SDG Snapshot Report” ประจำปีค.ศ. 2022 ติดตามและแสดงผลการประเมินสถานะความก้าวหน้าของ SDGs ของประเทศสมาชิกอาเซียน แม้จะมีความท้าทายอันเกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ตาม หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Practical Guide to Data Storytelling in Voluntary National Reviews and SDG Reporting
คู่มือ “Practical Guide to Data Storytelling in Voluntary National Reviews and SDG reporting” สามารถช่วยสนับสนุนนักสถิติ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ผู้กำหนดนโยบาย นักวิเคราะห์ คนทำงานด้านการสื่อสาร เล่าเรื่องราวผ่านข้อมูลในรายงาน VNR และรายงาน SDGs ได้อย่างน่าเชื่อ โดยมุ่งเน้นที่การทำความเข้าใจบริบทและสร้างเรื่องเล่า ประกอบด้วยตัวอย่างที่ดึงมาจากการรายงาน VNRs และ รายงาน SDGs รวมถึงแหล่งข้อมูลภายนอกอื่น ๆ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสถิติแห่งสหประชาชาติ (United Nations Statistics Division) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2564-2565
รายงานการดำเนินการด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2564-2565 หน่วยงานที่จัดทำ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand
รายงาน “Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand” หรือ รายงาน “การประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมต่อเด็กในประเทศไทย” จะชี้ให้เห็นว่าเด็ก ๆ ทีเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ ภัยแล้ง คลื่นความร้อน และน้ำท่วม มากที่สุด อาศัยอยู่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหลือและภาคใต้ของประเทศไทย แผนที่ความเสี่ยงจากการศึกษาฉบับนี้เผยให้เห็น 10 จังหวัด (อุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีษะเกษ นครศรีธรรมราช นาราธิวาส สุรินทร์ สงขลา บุรีรัมย์ ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี) มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2578 โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ RCP4.5 (มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับปานกลาง) หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Asia-Pacific Migration Data Report 2021
รายงาน “Asia–Pacific Migration Data Report 2021” รวบรวมหลักฐานล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์การย้ายถิ่นฐานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปีพ.ศ. 2564 โดยเสนอผ่านเลนส์ของการฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และภายใต้วิกฤตการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอัฟกานิสถานและเมียนมา และผลกระทบที่เด่นชัดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565
“รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย: มุมมองจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565 (Thailand Sustainable Development Report 2022: TSDF Report)” พัฒนาจากผลของการระดมความคิดเห็นของภาคส่วนที่ดำเนินงาน SDGs ผ่านกระบวนการสังเคราะห์และเรียบเรียงประเด็นที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคมของประเทศไทย เพื่อสะท้อนให้เห็นภาพการเชื่อมโยง 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงระดับฐานรากเข้าด้วยกัน หน่วยงานที่จัดทำ: เครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย (Sustainable Development Solutions Network (SDSN) Thailand) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
Sustainable Development Goals Report 2022
รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2022 นำเสนอความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมายและเส้นทางที่ยังเหลืออยู่ รายงานประจำปีฉบับที่ 7 นี้ยังพิจารณาแนวโน้มความก้าวหน้านับตั้งแต่ปี 2015 และผลกระทบของ COVID-19 ที่ทำให้เห็นว่าวิกฤตที่ลดหลั่นกันและเชื่อมโยงกันในหลายมิติทำให้การดำเนินการเพื่อวาระ 2030 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความท้าทายรุนแรง เช่นเดียวกับโอกาสในความอยู่รอดของมนุษยชาติ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Business Reporting on the SDGs: An Analysis of the Goals and Targets
Business Reporting on the SDGs: An Analysis of the Goals and Targets เป็นแนวทางเเนะนำ (guidance) ฉบับปรับปรุงล่าสุดปี 2022 เพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ใช้สำหรับบูรณาการ SDGs เข้ากับกระบวนการรายงานความยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์เเก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเปรียบเทียบและใช้งานข้อมูลได้สะดวกขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: Global Reporting Initiative (GRI) และ UN Global Compact (UNGC) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Thailand & Sustainable Development Goals guided by Sufficiency Economy Philosophy (SEP) and accelerated through BCG Economic Model
เอกสาร “Thailand & Sustainable Development Goals guided by Sufficiency Economy Philosophy (SEP) and accelerated through BCG Economic Model” นำเสนอกรอบแนวทางของประเทศไทยในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ขับเคลื่อนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) และเร่งรัดความสำเร็จผ่านโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) แยกตามรายมิติ ทั้ง 5 มิติ ได้แก่ มิติสังคม (People) มิติเศรษฐกิจ (Prosperity) มิติสิ่งแวดล้อม (Planet) มิติสันติภาพและสถาบัน (Peace) และมิติหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership) หน่วยงานที่จัดทำ: กระทรวงการต่างประเทศ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Report 2022
รายงาน “Sustainable Development Report 2022” นำเสนอดัชนี SDG (SDG Index) และ dashboards สำหรับประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) จัดทำโดย SDSN และมูลนิธิ Bertelsmann โดยฉบับนี้มาในธีม “From Crisis to Sustainable Development: the SDGs as Roadmap to 2030 and Beyond” หรือ “จากวิกฤตสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน: SDGs ในฐานะ roadmap สู่ปี ค.ศ. 2030 และไกลกว่านั้น” หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Bertelsmann Stiftung ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Happiness Report 2022
รายงานความสุขโลกประจำปี 2022 เป็นฉบับครบ 10 ปีของรายงานที่ประเมินความสุขของคนทั่วโลกในมากกว่า 150 ประเทศ โดยรายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่าการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ไม่เพียงแต่นำมาซึ่งความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานเท่านั้น แต่ยังเพิ่มการสนับสนุนทางสังคมและความเมตตากรุณาที่คนมีให้กันด้วย ซึ่งทำให้เห็นความสามารถของปัจเจกบุคคลและชุมชนในการสนับสนุนซึ่งกันและกันในยามยากลำบากเมื่อต้องต่อสู้กับทั้งโรคและสงคราม หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Asia and the Pacific SDG Progress Report 2022
รายงาน “Asia and the Pacific SDG progress report 2022 : widening disparities amid COVID-19” แสดงความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และยังประเมินปัญหาความเหลื่อมล้ำและความเปราะบางระหว่างกลุ่มประชากรต่าง ๆ ในภูมิภาค ชี้ให้เห็นช่องว่างที่จำเป็นต้องถมปิดเพื่อการบรรลุ SDGs ให้ทันภายในปีค.ศ. 2030 โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SDGs Mega Trends 2022: Corporate Climate Action
รายงาน “SDGs Mega Trends 2022” นำเสนอ 5 แนวโน้มสำคัญเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี ค.ศ. 2022” ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยคัดเลือกประเด็นเด่น 5 ประเด็นเกี่ยวกับความยั่งยืนจากแหล่งข้อมูลชั้นนำทั่วโลกที่ควรให้ความสำคัญ โดยเรื่องเด่นที่ภาคธุรกิจต้องใส่ใจในปีนี้คือ การปรับเปลี่ยนเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
ชุดวิดีโอประกอบคู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)
ชุดวิดีโอประกอบ “คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)” นำเสนอเนื้อหาโดยสรุปของคู่มือทั้งการทำความเข้าใจประเด็นความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่มาและความสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และเชื่อมโยงกับประเด็นรอบตัวที่เยาวชนกำลังเผชิญอยู่ในชีวิตประจำวันภายใต้มุมมองของ SDGs พร้อมทั้งแนะนำวิธีการที่เยาวชนจะพัฒนากิจกรรมและโครงการเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลกอย่างยั่งยืนได้อย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) รับชมวิดิโอได้ที่นี่:
คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)
คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action) นำเสนอเส้นทางการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับเยาวชนเพื่อเข้าใจมุมมองรอบตัวพวกเขาผ่านเลนส์ของ SDGs คู่มือนี้มีคำถามเพื่อให้ผู้อ่านได้คิดทบทวนตนเองในการเลือกการออกแบบทำกิจกรรมเพื่อความยั่งยืนในชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังจัดให้มีแบบฝึกหัดสำหรับเยาวชนเพื่อเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงโลกผ่านโครงการเล็ก ๆ ที่ยั่งยืนที่ทำได้ในพื้นที่ของตัวเอง หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ดาวน์โหลด: คู่มือฉบับภาษาไทยและอังกฤษ ที่นี่
บันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเชิงพื้นที่ (SDG Localization) พ.ศ. 2565
บันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเชิงพื้นที่ (SDG Localization) จัดโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2565 ที่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้และเสริมศักยภาพของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน SDGs ในระดับพื้นที่ รวมทั้งแลกเปลี่ยนและติดตามความคืบหน้าการดำเนินการ SDGs ในระดับพื้นที่ อ่านรายละเอียดหัวข้อการเสวนาและการบรรยายทั้งหมดได้ที่นี่
