ระดับโลก

May
12

Lessons from COVID-19 for Climate Change

เอกสารสมุดปกขาว​ “Lessons from COVID-19 for Climate Change” นำเสนอการพัฒนายุทธศาสตร์ในรูปแบบบูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อกระกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จัดการกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤต ซึ่งเป็นบทเรียนที่ได้จากช่วงเวลาการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นวิกฤติระดับโลกเช่นกัน     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

DETAIL
May
04

Global Report on Food Crises 2022

Global Report on Food Crises – 2022 รายงานวิกฤตการณ์อาหารโลกปี 2022 (GRFC 2022) เน้นย้ำถึงความรุนแรงและจำนวนผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤตใน 53 ประเทศ/เขตแดน ที่เป็นผลมาจากความขัดแย้งที่มีอยู่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 และสภาพอากาศสุดขั้ว โดยตัวเลขผู้รับผลกระทบในรายงานฉบับปี 2022 นี้เป็นจำนวนสูงสุดตั้งแต่มีการทำงานรายงานมาหกปี หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

May 04 2022
รายงาน
DETAIL
Mar
20

World Happiness Report 2022

รายงานความสุขโลกประจำปี 2022 เป็นฉบับครบ 10 ปีของรายงานที่ประเมินความสุขของคนทั่วโลกในมากกว่า 150 ประเทศ โดยรายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่าการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ไม่เพียงแต่นำมาซึ่งความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานเท่านั้น แต่ยังเพิ่มการสนับสนุนทางสังคมและความเมตตากรุณาที่คนมีให้กันด้วย ซึ่งทำให้เห็นความสามารถของปัจเจกบุคคลและชุมชนในการสนับสนุนซึ่งกันและกันในยามยากลำบากเมื่อต้องต่อสู้กับทั้งโรคและสงคราม   หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Mar 20 2022
รายงาน
DETAIL
Mar
10

SDGs Mega Trends 2022: Corporate Climate Action

รายงาน “SDGs Mega Trends 2022” นำเสนอ 5 แนวโน้มสำคัญเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี ค.ศ. 2022” ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยคัดเลือกประเด็นเด่น 5 ประเด็นเกี่ยวกับความยั่งยืนจากแหล่งข้อมูลชั้นนำทั่วโลกที่ควรให้ความสำคัญ โดยเรื่องเด่นที่ภาคธุรกิจต้องใส่ใจในปีนี้คือ การปรับเปลี่ยนเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ     หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

Mar 10 2022
รายงาน
DETAIL
Feb
09

SDG Good Practices: A Compilation of Success Stories and Lessons Learned in SDG Implementation – Second Edition

รายงาน “SDG Good Practices: A compilation of success stories and lessons learned in SDG Implementation – Second Edition” รวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Good practices) ที่ได้รับการคัดเลือกจากการเสนอชื่อทั่วโลกทั้งหมด 21 เรื่องราว เป็นฉบับที่สอง หลังจากเผยแพร่ไปครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 2021 ให้เป็นบทเรียนสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ว่าจะสามารถนำไปปรับใช้ในวงกว้างเพื่อทั้งเร่งความก้าวหน้าในการบรรลุ SDGs และรวมถึงฟื้นฟูสังคมโลกจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ได้อย่างไร     หน่วยงานที่จัดทำ: UN DESA ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่    

Feb 09 2022
รายงาน
DETAIL
Dec
07

World Inequality Report 2022

รายงาน “World Inequality Report 2022” นำเสนอข้อมูลและสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำโลกล่าสุดและครอบคลุมที่สุด ที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ ทั้งมิติความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง รายได้ เพศ และทางนิเวศวิทยา (ecological) โดยเป็นผลลัพธ์จากการทำงานจากนักวิจัยกว่าร้อยคนในระยะเวลาสี่ปีจากทุกทั่วโลกที่ร่วมกันพัฒนาฐานข้อมูลความเหลื่อมล้ำโลก (World Inequality Database: WID.world)   หน่วยงานที่จัดทำ: World Inequality Lab ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่

Dec 07 2021
รายงาน
DETAIL
Dec
02

Global Commons Stewardship (GCS) Index 2021

การจัดทำดัชนี “Global Commons Stewardship (GCS) Index” ประจำปี 2019 ให้ข้อมูลล่าสุดและจัดอันดับการส่งผ่านผลกระทบทางลบ (spillovers) ภายในประเทศและต่างประเทศต่อทรัพยากรร่วมของโลก (Global Commons) ของ 100 ประเทศ     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network, Yale Center for Environmental Law & Policy และ Center for Global Commons มหาวิทยาลัยโตเกียว ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Dec 02 2021
รายงาน
DETAIL
Nov
23

The State of Food and Agriculture 2021

Making agrifood systems more resilient to shocks and stresses รายงานสถานการณ์อาหารและเกษตรกรรมปี 2564 นำเสนอตัวชี้วัดระดับประเทศของความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของของระบบอาหารเกษตร ตัวชี้วัดเหล่านี้ใช้วัดความคงทนของการผลิตขั้นต้นและความพร้อมด้านอาหาร ตลอดจนการเข้าถึงอาหารทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจ จึงสามารถช่วยประเมินความสามารถของระบบอาหารเกษตรระดับประเทศในสภาวะช็อกและความตึงเครียด เช่น จากวิกฤตการระบาดใหญ่ของ COVID-19 จึวจำเป็นต้องมีการดำเนินการเพื่อทำให้ระบบอาหารทางการเกษตรมีความสามารถในการตั้งรับปรับตัว มีประสิทธิภาพ ยั่งยืนและครอบคลุมมากขึ้น   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Nov 23 2021
รายงาน
DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP