SWU Sustainable Development Goals Report 2021
January 1, 2021รายงานการดำเนินการด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปี พ.ศ. 2564 หน่วยงานที่จัดทำ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: SWU Sustainable Development Goals Report 2018 SWU Sustainable Development Goals Report 2019 SWU Sustainable Development Goals Report 2020 Stronger Collaboration for an Equitable and Resilient Recovery Towards the Health-related Sustainable Development Goals: 2021 Progress Report on the Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being […]
ชุดเอกสาร Inner Development Goals
January 1, 2021ชุดเอกสาร “Inner Development Goals” หรือ “เป้าหมายการพัฒนาภายใน” นำเสนอกรอบทักษะสำคัญสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจัดทำเป็นคู่มือซึ่งจะเผยแพร่แบบโอเพนซอร์สให้ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้ฟรี กรอบการทำงานของ Inner Development Goals นั้นประกอบด้วย 5 มิติและ 23 ทักษะ คุณลักษณะ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้นำในการขับเคลื่อนป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และทุกคน กรอบการทำงานนี้เปรียบเสมือนตัวเร่งที่ทรงพลังในการบรรลุ SDGs เและสร้างอนาคตที่ดีให้กับมวลมนุษยชาติ หน่วยงานที่จัดทำ: Inner Development Goals Initiative ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: UNESCO Strategy on Health and Well-Being: Contributing to the Sustainable Development Goals Achieving the Sustainable Development Goals through Tourism – Toolkit of Indicators […]
การประเมินผลการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ROAM-X ของยูเนสโก
January 1, 2021รายงาน “Assessing internet development in Thailand: using UNESCO’s Internet Universality ROAM-X Indicators” หรือ “การประเมินผลการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ROAM-X ของยูเนสโก” เสนอผลประเมินความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัด ROAM-X ของยูเนสโก ผ่านการศึกษาบทสัมภาษณ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ การทบทวนงานเขียน และข้อคิดเห็นจากรัฐบาล ภาคประชาสังคม และตัวแทนภาคธุรกิจ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: Sustainable Development Report 2021 Joint external evaluation of IHR core capacities of Libya […]
Building Agricultural Resilience to Natural Hazard-induced Disasters
January 1, 2021Insights from country case studies รายงานโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ร่วมกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) แนะนำแนวทางการจัดการผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีต่อภาคเกษตรกรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เข้ามาเป็นตัวเร่งให้ผลกระทบเหล่านี้รุนแรงขึ้นจนไม่สามารถดำเนินการอย่างที่เคยทำมาได้ รายงานฉบับนี้เป็นการรวบรวม 7 กรณีศึกษาจากประเทศชิลี อิตาลี ญี่ปุ่น นามิเบีย นิวซีแลนด์ ตุรกี และสหรัฐอเมริกา ที่รัฐบาลรวมถึงเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในการจัดการความเสี่ยง ป้องกัน ลดผลกระทบ และฟื้นฟูให้ภาคเกษตรกรรมมีภูมิต้านทานต่อภัยพิบัติ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: The Impact of Disasters and Crises on Agriculture and Food Security: 2021 Agricultural Trade & Policy Responses During the First Wave of […]
Climate Resilient Practices – Typology and Guiding Material for Climate Risk Screening
January 1, 2021การมีภูมิต้านทานตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate resilience) เป็นแนวคิดพื้นฐานของการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ รายงานฉบับนี้หยิบยกตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีของภาคเกษตร ที่หมายรวมถึงพืชผล การปศุสัตว์ การป่าไม้ และการประมง ว่าจะสามารถเสริมขีดความสามารถและเตรียมพร้อมระบบเกษตรกรรมให้สามารถปรับตัวและฟื้นกลับจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ผู้อ่านสามารถนำรายงานฉบับนี้ไปใช้เป็นข้อมูลประกอบ หรือเป็นแนวทางในการระบุชี้/ตรวจสอบความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศตั้งแต่ตอนต้นของการออกแบบและการผลักดันโครงการที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก (The Climate Crisis is a Child Rights Crisis: Children’s Climate Risk Index) SDG Good Practices: A Compilation of Success Stories and Lessons Learned in SDG Implementation – Second Edition 2030 Recommendations of the […]
Agricultural Trade & Policy Responses During the First Wave of the COVID-19 Pandemic in 2020
January 1, 2021รายงานสำรวจดูนโยบาย มาตรการ และรูปแบบการค้าสินค้าเกษตรของประเทศต่าง ๆ ในห้วงขณะการระบาดของโควิด-19 เพราะอุปสงค์และอุปทานด้านสินค้าเกษตรและสินค้าอาหาร ได้รับผลกระทบจากระบบการค้าในโลกเนื่องมาจากโรคระบาด ตัวอย่างมาตรการมีอาทิ การจำกัดการส่งออก การกำหนดมาตรการของตลาดภายในประเทศ โดยมาตรการใดที่เป็นการดำเนินการฝ่ายเดียวสามารถส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของส่วนอื่นในโลกได้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Sustainable and Circular Textile Value Chains: Linkages with Trade and Trade Policy – Case Study: Thailand Implications of the COVID-19 Pandemic for Commercial Contracts Covering the Transportation of Goods in the Asia-Pacific Region and Beyond Building Agricultural […]
Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda SDG 7 Roadmap for Georgia
December 29, 2020รายงาน “Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda SDG 7 Roadmap for Georgia” นำเสนอผลการดำเนินงานเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของประเทศจอร์เจีย โดยใช้เครื่องมือ National Expert SDG Tool for Energy Planning (NEXSTEP) ซึ่งออกแบบโดย ESCAP ในการกำหนดนโยบายสามารถตัดสินใจการออกนโยบายได้ที่เหมาะสม รวมถึงเป็นการช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน #SDG7 ซึ่งรวมไปถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ (NDCs) ด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda SDG […]
Regional Energy Trends Report 2020: Tracking SDG 7 in the ASEAN Region
December 16, 2020รายงาน “Regional Energy Trends Report 2020 : Tracking SDG 7 in the ASEAN Region” รายงานแนวโน้มการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียนที่สูงขึ้น ทำให้ผู้กำหนดนโยบายต้องเผชิญกับความท้าทาย ในการสร้างความสมดุลนโยบายต่อโลก ภูมิภาค ประเทศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน รายงานฉบับนี้ได้ติดตามความคืบหน้าของภูมิภาคอาเซียนในการจัดให้มีการเข้าถึงไฟฟ้าอย่างทั่วถึง รวมถึงส่วนแบ่งการใช้พลังงานหมุนเวียนแบบผสมที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ประเทศในภูมิภาคอาเซียนถูกจัดเป็นภูมิภาคที่มีความเข้มข้นในการใช้พลังงานในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานในภูมิภาคนี้ยังคงช้าเกินไปในหลาย ๆ กรณีในการที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน #SDG7 ในปี ค.ศ. 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: SDG 7 Localization: Affordable and Clean Energy […]
GCED learning and assessment: An Analysis of Four Case Studies in Asia
December 10, 2020เอกสาร “GCED learning and assessment: an analysis of four case studies in Asia” รวมกรณีตัวอย่างวิธีการบูรณาการ Global Citizenship Education (GCED) เข้ากับระบบการศึกษาในประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ได้แก่ ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลี และเวียดนาม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถที่มีประโยชน์สำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเพื่อสร้างสังคมที่มีความสันติสุข ครอบคลุมและยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: GCED: Taking It Local in Asia-Pacific – A Regional Study on GCED Localization and Challenges […]
Understanding GCED in Asia-Pacific: A How-to Guide for ‘Taking It Local’
December 10, 2020เอกสาร “Understanding GCED in Asia-Pacific: A How-to Guide for ‘Taking It Local” เป็นคู่มือที่จะทำให้นักการศึกษา ผู้กำหนดนโยบาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship Education: GCED) ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในภูมิภาค อันเป็นองค์ประกอบหลักประการหนึ่งของ GCED ที่จะสามารถนำไปสู่การสังคมที่สงบสุข ครอบคลุม และยั่งยืนมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Multi-stakeholder Approaches to Education for Sustainable Development in Local Communities: Towards Achieving the SDGs […]
Europe Sustainable Development Report 2020
December 8, 2020รายงาน “Europe Sustainable Development Report 2020” เป็นฉบับที่ 2 ที่รายงานเกี่ยวกับความคืบหน้าของสหภาพยุโรปและกลุ่มสมาชิกในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนายั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Institute for European Environmental Policy ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: 2019 Europe Sustainable Development Report Sustainable Development Report 2020 World Health Statistics 2020: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs) 2019 US Cities Sustainable Development Report
Global Wage Report 2020-21: Wages and minimum wages in the time of COVID-19
December 2, 2020รายงานฉบับนี้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแสดงสถานการณ์และแนวโน้มของค่าจ้างแรงงานในระดับโลก และภูมิภาค โดยฉบับ 2020/21 นอกจากจะช่วยแสดงแนวโน้มของค่าแรงโดยภาพรวม ยังมุ่งเน้นไปที่การกำหนดค่าจ้างแรงงานขึ้นต่ำ ผลกระทบจากโควิด – 19 และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Wage Report 2008/09: Minimum wages and collective bargaining: Towards policy coherence Global Wage Report 2012/13: Wages and Equitable Growth Global Wage Report 2014 / 15 Wages and income inequality Global Wage Report 2010/11: Wage policies […]
Atlas of Sustainable Development Goals 2020
November 26, 2020Atlas of Sustainable Development Goals 2020 หรือ แผนที่สถานการณ์ความก้าวหน้า SDGs จากธนาคารโลก นำเสนอภาพแนวโน้มในการบรรลุ SDGs รวมถึงหลักการในการวัดผลตัวชี้วัดและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 ต่อความก้าวหน้าในบางประเด็นที่มีข้อมูล ผ่านการเล่าเรื่องที่ทำให้เราสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้ (interactive storytelling) และมีการออกแบบข้อมูลเป็นภาพ (data visualization) ที่ดึงดูดความสนใจ มาเพื่ออธิบายประเด็นที่ซับซ้อนทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้เข้าใจง่ายขึ้นได้ หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World bank) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Municipal Atlas of the SDGs in Bolivia 2020 World Health Statistics 2020: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs) Sustainable […]
WHO Technical Guidance Notes on Sendai Framework Reporting for Ministries of Health
October 30, 2020คู่มือ “WHO technical guidance notes on Sendai framework reporting for ministries of health” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ภาคสาธารณสุข โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกับบทบาทที่จะต้องเก็บรวบรวมและรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแต่ละเป้าประสงค์ 7 ประการของกรอบปฏิญญาเซนได (Sendai Framework targets) ตลอดจนกรอบการทำงานอื่น อาทิ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: International Health Regulations (2005): Guidance Document for the State Party Self-assessment Annual Reporting Tool Operational Framework for Building Climate Resilient and […]
Guide to Sustainable Tourism. Challenges and Criteria for Evaluation in the Tourism Sector
October 25, 2020คู่มือ “Guide to Sustainable Tourism. Challenges and Criteria for Evaluation in the Tourism Sector” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือใช้ประเมินการดำเนินงานของภาคการท่องเที่ยวต่อ SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย และให้สถานที่ท่องเที่ยวและธุรกิจการท่องเที่ยวจะสามารถตรวจสอบตนเองได้ว่าดำเนินงานสอดคล้องเป็นไปตามข้อกำหนดที่จำเป็นเพื่อให้เกิดความยั่งยืนแล้วหรือไม่ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network (Spain) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: International Health Regulations (IHR): Joint External Evaluation (JEE): Country Implementation Guide Reflect–Share–Act: A Guide to Community-based Education for Sustainable Development GCED: Taking It […]
ASEAN SDG Indicators Baseline Report 2020
October 23, 2020รายงาน “ASEAN SDG Indicators Baseline Report 2022” เป็นรายงานเรื่องตัวชี้วัด SDGs ฉบับแรกของอาเซียนที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลฐาน (baseline information) ของติดตามและวัดผล การดำเนินการบรรลุ SDGs ในภูมิภาค และจะช่วยสนับสนุนการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค รายงานฉบับนี้นำเสนอข้อมูลของรัฐสมาชิกอาเซียนที่รวบรวมได้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559-2561 หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: ASEAN SDG Baseline Regional Energy Trends Report 2020: Tracking SDG 7 in the ASEAN Region The 2022 ASEAN SDG Snapshot Report การประเมินผลการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ROAM-X ของยูเนสโก
เป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG 17: Partnerships for the goals)
October 12, 2020ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเชื่อมต่อกันมากขึ้นการส่งเสริมให้มีการเข้าถึงเทคโนโลยีและความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการแลกเปลี่ยนความคิดและเอื้อให้เกิดการสร้างนวัตกรรม นอกจากนี้ การประสานงานด้านนโยบายเพื่อช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนามีความสามารถในการบริหารจัดการหนี้ รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด มีความสำคัญต่อการพัฒนาและการเติบโตอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 17 มุ่งมั่นที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา (North-South) และความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (South-South) โดยการสนับสนุนแผนระดับชาติเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มอัตราการส่งออกล้วนเป็นองค์ประกอบของการมีระบบการค้าซึ่งอยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์สากล มีความเสมอภาค ยุติธรรม เปิดกว้าง และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ (SDG 1: No Poverty) เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action)
เป้าหมายที่ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก (SDG 16: Peace, justice and strong institutions)
October 12, 2020สันติภาพ ความสงบสุข ความมั่นคง สิทธิมนุษยชน และการปกครองที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของหลักนิติธรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม บางภูมิภาคในโลกยังตกอยู่ในวงจรของความขัดแย้งและความรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อการพัฒนาประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ในภาวะความขัดแย้งที่ขาดการเคารพในหลักนิติธรรม ยังมีแนวโน้มของการเกิดความรุนแรงทางเพศ อาชญากรรม และการแสวงผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ สูงขึ้น เป้าหมายที่ 16 มุ่งมั่นที่จะลดความรุนแรงทุกรูปแบบ และเสริมสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและชุมชนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความไม่มั่นคงอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งเสริมหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน การลดอาวุธผิดกฎหมาย และสนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมในสถาบันธรรมาภิบาลระดับโลก หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย (SDG 2: Zero Hunger) เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8: Decent work and economic growth) เป้าหมายที่ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน (SDG 9: Industry innovation […]
เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน (SDG 15: Life on land)
October 12, 2020ระบบนิเวศบนบกมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เช่นเดียวกับระบบนิเวศทางทะเล กว่าร้อยละ 80 ของอาหารมนุษย์มาจากพืช และมนุษย์พึ่งพาการเกษตรเป็นแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่สำคัญ นอกจากนี้ ป่าไม้ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญของสิ่งมีชีวิตนับล้านชนิด รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำและอากาศที่สะอาด และมีความสำคัญต่อการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ในทุกๆ ปี เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่ากว่า 13 ล้านเฮกเตอร์ (ประมาณ 81 ล้านไร่) ทั่วโลก และการเสื่อมโทรมของที่ดินส่งผลให้เกิดการกลายเป็นทะเลทรายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่ยากจนทั่วโลก การลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เป้าหมายที่ 15 มุ่งอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน สนับสนุนให้มีการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนและแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อลดความสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งดำเนินการให้มีความมั่นคงทางอาหารและน้ำ และสร้างศักยภาพในด้านการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: Life below water) เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ (SDG 1: No Poverty) เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย […]
เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: Life below water)
October 12, 2020ผู้คนกว่าสามพันล้านคนใช้ชีวิตขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและชายฝั่ง แต่ในปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่า 30% ของปลาทะเลของโลกได้ถูกใช้ไปเกินขนาด ซึ่งต่ำกว่าระดับที่พวกเขาสามารถผลิตผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้ได้ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สร้างกรอบการทำงานเพื่อการจัดการอย่างยั่งยืนและปกป้องระบบนิเวศทางชายฝั่งและทางทะเลจากภาวะมลพิษจากแหล่งบนบก ตลอดจนจัดการปัญหาผลกระทบของการเป็นกรดของมหาสมุทร เสริมสร้างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของทรัพยากรทะเลผ่านกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นกับมหาสมุทร หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและการสุขาภิบาลที่ยั่งยืน (SDG 6: Clean water and sanitation) เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน (SDG 15: Life on land) เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action)