SDG Good Practices: A Compilation of Success Stories and Lessons Learned in SDG Implementation – Second Edition
รายงาน “SDG Good Practices: A compilation of success stories and lessons learned in SDG Implementation – Second Edition” รวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Good practices) ที่ได้รับการคัดเลือกจากการเสนอชื่อทั่วโลกทั้งหมด 21 เรื่องราว เป็นฉบับที่สอง หลังจากเผยแพร่ไปครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 2021 ให้เป็นบทเรียนสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ว่าจะสามารถนำไปปรับใช้ในวงกว้างเพื่อทั้งเร่งความก้าวหน้าในการบรรลุ SDGs และรวมถึงฟื้นฟูสังคมโลกจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ได้อย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: UN DESA ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
บทบาทมหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
การนำเสนอ “บทบาทมหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ให้ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) และเชื่อมโยงการดำเนินกิจกรรมของสถาบันอุดมศึกษากับการขับเคลื่อนเพื่อบรรลุ SDGs หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2565
รวมเอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ภายในปี พ.ศ. 2565 หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทย ที่นี่
คู่มือตัวชี้วัดผลลัพธ์การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
“คู่มือตัวชี้วัดผลลัพธ์การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นหลักการและแนวทางในการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน ให้ข้อมูลด้านการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและสนองตอบต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อย่างเป็นรูปธรรม หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจพอเพียงและลดความเหลื่อมล้ำ หอการค้าไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
ความเชื่อมโยงระหว่างแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
เอกสาร “ความเชื่อมโยงระหว่างแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” เปรียบเทียบความเชื่อมโยงระหว่าง 169 เป้าหมายย่อย (target) ของ SDGs กับ 37 เป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 จำนวน 23 ฉบับ (แผนระดับที่ 2) และ 140 เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทฯ (Y1) เพื่อประมวลความสอดคล้องการกำหนดทิศทางการพัฒนาระดับประเทศกับระดับนานาชาติ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
Global Commons Stewardship (GCS) Index 2021
การจัดทำดัชนี “Global Commons Stewardship (GCS) Index” ประจำปี 2019 ให้ข้อมูลล่าสุดและจัดอันดับการส่งผ่านผลกระทบทางลบ (spillovers) ภายในประเทศและต่างประเทศต่อทรัพยากรร่วมของโลก (Global Commons) ของ 100 ประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network, Yale Center for Environmental Law & Policy และ Center for Global Commons มหาวิทยาลัยโตเกียว ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
10 Stories การจัดการของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร
รายงาน “10 Stories การจัดการของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร” เป็นผลงานจากโครงการระดับท้องถิ่นในหัวข้อ “การพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องิ่นและนำร่องแผนงานของชุมชนเพื่อยกระดับความมั่นคงทางอาหาร การบริโภคอาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยในกลุ่มผู้เปราะบางในจังหวัดยะลา นราธิวาส และปัตตานี” ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย สถาบันไทยนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นและสมาพันธ์สวิส มีวัตถุประสงค์ของเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในสังคมและความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของท้องถิ่นผ่านการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองและชุมชนในบริบทของ COVID-19 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่
รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2563-2564
รายงานการดำเนินการด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2563-2564 หน่วยงานที่จัดทำ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2563-2564
“CHULALONGKORN UNIVERSITY SUSTAINABILITY REPORT 2020-2021” รายงานการดำเนินการด้านความยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2563-2564 หน่วยงานที่จัดทำ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลด: เอกสารอังกฤษได้ ที่นี่