Social Protection in the Digital Age: A Summary of the Human Rights Risks of Digital Technologies in Social Protection Systems
เอกสาร “Social Protection in the Digital Age: A Summary of the Human Rights Risks of Digital Technologies in Social Protection Systems” นำเสนอสรุปงานวิจัยแนวโน้มการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบสวัสดิการสังคมทั่วโลก และเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องมีกระบวนการที่โปร่งใสและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ดีขึ้น บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้เกิดความกระจ่างในประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เพิ่งเกิดขึ้น และเสนอแนะแนวทางแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลดหย่อนภัยคุกคามดังกล่าว หน่วยงานที่จัดทำ: Amnesty International ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Progress 2023: Periodic Global Report on the State of Solutions to Internal Displacement
รายงาน “Progress 2023: Periodic Global Report on the State of Solutions to Internal Displacement” เป็นรายงานการวิเคราะห์สถานะของการแก้ปัญหาการพลัดถิ่นภายในประเทศ (Internal Displacement) ที่เกิดขึ้นทั่วโลกอย่างครอบคลุม โดยให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสที่ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศต้องเผชิญจากกลุ่มประเทศนำร่อง 15 ประเทศ ประกอบด้วยอัฟกานิสถาน, สาธารณรัฐอัฟริกากลาง, ชาด, โคลอมเบีย, เอธิโอเปีย, อิรัก, ลิเบีย, โมซัมบิก, ไนเจอร์, ไนจีเรีย, โซมาเลีย, ซูดานใต้, ซูดาน, วานูอาตู และเยเมน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
มาตรฐานแนวทางปฏิบัติของภาคธุรกิจเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อเลสเบียน (หญิงรักหญิง) เกย์ (ชายรักชาย) ไบ (คนรักสองเพศ) ทรานส์ (คนข้ามเพศ) และอินเตอร์เซกส์ (บุคคลที่มีเพศสรีระทางชีววิทยาไม่ชัดเจน)
เอกสาร “มาตรฐานแนวทางปฏิบัติของภาคธุรกิจเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อเลสเบียน (หญิงรักหญิง) เกย์ (ชายรักชาย) ไบ (คนรักสองเพศ) ทรานส์ (คนข้ามเพศ) และอินเตอร์เซกส์ (บุคคลที่มีเพศสรีระทางชีววิทยาไม่ชัดเจน)” เป็นฉบับแปลภาษาไทยของเอกสาร “Standards of Conduct for Business: Tackling Discrimination against Lesbian, Gay, Bi, Trans, & Intersex People” จัดทำขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นเครื่องมือชี้แนะแนวทางการส่งเสริมความเสมอภาคและการต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่ม LGBTI ในสถานประกอบการสำหรับภาคธุรกิจ โดยยึดหลักสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ (1) เคารพสิทธิมนุษยชน (2) ยุติการเลือกปฏิบัติ (3) สนับสนุนชุมชน LGBTI (4) ป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ และ (5) มีบทบาทในภาคสาธารณะ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) และ UNDP ร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่
Global Progress Report on Sustainable Development Goal 16 Indicators: A Wake-Up Call for Action on Peace, Justice and Inclusion
รายงาน “Global Progress Report on Sustainable Development Goal 16 Indicators: A Wake-Up Call for Action on Peace, Justice and Inclusion” นำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลล่าสุดของตัวชี้วัดในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 16 ซึ่งได้สะท้อนให้เห็นว่าประชาคมโลกไปไม่ถึงเป้าหมายตามคำมั่นสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นและความเหลื่อมล้ำกันยังคงเป็นอุปสรรคต่อการตัดสินใจทางด้านนโยบายที่ครอบคลุม และการเกิดคอร์รัปชันกัดกร่อนสัญญาประชาคม โดยใช้ข้อมูลจากหน่วยงานสหประชาชาติหลายแห่งที่รับผิดชอบตัวชี้วัดและฐานข้อมูล SDG Global Database หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) และสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on Children’s Well-Being: Centring Child Rights in the 2030 Agenda
รายงาน “Progress on Children’s Well-Being: Centring child rights in the 2030 Agenda” ศึกษาความก้าวหน้าของตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่เกี่ยวข้องกับเด็กทั้งหมด 48 ตัวชี้วัด โดยจัดหมวดหมู่ความเป็นอยู่ดีที่ของเด็กไว้ 5 ด้าน ได้แก่ (1) การอยู่รอดและการเจริญเติบโต (2) การเรียนรู้ (3) การปกป้องจากอันตราย (4) สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสะอาด และ (5) ชีวิตที่ปราศจากความยากจน พบว่ามีเด็กประมาณ 150 ล้านคน หรือเพียงร้อยละ 6 ของประชากรเด็กทั้งโลกเท่านั้นที่อาศัยอยู่ใน 11 ประเทศที่บรรลุเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กได้ถึงร้อยละ 50 ซึ่งถือเป็นระดับความสำเร็จสูงสุดที่เกิดขึ้นในระดับโลกขณะนี้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
World Public Sector Report 2023
รายงาน “World Public Sector Report 2023” นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของภาครัฐในระดับโลก ภายใต้ธีม Transforming institutions to achieve the Sustainable Development Goals after the pandemic เพื่อศึกษาบทบาทของนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงด้านสถาบันและการกำกับดูแลที่เกิดขึ้นอันเป็นผลจากการระบาดของโควิด-19 ในระดับประเทศ ในการส่งเสริมความก้าวหน้าสู่วาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน ค.ศ. 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Asia-Pacific Migration Data Report 2022
“รายงาน “”Asia-Pacific Migration Data Report 2022″” รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการโยกย้ายถิ่นฐานล่าสุด และข้อมูลเชิงลึกในด้านแนวโน้มต่างๆ ที่สังเกตการณ์ได้ตลอดปี 2022 ซึ่งแม้ว่าการระบาดของโควิด-19 จะไม่ใช่แรงขับเคลื่อนหลักของการโยกย้ายถิ่นฐานอีกต่อไป แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นยังคงทิ้งผลลัพธ์ทางอ้อมไว้ต่อผู้อพยพทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รายงานข้อมูลการโยกย้ายถิ่นฐานเอเชีย-แปซิฟิกฉบับนี้เป็นรายงานฉบับที่สาม ที่จัดทำมาต่อเนื่องประจำปีนับตั้งแต่ปี 2020″ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2565
รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปีพ.ศ. 2565 (Thailand SDGs 16 Progress Report 2022) รวบรวมข้อมูลและผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 16 ประกอบด้วยผลการดำเนินงานผ่านโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้ภารกิจของแต่ละหน่วยงานด้านการพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทยและข้อมูลสถิติตามตัวชี้วัด SDG16 จำนวน 24 ตัวชี้วัด หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่