SDG 13

Jan
01

Strategy Paper on Nature-based Solutions to Build Climate Resilience in Informal Areas

เอกสาร “Strategy Paper on Nature-based Solutions to Build Climate Resilience in Informal Areas” พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยและข้อมูลจากโครงการเชิงปฏิบัติการที่ใช้การแก้ปัญหาที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions: NbS) เพื่อการปรับตัวและสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่พื้นที่ที่อยู่อาศัยแออัดเพื่อให้เข้าใจถึงศักยภาพในการดำเนินการขยายขนาดและความท้าทายได้ดียิ่งขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการศึกษาที่ประโยชน์ในการสร้างความสามารถลดความเสี่ยง จัดการกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับคนยากจนในเขตเมืองและแก่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่    

DETAIL
Dec
12

Resilient Futures: Young People, the Climate Crisis, and Sexual and Reproductive Health and Rights

คู่มือกระบวรกร “Resilient Futures: Young People, the Climate Crisis, and Sexual and Reproductive Health and Rights” ฉบับนี้จะช่วยให้กระบวนกรนำกิจกรรมเวิร์กช็อปสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิทธิด้านสุขภาพอนามัยทางเพศและการสืบพันธุ์แก่เยาวชนได้ง่ายขึ้น เยาวชนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับผลกระทบบางประการของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสิทธิและสุขภาพของตนเอง ไปจนถึงสุขภาพของผู้หญิงและเด็กหญิงโดยรวม จุดมุ่งหมายคือการเสริมพลังให้เยาวชนผ่านการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโลกใบนี้ สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นด้านสิ่งแวดล้อม และการสร้างแนวคิดรวมถึงแรงจูงใจให้เยาวชนลงมือทำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับพื้นที่และระดับโลก   หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Dec 12 2022
คู่มือ
DETAIL
Nov
01

Thailand’s BCG Transformation – 40 case studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action

หนังสือ “Thailand’s BCG Transformation. 40 case studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action” รวบรวมเรื่องราวความสำเร็จของ BCG Model ที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งระดับบุคคลหรือครัวเรือน ระดับองค์กรธุรกิจ และระดับชาติ ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งแสดงความเชื่อมโยงในการใช้กลยุทธ BCG Model บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสร้างแนวทางที่ชัดเจนไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)   หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Nov 01 2022
หนังสือ
DETAIL
Oct
01

Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand

รายงาน “Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand” หรือ รายงาน “การประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมต่อเด็กในประเทศไทย” จะชี้ให้เห็นว่าเด็ก ๆ ทีเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ ภัยแล้ง คลื่นความร้อน และน้ำท่วม มากที่สุด อาศัยอยู่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหลือและภาคใต้ของประเทศไทย แผนที่ความเสี่ยงจากการศึกษาฉบับนี้เผยให้เห็น 10 จังหวัด (อุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีษะเกษ นครศรีธรรมราช นาราธิวาส สุรินทร์ สงขลา บุรีรัมย์ ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี) มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2578 โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ RCP4.5 (มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับปานกลาง)   หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Oct 01 2022
รายงาน
DETAIL
Sep
07

Climate Science Literacy: Media Toolkit in Support of the Sustainable Development Goals

“Climate Science Literacy: Media toolkit in support of the Sustainable Development Goals” หรือ “ชุดความรู้สื่อประสมเรื่องภูมิอากาศวิทยาเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” เป็นโปสเตอร์ชุดความรู้สื่อประสมเรื่องภูมิอากาศวิทยานี้จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในขั้นพื้นฐานเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และได้อธิบายความเสี่ยงและผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลักษณะโดยรวม เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของวิกฤตนี้   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่

DETAIL
Jun
22

Circular Economy Policy Forum Report 2022 ภายใต้โครงการบูรณาการและขับเคลือนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

รายงาน “Circular Economy Policy Forum Report 2022” รวบรวบและประมวลข้อมูลเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ได้จากการประชุมหารือภายใต้โครงการบูรณาการและขับเคลื่อนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือโครงการ Circular Economy Innovation Policy Forum ภายใต้ข้อตกลงบันทึกความร่วมมือ “โครงการพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน” ระหว่างสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กับ สมาคมส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (ประเทศไทย) กิจกรรม โครงการฯ เริ่มดำเนิน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนา Circular Economy Innovation Forum ให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และระดมความคิดเห็นให้เกิดการตั้งประเด็น (Agenda) เพื่อระดมความคิดในการเสนอแนะเชิงนโยบายในการบูรณาการและขับเคลื่อนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และสมาคมส่งเสริมการผลิตและการบริโภคทียังยืน (ประเทศไทย) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่

Jun 22 2022
รายงาน
DETAIL
May
12

Lessons from COVID-19 for Climate Change

เอกสารสมุดปกขาว​ “Lessons from COVID-19 for Climate Change” นำเสนอการพัฒนายุทธศาสตร์ในรูปแบบบูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อกระกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จัดการกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤต ซึ่งเป็นบทเรียนที่ได้จากช่วงเวลาการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นวิกฤติระดับโลกเช่นกัน     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

DETAIL
Apr
07

มรดกวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: SOFT POWER เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เอกสาร “มรดกวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: SOFT POWER เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” นำเสนอบทวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับวัฒนธรรมและเศรษฐสร้างสรรค์ในฐานะ Soft Power ตลอดจนรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ จากวิทยานิพนธ์และงานวิจัยสําคัญในประเทศไทย พร้อมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทย   หน่วยงานที่จัดทำ: สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่

Apr 07 2022
หนังสือ
DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP