Sorting:
Sort Descending
  • Lessons from COVID-19 for Climate Change

    เอกสารสมุดปกขาว​ “Lessons from COVID-19 for Climate Change” นำเสนอการพัฒนายุทธศาสตร์ในรูปแบบบูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อกระกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จัดการกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤต ซึ่งเป็นบทเรียนที่ได้จากช่วงเวลาการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นวิกฤติระดับโลกเช่นกัน     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand Climate Change, Environmental Degradation and International Labour Migration in Asia: Exploring the Role of Business Motivators for Sustainability: 17 Lessons […]

  • Global Report on Food Crises 2022

    Global Report on Food Crises – 2022 รายงานวิกฤตการณ์อาหารโลกปี 2022 (GRFC 2022) เน้นย้ำถึงความรุนแรงและจำนวนผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤตใน 53 ประเทศ/เขตแดน ที่เป็นผลมาจากความขัดแย้งที่มีอยู่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 และสภาพอากาศสุดขั้ว โดยตัวเลขผู้รับผลกระทบในรายงานฉบับปี 2022 นี้เป็นจำนวนสูงสุดตั้งแต่มีการทำงานรายงานมาหกปี หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Report on Food Crises 2019 Global Report on Food Crises 2020 Global Report on Food Crises 2017 Global Report […]

  • Child Health and Well-being Dashboard

    เว็บไซต์แสดงผล “Child Health and Well-being Dashboard” นำเสนอสถานการณ์ปัจจุบันด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ของวัยรุ่นและเด็กในระดับประเทศทั่วโลกผ่านตัวชี้วัดที่ครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพ การศึกษา สิทธิเด็ก เพื่อสนับสนุนนโยบาย รัฐบาล และองค์กรต่าง ๆ ในการติดตามและเปรียบเทียบตัวชี้วัดของแต่ละประเทศ ไปจนถึงการวางแผนและการกำหนดนโยบายเพื่อสิทธิเด็ก     หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และโครงการ CAP 2030 ดาวน์โหลด: ข้อมูลฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: The Child Marriage Data Portal Measuring Children’s Well-being: the Child Flourishing and Futures Index Global Trends in Child Monetary Poverty According to International Poverty Lines […]

  • มรดกวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: SOFT POWER เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

    เอกสาร “มรดกวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: SOFT POWER เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” นำเสนอบทวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับวัฒนธรรมและเศรษฐสร้างสรรค์ในฐานะ Soft Power ตลอดจนรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ จากวิทยานิพนธ์และงานวิจัยสําคัญในประเทศไทย พร้อมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทย   หน่วยงานที่จัดทำ: สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่ Related posts: Textbooks for Sustainable Development: a Guide to Embedding Education for Sustainable Development Goals: Learning Objectives Motivators for Sustainability: 17 Lessons of Sustainable Development Goals in Thailand นโยบายสาธารณะเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนอย่างเป็นธรรม (Public Policy for Just Sustainable Futures)

  • World Happiness Report 2022

    รายงานความสุขโลกประจำปี 2022 เป็นฉบับครบ 10 ปีของรายงานที่ประเมินความสุขของคนทั่วโลกในมากกว่า 150 ประเทศ โดยรายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่าการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ไม่เพียงแต่นำมาซึ่งความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานเท่านั้น แต่ยังเพิ่มการสนับสนุนทางสังคมและความเมตตากรุณาที่คนมีให้กันด้วย ซึ่งทำให้เห็นความสามารถของปัจเจกบุคคลและชุมชนในการสนับสนุนซึ่งกันและกันในยามยากลำบากเมื่อต้องต่อสู้กับทั้งโรคและสงคราม   หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: World Happiness Report 2017 World Happiness Report 2018 World Happiness Report 2019 World Happiness Report 2021

  • Asia and the Pacific SDG Progress Report 2022

    รายงาน “Asia and the Pacific SDG progress report 2022 : widening disparities amid COVID-19” แสดงความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และยังประเมินปัญหาความเหลื่อมล้ำและความเปราะบางระหว่างกลุ่มประชากรต่าง ๆ ในภูมิภาค ชี้ให้เห็นช่องว่างที่จำเป็นต้องถมปิดเพื่อการบรรลุ SDGs ให้ทันภายในปีค.ศ. 2030 โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Asia-Pacific Migration Data Report 2022 Asia and the Pacific SDG Progress Report 2021 […]

  • SDGs Mega Trends 2022: Corporate Climate Action

    รายงาน “SDGs Mega Trends 2022” นำเสนอ 5 แนวโน้มสำคัญเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี ค.ศ. 2022” ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยคัดเลือกประเด็นเด่น 5 ประเด็นเกี่ยวกับความยั่งยืนจากแหล่งข้อมูลชั้นนำทั่วโลกที่ควรให้ความสำคัญ โดยเรื่องเด่นที่ภาคธุรกิจต้องใส่ใจในปีนี้คือ การปรับเปลี่ยนเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ     หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: SDGs Mega Trends 2021: COVID-19 and a Great Reset to SDGs in Action SDGs Mega Trends 2023: Unlock the Global Pathways to Resilience, Growth, and Sustainability Global Employment Trends for Youth 2022: […]

  • ชุดวิดีโอประกอบคู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)

    ชุดวิดีโอประกอบ “คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)” นำเสนอเนื้อหาโดยสรุปของคู่มือทั้งการทำความเข้าใจประเด็นความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่มาและความสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และเชื่อมโยงกับประเด็นรอบตัวที่เยาวชนกำลังเผชิญอยู่ในชีวิตประจำวันภายใต้มุมมองของ SDGs  พร้อมทั้งแนะนำวิธีการที่เยาวชนจะพัฒนากิจกรรมและโครงการเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลกอย่างยั่งยืนได้อย่างไร   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) รับชมวิดิโอได้ที่นี่:             Related posts: คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action) SDGs ในทศวรรษแห่งการดำเนินการอย่างจริงจัง (Decade of Action) Towards a Global Action Plan for Healthy […]

  • คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)

    คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action) นำเสนอเส้นทางการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับเยาวชนเพื่อเข้าใจมุมมองรอบตัวพวกเขาผ่านเลนส์ของ SDGs คู่มือนี้มีคำถามเพื่อให้ผู้อ่านได้คิดทบทวนตนเองในการเลือกการออกแบบทำกิจกรรมเพื่อความยั่งยืนในชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังจัดให้มีแบบฝึกหัดสำหรับเยาวชนเพื่อเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงโลกผ่านโครงการเล็ก ๆ ที่ยั่งยืนที่ทำได้ในพื้นที่ของตัวเอง   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ดาวน์โหลด: คู่มือฉบับภาษาไทยและอังกฤษ ที่นี่ Related posts: SDG Compass คู่มือการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ SDGs Communities in Action – Lifelong Learning for Sustainable Development เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action) Stronger Collaboration for an Equitable and Resilient Recovery Towards the Health-related Sustainable Development […]

  • สุรชาติ ชาวประมงผู้พิชิตคลื่นสึนามิ

    หนังสือภาพ “สุรชาติ ชาวประมงผู้พิชิตคลื่นสึนามิ” เป็นส่วนหนึ่งของ UNDP ‘Tsunami Story Books’ ชุดของเรื่องราวชีวิตจริงจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจถึงความรุนแรงของสึนามิและวิธีรับมือให้ดียิ่งขึ้น แต่ละเรื่องประกอบด้วยฮีโร่ในชุมชนที่แตกต่างกัน และอธิบายวิธีที่เด็ก ๆ สามารถปกป้องตนเอง ครอบครัว และเพื่อนฝูงจากสึนามิ และจัดการกับอารมณ์ที่ยากลำบากเมื่อต้องเผชิญกับสึนามิ เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6-11 ปี   หน่วยงานที่จัดทำ: UNDP Asia-Pacific ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: SDGs กับเกษตรกร เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action) รายการ “เราปรับ…โลกเปลี่ยน” We Shift…World Change ตอน SDGs Talk บทบาทมหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

  • บันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเชิงพื้นที่ (SDG Localization) พ.ศ. 2565

    บันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเชิงพื้นที่ (SDG Localization) จัดโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2565 ที่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้และเสริมศักยภาพของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน SDGs ในระดับพื้นที่ รวมทั้งแลกเปลี่ยนและติดตามความคืบหน้าการดำเนินการ SDGs ในระดับพื้นที่ อ่านรายละเอียดหัวข้อการเสวนาและการบรรยายทั้งหมดได้ที่นี่   Related posts: SDG 7 Localization: Affordable and Clean Energy in ASEAN Cities GCED: Taking It Local in Asia-Pacific – A Regional Study on GCED Localization and Challenges รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2564-2565 เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2565

  • SDG Good Practices: A Compilation of Success Stories and Lessons Learned in SDG Implementation – Second Edition

    รายงาน “SDG Good Practices: A compilation of success stories and lessons learned in SDG Implementation – Second Edition” รวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Good practices) ที่ได้รับการคัดเลือกจากการเสนอชื่อทั่วโลกทั้งหมด 21 เรื่องราว เป็นฉบับที่สอง หลังจากเผยแพร่ไปครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 2021 ให้เป็นบทเรียนสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ว่าจะสามารถนำไปปรับใช้ในวงกว้างเพื่อทั้งเร่งความก้าวหน้าในการบรรลุ SDGs และรวมถึงฟื้นฟูสังคมโลกจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ได้อย่างไร     หน่วยงานที่จัดทำ: UN DESA ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: 10 Stories การจัดการของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร Climate Resilient Practices – Typology and Guiding […]

  • บทบาทมหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

    การนำเสนอ “บทบาทมหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ให้ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) และเชื่อมโยงการดำเนินกิจกรรมของสถาบันอุดมศึกษากับการขับเคลื่อนเพื่อบรรลุ SDGs   หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่     Related posts: SDGs Mega Trends 2021: COVID-19 and a Great Reset to SDGs in Action การ์ตูนเพื่อการเรียนรู้ SDGs เรื่อง “โลกของเรา และ 17 เป้าหมาย” SDGs กับอาหารริมทาง การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในประเทศไทย โดย กลต.

  • ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม และงานท่ีมีคุณค่าสำหรับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ในห้วงการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19

    ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย “แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม และงานท่ีมีคุณค่าสำหรับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ในห้วงการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19” เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ผ่านกระบวนการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนเสียหลากหลายกลุ่ม ที่จัดโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงยุติธรรม โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางแก่รัฐบาลไทยในการทบทวน พัฒนา และดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายถิ่นฐานของแรงงานข้ามชาติที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: Measuring Children’s Well-being: the Child Flourishing and Futures Index Putting Children at the Centre of the Sustainable Development Goals Small Island Developing States Response to COVID-19 Lessons from COVID-19 for […]

  • เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2565

    รวมเอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ภายในปี พ.ศ. 2565   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทย ที่นี่ Related posts: เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2559 เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2560 เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2561 เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2562

  • Compulsory Treatment and Rehabilitation in East and Southeast Asia

    รายงาน “Compulsory drug treatment & rehabilitation in East & Southeast Asia” หรือ การบำบัดและการฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดแบบบังคับในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยเอกสาร 3 เล่มที่รายงานความก้าวหน้าและตัวอย่างกรณีในประเทศภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านจากการเข้าสถานบำบัดสำหรับผู้ใช้ยาเสพติดแบบบังคับมาเป็นให้สมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาผู้ใช้ยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (community-based treatment: CBTX) และการแพทย์ทางเลือก รวมไปถึงประเด็นการลดอันตรายจากยาเสพติดและบริการสนับสนุนทางสังคมอื่น ๆ   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (UNAIDS Asia Pacific) และสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Synthetic Drugs in East and Southeast Asia: Latest Developments and Challenges – 2022 Infodemic and SDGs: […]

  • คู่มือตัวชี้วัดผลลัพธ์การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

    “คู่มือตัวชี้วัดผลลัพธ์การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นหลักการและแนวทางในการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน ให้ข้อมูลด้านการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและสนองตอบต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อย่างเป็นรูปธรรม     หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจพอเพียงและลดความเหลื่อมล้ำ หอการค้าไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: WHO Guidance for Climate Resilient and Environmentally Sustainable Health Care Facilities International Health Regulations (IHR): Joint External Evaluation (JEE): Country Implementation Guide แนวทางการจัดทำแผนอาหารและโครงการระบบอาหารในระดับชุมชนท้องถิ่น Online Employability Resources for Youth 2021

  • ความเชื่อมโยงระหว่างแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

    เอกสาร “ความเชื่อมโยงระหว่างแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” เปรียบเทียบความเชื่อมโยงระหว่าง 169 เป้าหมายย่อย (target) ของ SDGs กับ 37 เป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 จำนวน 23 ฉบับ (แผนระดับที่ 2) และ 140 เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทฯ (Y1) เพื่อประมวลความสอดคล้องการกำหนดทิศทางการพัฒนาระดับประเทศกับระดับนานาชาติ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ     หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: SDGs Mega Trends 2021: COVID-19 and a Great Reset to SDGs in Action แผนที่นำทางเพื่อการพัฒนา SDGs ในระดับพื้นที่: การดำเนินการ และการติดตามผล […]

  • Directory of Stateless Children Protection Stakeholders

    เอกสารรวบรวมรายชื่อองค์กรและหน่วยงานทั่วประเทศไทยที่ทำงานเพื่อสนับสนุนและคุ้มครองเด็กไร้สัญชาติ   หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: World Social Protection Report 2017-19 World Social Protection Report 2020-22 Measuring Children’s Well-being: the Child Flourishing and Futures Index Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand

  • World Inequality Report 2022

    รายงาน “World Inequality Report 2022” นำเสนอข้อมูลและสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำโลกล่าสุดและครอบคลุมที่สุด ที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ ทั้งมิติความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง รายได้ เพศ และทางนิเวศวิทยา (ecological) โดยเป็นผลลัพธ์จากการทำงานจากนักวิจัยกว่าร้อยคนในระยะเวลาสี่ปีจากทุกทั่วโลกที่ร่วมกันพัฒนาฐานข้อมูลความเหลื่อมล้ำโลก (World Inequality Database: WID.world)   หน่วยงานที่จัดทำ: World Inequality Lab ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Wage Report 2014 / 15 Wages and income inequality Global Wage Report 2016/17: Wage inequality in the workplace Women as Agents of Change for Greening Agriculture and Reducing Gender Inequality […]