SDG 6

Mar
28

Nature-based Solutions for Flood Management in Asia and the Pacific

เอกสาร “Nature-based Solutions for Flood Management in Asia and the Pacific” ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของแนวทางแก้ไขปัญหาอุทกภัยโดยมีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions: NbS) สำหรับการจัดการน้ำท่วมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เนื่องจากภูมิภาคนี้มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมรุนแรงมากขึ้นอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้วิธีการป้องกันน้ำท่วมแบบเดิมไม่เพียงพอ NbS นำเสนอแนวทางใหม่ที่ใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบตามธรรมชาติเพื่อลดความเสี่ยงจากน้ำท่วมและยังก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติม เช่น การอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า รายงานนี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการมีแนวทางที่ชัดเจนและกลไกการเงินเพื่อนำ NbS ไปใช้ในภูมิภาคนี้ได้อย่างเต็มที่   หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์การพัฒนาแห่งองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD Development Centre) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Mar 28 2024
รายงาน
DETAIL
Mar
23

UN World Water Development Report 2024: Water for Prosperity and Peace

รายงาน “The United Nations World Water Development Report 2024: Water for Prosperity and Peace” เน้นย้ำถึงความสำคัญของน้ำที่มีต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต โดยสำรวจศักยภาพของน้ำในการเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกันระหว่างน้ำ ความมั่งคั่ง และสันติภาพ   หน่วยงานที่จัดทำ:UN Water ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่

Mar 23 2024
รายงาน
DETAIL
Mar
01

Review on the Impacts of Climate Change on Rice Production and Cross- sectoral Transboundary Water Issues in the Lower Mekong Basin

รายงาน “Review on the Impacts of Climate Change on Rice Production and Cross- sectoral Transboundary Water Issues in the Lower Mekong Basin” ประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตข้าวและผลกระทบที่เกิดต่อการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Basin: LMB) ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญทางระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม รวมถึงเน้นย้ำความจำเป็นเร่งด่วนของความร่วมมือระดับภูมิภาคและกลยุทธ์การปรับตัวเชิงรุกเพื่อความยั่งยืนและความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของพื้นที่และผู้คนในระยะยาว   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่

Mar 01 2024
รายงาน
DETAIL
Feb
28

Global Waste Management Outlook 2024

รายงาน “Global Waste Management Outlook 2024” นำเสนอสถานการณ์วิกฤติขยะที่กำลังใกล้เข้ามา มีการคาดการณ์ว่าปริมาณขยะทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นสองเท่าภายในปี 2050 ส่งผลให้ต้นทุนการจัดการขยะจะเพิ่มขึ้นตามเป็นสองเท่า อย่างไรก็ตามต้นทุนนี้หลีกเลี่ยงได้ด้วยการลดปริมาณขยะอย่างจริงจังเท่านั้น รายงานเสนอแนวทางการเปลี่ยนไปสู่ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Circular Economy) ที่มองขยะเป็นทรัพยากร ไม่ใช่สิ่งของไร้ค่า ด้วยการควบคุมการเกิดขยะ ใช้แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน และการจัดการขยะที่ดีขึ้น   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment. Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Feb 28 2024
รายงาน
DETAIL
Nov
13

The Climate-changed Child

รายงาน “The Climate-changed Child” เป็นรายงานฉบับต่อยอดจากดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศสำหรับเด็ก (Children’s Climate Risk Index) ปี 2011 โดยมุ่งเน้นไปที่เด็ก ๆ ที่ต้องเผชิญภัยคุกตามจากภาวะน้ำขาดแคลนและภาวะเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ ควบคู่ไปกับการระบุถึงแนวทางสำคัญที่ประชาคมโลกต้องดำเนินการ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Nov 13 2023
รายงาน
DETAIL
Nov
07

Global Assessment Report: Special Report 2023 – Mapping Resilience for the Sustainable Development Goals

รายงาน “Global Assessment Report: Special Report 2023 – Mapping Resilience for the Sustainable Development Goals” ได้สำรวจว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยคำนึงถึงความเสี่ยง (risk-informed sustainable development) มีลักษณะอย่างไรในโลกที่ซับซ้อนและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเน้นไปที่การอธิบายความเชื่อมโยงของความเสี่ยงและการสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัว (resilience) กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายของรัฐบาลพร้อมเผชิญภัยที่ซับซ้อนมากขึ้นอันเป็นผลจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้นและภัยคุกคามอื่น ๆ นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ยังเน้นย้ำอีกว่าการสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวจะต้องเป็นศูนย์กลางในการวางกรอบการดำเนินงานวาระการพัฒนาหลังปี 2030   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่

Nov 07 2023
รายงาน
DETAIL
Sep
18

Progress on Children’s Well-Being: Centring Child Rights in the 2030 Agenda

รายงาน “Progress on Children’s Well-Being: Centring child rights in the 2030 Agenda” ศึกษาความก้าวหน้าของตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่เกี่ยวข้องกับเด็กทั้งหมด 48 ตัวชี้วัด โดยจัดหมวดหมู่ความเป็นอยู่ดีที่ของเด็กไว้ 5 ด้าน ได้แก่ (1) การอยู่รอดและการเจริญเติบโต (2) การเรียนรู้ (3) การปกป้องจากอันตราย (4) สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสะอาด และ (5) ชีวิตที่ปราศจากความยากจน พบว่ามีเด็กประมาณ 150 ล้านคน หรือเพียงร้อยละ 6 ของประชากรเด็กทั้งโลกเท่านั้นที่อาศัยอยู่ใน 11 ประเทศที่บรรลุเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กได้ถึงร้อยละ 50 ซึ่งถือเป็นระดับความสำเร็จสูงสุดที่เกิดขึ้นในระดับโลกขณะนี้   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่

Sep 18 2023
รายงาน
DETAIL
Sep
15

Tracking Progress on Food and Agriculture-related SDG Indicators 2023

รายงาน “Tracking progress on food and agriculture-related SDG indicators 2023” ติดตามความก้าวหน้าของตัวชี้วัด SDGs ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและการเกษตรใน SDGs ทั้งหมด 8 เป้าหมาย ได้แก่ SDG 1, 2, 5, 6, 10, 12, 14, และ 15 เน้นไปที่ความก้าวหน้าทางสถิติและประเด็นที่ต้องพัฒนาเพิ่ม โดยเป็นรายงานการประเมินของ FAO ฉบับแรกที่รวมตัวชี้วัดทั้งหมดที่มุ่งเป้าไปที่การบรรลุ SDG 2 ไม่เพียงเฉพาะตัวชี้วัดที่ FAO ดูแลเท่านั้น   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่

Sep 15 2023
รายงาน
DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP