SDG 5

Jul
05

การส่งเสริมสถานที่ทำงานให้มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อคนพิการในประเทศไทย

รายงาน “การส่งเสริมสถานที่ทำงานให้มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อคนพิการในประเทศไทย” (Promoting an Inclusive Workplace for Persons with Disabilities in Thailand) ฉายภาพสถานการณ์ปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของคนพิการในสถานที่ทำงาน ตลอดจนอุปสรรคในการจ้างงานที่มีคุณค่าของคนพิการ และให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติต่อทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการส่งเสริมสถานที่ทำงานที่เอื้อต่อผู้พิการและการจ้างงานที่มีคุณค่าของผู้พิการ     หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jul 05 2022
รายงาน
DETAIL
Sep
17

Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2021

รายงาน “Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2021” นำเสนอการวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของประเด็นความเท่าเทียมทางเพศในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย และเน้นย้ำถึงแนวโน้ม ช่องว่าง อุปสรรคของการทำงานเพื่อบรรลุความเท่าเทียมทางเพศภายในปีค.ศ. 2030 โดยรายงานฉบับนี้ยังคงแสดงความกังวลที่ยังไม่จางหายจากผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อความเป็นอยู่ของผู้หญิง รวมถึงภัยคุกคามที่จะมีต่อผู้หญิงในรุ่นต่อ ๆ ไปด้วย     หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women และ สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Sep 17 2021
รายงาน
DETAIL
Aug
15

อภิธานศัพท์สำหรับสื่อมวลชนเกี่ยวกับการย้ายถิ่น ว่าด้วยแรงงานหญิงข้ามชาติ และการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง

“อภิธานศัพท์สำหรับสื่อมวลชนเกี่ยวกับการย้ายถิ่น ว่าด้วยแรงงานหญิงข้ามชาติ และการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง (Media-friendly glossary on migration: Women migrant workers and ending violence against women (EVAW) edition)” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางสำหรับสื่อมวลชน นักวิจัย ผู้ฝึกอบรม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ซึ่งดำเนิน การฝึกอบรมหรือผู้เขียนเกี่ยวกับการย้ายถิ่นของแรงงานหญิง และความรุนแรงต่อผู้หญิงในบริบทของการย้ายถิ่น     หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และเอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Aug 15 2021
คู่มือ
DETAIL
Apr
14

State of World Population 2021

– Claiming the right to autonomy and self-determination รายงานนี้เป็นฉบับแรกที่เน้นประเด็นเรื่องสิทธิเหนือเรือนร่างของตนเอง โดยเฉพาะของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง โดยไม่กังวลต่อการตัดสินจากผู้อื่นหรือหวาดกลัวต่อความรุนแรง เพราะหากไร้ซึ่งสิทธิดังกล่าว ย่อมจะกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้หญิงและเด็กหญิง รวมถึงผลิตภาพทางเศรษฐกิจ ทักษะในการทำงาน เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อการบริการสาธารณสุข และทำให้กลายเป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับระบบยุติธรรม รายงานรายปี State of World Population จัดทำโดยกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) เผยแพร่มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 เป็นรายงานที่เน้นประเด็นใหม่ด้านความท้าทายและโอกาสของสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ในการพัฒนาระหว่างประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Apr 14 2021
รายงาน
DETAIL
Jan
21

Advancing SDG 5 in Asia and the Pacific: An analysis of Beijing+25 National Review Reports

รายงาน “Advancing SDG 5 in Asia and the Pacific: An analysis of Beijing+25 national review reports” ประกอบด้วยบทสรุปความท้าทาย ความสำเร็จ และคีย์สำคัญในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศและสริมอำนาจของเพศหญิง นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่แต่ละประเทศควรดำเนินการในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยมีเป้าหมายที่จะเร่งให้เบรรลุความเท่าเทียมทางเพศในระดับภูมิภาค   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 21 2021
รายงาน
DETAIL
Oct
09

เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิง (SDG 5: Gender equality)

การยุติการเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิงเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ รวมทั้งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน โดยการเสริมสร้างบทบาทของผู้หญิงและเด็กหญิงจะช่วยสนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ แม้ในปัจจุบันจะมีเด็กผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น และมีจำนวนผู้หญิงในตลาดแรงงานมากขึ้น แต่ยังคงมีความไม่เสมอภาคระหว่างเพศในการเข้าถึงสิทธิแรงงานและค่าจ้าง นอกจากนี้ ความรุนแรงและการละเมิดทางเพศ รวมทั้งการทำงานบ้านและงานที่ไม่ได้รับค่าจ้าง และการเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิง ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในการบรรลุเป้าหมาย ดังนั้น การส่งเสริมให้ผู้หญิงมีสิทธิเท่าเทียมในการถือครองที่ดินและทรัพย์สิน ตลอดจนเข้าถึงสิทธิสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมทั้งเข้าถึงเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต จึงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญให้บรรลุเป้าหมายความเท่าเทียมทางเพศ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Jun
30

State of World Population 2020

– Defying the practices that harm women and girls and undermine equality รายงานฉบับนี้อธิบายสถานการณ์ของเด็กผู้หญิงที่เผชิญกับการปฏิบัติซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ โดยที่ครอบครัว เพื่อน และชุมชนต่างรับรู้แต่กลับมองว่าเป็นเรื่องปกติในสังคม สถานการณ์เช่นนี้เป็นการปิดกั้นโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา สิทธิในอนามัยเจริญพันธุ์ และการใช้สิทธิเพื่อปกป้องตนเองของเด็กผู้หญิง รายงานรายปี State of World Population จัดทำโดยกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) เผยแพร่มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 เป็นรายงานที่เน้นประเด็นใหม่ด้านความท้าทายและโอกาสของสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ในการพัฒนาระหว่างประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jun 30 2020
รายงาน
DETAIL
Apr
10

State of World Population 2019

– Unfinished Business: the pursuit of rights and choices FOR ALL รายงานฉบับนี้เป็นการสะท้อนความสำเร็จหลักในด้านสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ โดยปี 2562 ถือเป็นการครบรอบ 50 ปีการดำเนินงานของกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ และครบรอบ 25 ของการประชุมนานาชาติว่าด้วยเรื่องประชากรและการพัฒนา 1994 (International Conference on Population and Development – ICPD) รายงานรายปี State of World Population จัดทำโดยกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) เผยแพร่มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 เป็นรายงานที่เน้นประเด็นใหม่ด้านความท้าทายและโอกาสของสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ในการพัฒนาระหว่างประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Apr 10 2019
รายงาน
DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP