SDG 11

May
21

World Health Statistics 2024: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs)

รายงาน “World Health Statistics 2024: Monitoring Health for the SDGs, sustainable development goals” เป็นรายงานความก้าวหน้าตัวชี้วัดด้านสุขภาพประจำปีที่จัดทำมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 โดยในฉบับปี 2024 นี้ จะเป็นการทบทวนสถานะล่าสุดของตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Indicators) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพมากกว่า 50 ตัวชี้วัดที่อยู่ในเป้าหมายต่าง ๆ และสถานะตามแผนการดำเนินงานขององค์การอนามัยโลก ฉบับที่ 13 (The Thirteenth General Programme of Work: GPW 13) ของทุกประเทศทั่วโลก พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบของโควิด-19 ที่ทำให้แนวโน้มความก้าวหน้าที่ดีขึ้นของอายุขัยคาดเฉลี่ยแรกเกิดและอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีถอยหลังลง   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่    

May 21 2024
รายงาน
DETAIL
May
09

รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567

“รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 11 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 10 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ภายใต้ธีมหลัก “ความเครียด ภัยเงียบของสังคมไทย”   หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่

May 09 2024
รายงาน
DETAIL
Apr
23

State of the Climate in Asia 2023

รายงาน “State of the Climate in Asia 2023” นำเสนอสถานการณ์ภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชีย โดยเน้นย้ำถึงอัตราเร่งของตัวชี้วัดสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิผิวน้ำ การละลายของธารน้ำแข็ง และระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อสังคม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศในภูมิภาค   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Apr 23 2024
รายงาน
DETAIL
Apr
22

UNTAPPED: Collective Intelligence for Climate Action

รายงาน “UNTAPPED: Collective Intelligence for Climate Action” เป็นรายงานฉบับแรกที่ศึกษาว่า “ปัญญารวมหมู่” (collective intelligence) สามารถยกระดับการรับมือกับปัญหาโลกร้อนได้อย่างไร ผ่านการระดมข้อมูลสภาพภูมิอากาศแบบเรียลไทม์ในพ้นที่อย่างละเอียด รวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้คนจำนวนมากขึ้นและมุมมองที่หลากหลายขึ้น ให้ข้อมูลครอบคลุมพื้นที่กว่าประเทศในกลุ่มประเทศโลกใต้ (Global South) กว่า 100 ประเทศ ซึ่งรวมไปถึงประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries: LDCs) 36 ประเทศและกลุ่มรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก (Small Island Developing States: SIDS) 38 ประเทศ วิเคราะห์โดย UNDP Accelerator Labs Network   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Apr 22 2024
รายงาน
DETAIL
Apr
11

Guide for Adaptation and Resilience Finance

เอกสาร “Guide for Adaptation and Resilience Finance” เป็นคู่มือเพื่อสร้างความสามารถในการปรับตัวและเสริมสร้างความสามารถในการตั้งรับและฟื้นคืนทางการเงินเมื่อต้องรับมือกับภัยพิบัติ โดยเสนอแนวทางในการบูรณาการการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Disaster Risk Reduction: DRR) เข้ากับแผนการเงินแห่งชาติ ผ่านหลายกิจกรรมที่แนะนำมากกว่า 100 รายการที่สามารถระดมทุนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัว เช่น การพัฒนาพืชที่ทนต่อสภาวะอากาศ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของโรงพยาบาลรัฐ และการอนุรักษ์ป่าชายเลน ด้วยการลงทุนเหล่านี้ ประเทศต่าง ๆ สามารถจัดการความเสี่ยงทางการเงินจากภัยพิบัติและเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับนักลงทุนได้   หน่วยงานที่จัดทำ: สํานักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UN Office for Disaster Risk Reduction: UNDRR) ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด และบริษัทผู้สอบบัญชี KPMG ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Apr 11 2024
คู่มือ
DETAIL
Mar
28

Nature-based Solutions for Flood Management in Asia and the Pacific

เอกสาร “Nature-based Solutions for Flood Management in Asia and the Pacific” ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของแนวทางแก้ไขปัญหาอุทกภัยโดยมีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions: NbS) สำหรับการจัดการน้ำท่วมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เนื่องจากภูมิภาคนี้มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมรุนแรงมากขึ้นอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้วิธีการป้องกันน้ำท่วมแบบเดิมไม่เพียงพอ NbS นำเสนอแนวทางใหม่ที่ใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบตามธรรมชาติเพื่อลดความเสี่ยงจากน้ำท่วมและยังก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติม เช่น การอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า รายงานนี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการมีแนวทางที่ชัดเจนและกลไกการเงินเพื่อนำ NbS ไปใช้ในภูมิภาคนี้ได้อย่างเต็มที่   หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์การพัฒนาแห่งองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD Development Centre) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Mar 28 2024
รายงาน
DETAIL
Jan
30

2030 Recommendations of the United Nations Senior Leadership Group on Disaster Risk Reduction for Resilience

เอกสาร “2030 Recommendations of the United Nations Senior Leadership Group on Disaster Risk Reduction for Resilience” เสนอการสนับสนุนของระบบองค์การสหประชาชาติทั้งหมดเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเสริมสร้างความสามารถในการฟื้นตัวจนถึงปี 2030 และยังเป็นการเสริมสร้างพันธกรณีที่ให้ไว้ในแผนปฏิบัติการด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติเพื่อการตั้งรับปรับตัวขององค์การสหประชาชาติ   หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Office for Disaster Risk Reduction ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่

DETAIL
Dec
22

จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2567 (ThaiHealth Watch 2024)

รายงาน “จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2567” (ThaiHealth Watch 2024) สะท้อนอนาคตทิศทางสถานการ์ณสุขภาพของประเทศไทย พร้อม 7 ประเด็นสุขภาพสำคัญของปี ด้วยการเชื่อมองค์ความรู้ใน 3 ส่วน คือ 1) Situation สถานการณ์พฤติกรรมสุขภาพ จากรายงานสุขภาพคนไทย ปี 2566 2) Social Trend กระแสความสนใจในสื่อสังคมออนไลน์ และ 3) Solution ข้อแนะนำ ทั้งระดับปัจเจกบุคคลและข้อเสนอเชิงนโยบายต่อสังคม   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่

Dec 22 2023
รายงาน
DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP