Sorting:
Sort Descending
  • Reducing Inequality in the Decade of Action to Achieve the SDGs and Accelerate Post-pandemic Recovery

    บทสรุปเชิงนโยบาย “Reducing Inequality in the Decade of Action to Achieve the SDGs and Accelerate Post-pandemic Recovery” ให้ความสำคัญและขยายความแนวทางการลดความเหลื่อมล้ำในภูมิภาคอาเซียนเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง นอกจากนี้ บทความนี้ยังกล่าวถึงผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำต่อประชากรในมิติต่าง ๆ ครอบคลุมประเด็นสำคัญ 5 ประเด็น ได้แก่ งาน สวัสดิการสังคม การศึกษา สาธารณสุข และความมั่นคงทางอาหาร โดยบทสรุปเชิงนโยบายนี้เป็นผลลัพธ์จากการหารือบนเวทีการประชุมเชิงวิชาการอาเซียน-จีน-UNDP ครั้งที่ 6 เกี่ยวกับ SDGs     หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Women as Agents of Change for Greening […]

  • Asia-Pacific Migration Data Report 2021

    รายงาน “Asia–Pacific Migration Data Report 2021” รวบรวมหลักฐานล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์การย้ายถิ่นฐานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปีพ.ศ. 2564 โดยเสนอผ่านเลนส์ของการฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และภายใต้วิกฤตการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอัฟกานิสถานและเมียนมา และผลกระทบที่เด่นชัดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Asia-Pacific Migration Data Report 2022 Migration Governance Insights: Informing People-centred Migration Policies Asia and the Pacific SDG Progress Report 2021 Climate Change, Environmental Degradation and International Labour Migration in Asia: Exploring the Role […]

  • SDG Investor Map Thailand 2022

    โครงการ “แผนท่ีการลงทุนสู่เป้าหมายการพัฒนา ท่ียั่งงยืน” (SDG Investor Maps) ได้พัฒนาแพลตฟอร์มการลงทุนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Investor Platform) เพื่อเป็นเครื่องมือหลักในการนำเสนอโอกาสด้านการลงทุน (Investment Opportunity Area: IOA) ในธุรกิจท่ีสามารถตอบ โจทย์การพัฒนาท่ียั่งยืนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย โดยเป็นการนำเสนอข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนต่าง ๆ อาทิ โอกาสทางการตลาด ผลตอบแทนจากการลงทุน ผลประโยชน์ด้านความยั่งยืนที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงความเสี่ยงท่ีเกี่ยวข้อง โดยเป็นความร่วมมือระหว่างโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ดาวน์โหลด: รายงานภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2561 (2018 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for […]

  • คู่มือสถาปัตยกรรมเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ 17 ประการ ฉบับภาษาไทย

    “คู่มือสถาปัตยกรรมเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ 17 ประการ ฉบับภาษาไทย” (AN ARCHITECTURE GUIDE to the UN 17 Sustainable Development Goals (THAI VERSION) ให้ตัวอย่างสถาปัตยกรรมในประเทศไทยที่การออกแบบอย่างมีปฏิสัมพันธ์ต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้ง 17 เป้าหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้พื้นฐานของการมีสภาพแวดล้อมสรรค์สร้างที่สามารถสนับสนุน SDGs แต่ละเป้าหมายอย่างไร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมสีเขียวและยั่งยืนที่ดีที่สุดในบริบทของประเทศไทย   หน่วยงานที่จัดทำ: มูลนิธิอาคารเขียวไทย ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่ Related posts: International Health Regulations (2005): Guidance Document for the State Party Self-assessment Annual Reporting Tool คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action) Practical Guide to Data […]

  • Global Employment Trends for Youth 2022: Investing in Transforming Futures for Young People

    รายงาน “Global Employment Trends for Youth 2022: Investing in transforming futures for young people” นำเสนอข้อมูลว่าผลกระทบของโควิด-19 ที่ทำให้เยาวชนอายุ 15 – 24 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเเรงงงานเยาวชนหรือแรงงานใหม่เผชิญกับภาวะว่างงานที่สูงกว่ามากเมื่อเทียบกับแรงงานสูงอายุ และผลกระทบตกอยู่กับแรงงานวัยรุ่นหญิงมากกว่าวัยรุ่นชาย   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: ข้อคิดเห็นของเยาวชนและนายจ้างเกี่ยวกับโอกาสในการมีงานทำของเยาวชนไทย (Voices of youth and employers on youth employability in Thailand) World Employment and Social Outlook: Trends 2018 World Employment and Social Outlook: […]

  • รายงานดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2564

    รายงาน “รายงานดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2564” เป็นรายงานประจำปีที่นำเสนอและเผยแพร่ดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human Achievement Index: HAI) พร้อมผลการวิเคราะห์และการประเมินความก้าวหน้าของคนในระดับประเทศ ภาค และจังหวัดของไทย ผ่านกรอบแนวคิดการวิเคราะห์หลายด้าน ครอบคลุมดัชนีย่อยในประเด็น ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ชีวิตการงาน เศรษฐกิจ ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม ชีวิตครอบครัวและชุมชน การคมนาคมและการสื่อสาร และการมีส่วนร่วม   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2563-2564 รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2564-2565 รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2564 (2021 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda […]

  • รายงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565

    “รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย: มุมมองจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565 (Thailand Sustainable Development Report 2022: TSDF Report)” พัฒนาจากผลของการระดมความคิดเห็นของภาคส่วนที่ดำเนินงาน SDGs ผ่านกระบวนการสังเคราะห์และเรียบเรียงประเด็นที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคมของประเทศไทย เพื่อสะท้อนให้เห็นภาพการเชื่อมโยง 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงระดับฐานรากเข้าด้วยกัน   หน่วยงานที่จัดทำ: เครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย (Sustainable Development Solutions Network (SDSN) Thailand) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2564-2565 เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2565 In the Red: the US Failure to Deliver on a Promise […]

  • Sustainable Development Goals Report 2022

    รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2022 นำเสนอความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมายและเส้นทางที่ยังเหลืออยู่ รายงานประจำปีฉบับที่ 7 นี้ยังพิจารณาแนวโน้มความก้าวหน้านับตั้งแต่ปี 2015 และผลกระทบของ COVID-19 ที่ทำให้เห็นว่าวิกฤตที่ลดหลั่นกันและเชื่อมโยงกันในหลายมิติทำให้การดำเนินการเพื่อวาระ 2030 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความท้าทายรุนแรง เช่นเดียวกับโอกาสในความอยู่รอดของมนุษยชาติ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Report on Food Crises 2022 Stronger Collaboration for an Equitable and Resilient Recovery Towards the Health-related Sustainable Development Goals: 2021 Progress Report on the Global Action Plan for Healthy […]

  • การส่งเสริมสถานที่ทำงานให้มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อคนพิการในประเทศไทย

    รายงาน “การส่งเสริมสถานที่ทำงานให้มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อคนพิการในประเทศไทย” (Promoting an Inclusive Workplace for Persons with Disabilities in Thailand) ฉายภาพสถานการณ์ปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของคนพิการในสถานที่ทำงาน ตลอดจนอุปสรรคในการจ้างงานที่มีคุณค่าของคนพิการ และให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติต่อทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการส่งเสริมสถานที่ทำงานที่เอื้อต่อผู้พิการและการจ้างงานที่มีคุณค่าของผู้พิการ     หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: 2019 US Cities Sustainable Development Report Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Republic of Senegal Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda: SDG7 Roadmap for Indonesia Global Report on […]

  • Business Reporting on the SDGs: An Analysis of the Goals and Targets

    Business Reporting on the SDGs: An Analysis of the Goals and Targets เป็นแนวทางเเนะนำ (guidance) ฉบับปรับปรุงล่าสุดปี 2022 เพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ใช้สำหรับบูรณาการ SDGs เข้ากับกระบวนการรายงานความยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์เเก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเปรียบเทียบและใช้งานข้อมูลได้สะดวกขึ้น   หน่วยงานที่จัดทำ: Global Reporting Initiative (GRI) และ UN Global Compact (UNGC) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: SDG Compass คู่มือการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ SDGs Hygiene: UN-Water GLAAS Findings on National Policies, Plans, Targets and Finance Advancing SDG 5 in […]

  • Thailand & Sustainable Development Goals guided by Sufficiency Economy Philosophy (SEP) and accelerated through BCG Economic Model

    เอกสาร “Thailand & Sustainable Development Goals guided by Sufficiency Economy Philosophy (SEP) and accelerated through BCG Economic Model” นำเสนอกรอบแนวทางของประเทศไทยในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ขับเคลื่อนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) และเร่งรัดความสำเร็จผ่านโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) แยกตามรายมิติ ทั้ง 5 มิติ ได้แก่ มิติสังคม (People) มิติเศรษฐกิจ (Prosperity) มิติสิ่งแวดล้อม (Planet) มิติสันติภาพและสถาบัน (Peace) และมิติหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership)     หน่วยงานที่จัดทำ: กระทรวงการต่างประเทศ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Thailand’s BCG Transformation – 40 case studies on […]

  • Circular Economy Policy Forum Report 2022 ภายใต้โครงการบูรณาการและขับเคลือนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

    รายงาน “Circular Economy Policy Forum Report 2022” รวบรวบและประมวลข้อมูลเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ได้จากการประชุมหารือภายใต้โครงการบูรณาการและขับเคลื่อนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือโครงการ Circular Economy Innovation Policy Forum ภายใต้ข้อตกลงบันทึกความร่วมมือ “โครงการพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน” ระหว่างสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กับ สมาคมส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (ประเทศไทย) กิจกรรม โครงการฯ เริ่มดำเนิน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนา Circular Economy Innovation Forum ให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และระดมความคิดเห็นให้เกิดการตั้งประเด็น (Agenda) เพื่อระดมความคิดในการเสนอแนะเชิงนโยบายในการบูรณาการและขับเคลื่อนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และสมาคมส่งเสริมการผลิตและการบริโภคทียังยืน (ประเทศไทย) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่ Related posts: Thailand’s BCG Transformation – 40 case […]

  • รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2564

    “รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2564” เป็นรายงานประจำปีที่ติดตามสถานการณ์และสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศไทย ทั้งในเชิงประเด็น เชิงกลุ่มเป้าหมาย และเชิงพื้นที่ ใช้ข้อมูลทางสังคมทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และระดับประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้มีอำนาจในการวิเคราะห์ทิศทางสำหรับการกำหนดนโยบายพัฒนาสังคมของประเทศไทยในอนาคต     หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่     Related posts: รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2565 รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2564 (2021 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development) รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2564 รายงานดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2564

  • รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2562-63

    “รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2562-63” เป็นรายงานประจำปีที่ติดตามสถานการณ์และสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศไทย ทั้งในเชิงประเด็น เชิงกลุ่มเป้าหมาย และเชิงพื้นที่ ใช้ข้อมูลทางสังคมทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และระดับประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้มีอำนาจในการวิเคราะห์ทิศทางสำหรับการกำหนดนโยบายพัฒนาสังคมของประเทศไทยในอนาคต     หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่     Related posts: รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2565 รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2564 รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2562-2563 รายงานช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ – ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยที่สำคัญ พ.ศ. 2562 (Addressing the gaps (MICS6))

  • Sustainable Development Report 2022

    รายงาน “Sustainable Development Report 2022” นำเสนอดัชนี SDG (SDG Index) และ dashboards สำหรับประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) จัดทำโดย SDSN และมูลนิธิ Bertelsmann โดยฉบับนี้มาในธีม “From Crisis to Sustainable Development: the SDGs as Roadmap to 2030 and Beyond” หรือ “จากวิกฤตสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน: SDGs ในฐานะ roadmap สู่ปี ค.ศ. 2030 และไกลกว่านั้น”   หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Bertelsmann Stiftung ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Sustainable Development […]

  • รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2564

    รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปีพ.ศ. 2564 (Thailand SDGs 16 Progress Report 2021) รวบรวมข้อมูลและผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 16 ประกอบด้วยผลการดำเนินงานผ่านโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้ภารกิจของแต่ละหน่วยงานด้านการพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทยและข้อมูลสถิติตามตัวชี้วัด SDG16 จำนวน 24 ตัวชี้วัด       หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2563 รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2565 รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2563-2564 รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย […]

  • รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565

    “รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 12 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 10 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ และ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ฉบับปีนี้มาในธีม “ครอบครัวไทยในวิกฤตโควิด-19”   หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2564 รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2564-2565 เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2565 รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2565

  • Global Happiness and Well-being Policy Report 2022

    รายงาน “Global Happiness and Well-being Policy Report 2022” จัดทำโดย Global Happiness Council (GHC) ซึ่งเป็นเครือข่ายของนักวิชาการชั้นนำด้านความสุขและคนทำงานในสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ การศึกษา สาธารณสุข ภาคประชาสังคม ธุรกิจ และรัฐบาล ทำการประเมินผลกระทบและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ผ่านเลนส์ความเป็นอยู่ที่ดี (well-being) และถ่ายทอดบทเรียนข้อค้นพบบางประการที่จะมีประโยชน์กับรัฐบาลในการกำหนดนโยบายในอนาคต     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Global Happiness Council ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: World Happiness Report 2022 Global Wage Report 2008/09: Minimum wages and collective bargaining: Towards […]

  • Migration and the SDGs: Measuring Progress – An Edited Volume

    รายงาน “Migration and the SDGs: Measuring Progress – An Edited Volume” นำเสนอข้อมูลล่าสุดของแนวโน้มการโยกย้ายถิ่นฐานที่ส่งผลกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อย่างครอบคลุม โดยเฉพาะกับทุกตัวชี้วัดภายใต้เป้าประสงค์ SDG10.7 รวมทั้งยังรวบรวมแนวคิดที่จะเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบและติดตามข้อมูลการโยกย้ายถิ่นฐานในระดับโลก   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Migration Governance Insights: Informing People-centred Migration Policies Measuring Children’s Well-being: the Child Flourishing and Futures Index Health System Resilience Indicators: An Integrated Package for Measuring and Monitoring Health System Resilience in Countries […]

  • Synthetic Drugs in East and Southeast Asia: Latest Developments and Challenges – 2022

    รายงาน “Synthetic Drugs in East and Southeast Asia: Latest Developments and Challenges – 2022” หรือ “รายงานยาเสพประเภทติดสังเคราะห์ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: การพัฒนาและความท้าทายล่าสุด ปี 2565” แสดงสถานการณ์รล่าสุดของยาเสพติดประเภทสังเคราะห์ (synthetic drugs) โดยเฉพาะสารกระตุ้นประเภทแอมเฟตามีน (ATS) และสารออกฤทธิ์ทางจิตใหม่ ๆ รวมถึงฝิ่นสังเคราะห์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้    หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) ดาวน์โหลด: รายงานภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: GCED: Taking It Local in Asia-Pacific – A Regional Study on GCED Localization and […]