เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย (SDG 2: Zero Hunger)
October 6, 2020เป้าหมายที่ 2 (SDG 2: Zero Hunger) มุ่งมั่นที่จะขจัดความหิวโหยและความอดอยากทุกรูปแบบ ภายในปี 2573 เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและผู้ด้อยโอกาส เข้าถึงอาหารที่เพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการตลอดทั้งปี นอกจากนี้ ยังมุ่งส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน การปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่และกำลังการผลิตของเกษตรกรรายย่อยให้เข้าถึงแหล่งที่ดินทำกิน เทคโนโลยีและการตลาดอย่างเท่าเทียม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิง (SDG 5: Gender equality) เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและการสุขาภิบาลที่ยั่งยืน (SDG 6: Clean water and sanitation) เป้าหมายที่ 12 แผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (SDG 12: Responsible consumption and production) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action)
เป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (SDG 3: Good Health and Well-being)
October 6, 2020การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ในช่วงปี 2543 – 2558 ประสบผลสำเร็จอย่างมากในการลดอัตราการเสียชีวิตของเด็ก การส่งเสริมสุขภาพของมารดา และการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี/เอดส์ มาลาเรียและโรคอื่นๆ โดยเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มุ่งมั่นที่จะสานต่อความสำเร็จของ MDGs ในการยุติการระบาดของโรคเอดส์ วัณโรค มาลาเรียและโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี 2573 โดยสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้งการเข้าถึงยาและวัคซีนอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับทุกคน ในราคาที่เหมาะสม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: World Health Statistics 2021: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs) World Health Statistics 2020: Monitoring Health for the Sustainable […]
WHO Guidance for Climate Resilient and Environmentally Sustainable Health Care Facilities
October 7, 2020คู่มือ “WHO guidance for climate resilient and environmentally sustainable health care facilities” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานด้านสาธารณสุขในการเพิ่มขีดความสามารถของการปกป้องและช่วยพัฒนาให้สุขภาวะของชุมชนที่อยู่ในสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอนดีขึ้น ตลอดจนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้เกิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (universal health coverage – UHC) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: WASH in Health Care Facilities: Global Baseline Report 2019 Fair Share for Health and Care: Gender and the Undervaluation of Health and Care Work Report of […]
เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพ (SDG 4: Quality education)
October 9, 2020เป้าหมายที่ 4 มุ่งสร้างหลักประกันว่าเด็กทั้งชายและหญิงสามารถเข้าถึงการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยและระดับมัธยมศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายภายในปี 2573 รวมทั้งให้มีการเข้าถึงการฝึกอบรมทักษะอาชีพในราคาที่เหมาะสมอย่างเท่าเทียมกัน และขจัดความไม่เสมอภาคทางเพศและความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนบรรลุการเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพอย่างถ้วนหน้า หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ (SDG 1: No Poverty) เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8: Decent work and economic growth) เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: Life below water) เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน (SDG 15: Life on land)
เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิง (SDG 5: Gender equality)
October 9, 2020การยุติการเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิงเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ รวมทั้งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน โดยการเสริมสร้างบทบาทของผู้หญิงและเด็กหญิงจะช่วยสนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ แม้ในปัจจุบันจะมีเด็กผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น และมีจำนวนผู้หญิงในตลาดแรงงานมากขึ้น แต่ยังคงมีความไม่เสมอภาคระหว่างเพศในการเข้าถึงสิทธิแรงงานและค่าจ้าง นอกจากนี้ ความรุนแรงและการละเมิดทางเพศ รวมทั้งการทำงานบ้านและงานที่ไม่ได้รับค่าจ้าง และการเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิง ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในการบรรลุเป้าหมาย ดังนั้น การส่งเสริมให้ผู้หญิงมีสิทธิเท่าเทียมในการถือครองที่ดินและทรัพย์สิน ตลอดจนเข้าถึงสิทธิสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมทั้งเข้าถึงเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต จึงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญให้บรรลุเป้าหมายความเท่าเทียมทางเพศ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: In the Red: the US Failure to Deliver on a Promise of Racial Equality เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy) เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8: Decent work and economic growth) […]
เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและการสุขาภิบาลที่ยั่งยืน (SDG 6: Clean water and sanitation)
October 9, 2020ปัญหาการขาดแคลนน้ำส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วโลกกว่าร้อยละ 40 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ปริมาณน้ำดื่มสะอาดที่ลดลงยังเป็นปัญหาสำคัญ หลายประเทศทั่วโลกเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำ ภัยแล้ง และภาวะการเป็นทะเลทรายที่รุนแรงขึ้น ดังนี้ การจัดหาน้ำดื่มที่ปลอดภัยในราคาที่เหมาะสมสำหรับทุกคนภายในปี 2573 จึงต้องมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอ รวมทั้งการมีสุขอนามัยและการสุขาภิบาลที่เหมาะสม ปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น ป่าไม้ ภูเขาและแม่น้ำ ตลอดจนสร้างหลักประกันการเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยในราคาที่เหมาะสมโดยถ้วนหน้า หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy) เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: Life below water) เป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (SDG 3: Good Health and Well-being) เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ (SDG 10: […]
เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy)
October 9, 2020ในห้วงเกือบสองทศวรรษที่ผ่านมา ประชากรโลกสามารถเข้าถึงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณ 1,700 ล้านคนทั่วโลก และยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มีความต้องการใช้พลังงานราคาถูกมากขึ้น ในขณะที่ภาคเศรษฐกิจที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ดังนั้น การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ 7 ภายในปี 2573 จึงจำเป็นต้องมีการลงทุนในแหล่งพลังงานสะอาด อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานความร้อน รวมทั้งการเพิ่มผลิตภาพพลังงาน และการสร้างหลักประกันการเข้าถึงพลังงานโดยถ้วนหน้า โดยการขยายโครงสร้างพื้นฐานและยกระดับเทคโนโลยีในการผลิตพลังงานที่สะอาดและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในทุกประเทศจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจและรักษาสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและการสุขาภิบาลที่ยั่งยืน (SDG 6: Clean water and sanitation) เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิง (SDG 5: Gender equality) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action) เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: […]
เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8: Decent work and economic growth)
October 12, 2020ในระยะ 25 ปีที่ผ่านมา จำนวนแรงงานที่ประสบปัญหาความยากจนขั้นรุนแรงลดลงอย่างมาก จำนวนชนชั้นกลางมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 34 ของการจ้างงานทั้งหมดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม วิกฤตเศรษฐกิจปี 2551 ส่งผลให้เกิดภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก แม้เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว แต่อัตราการเติบโตยังต่ำ และปัญหาความเหลื่อมล้ำรุนแรงขึ้น การจ้างงานไม่เพียงพอต่อตลาดแรงงานที่เติบโตขึ้น องค์การแรงงานระหว่างประเทศรายงานว่าในปี 2558 มีผู้ไม่มีงานทำถึง 204 ล้านคนทั่วโลก เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยบรรลุการมีผลิตภาพและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ผ่านการสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการและการสร้างงาน รวมทั้งมาตรการที่มีประสิทธิผลในการขจัดแรงงานบังคับ แรงงานทาส และการค้ามนุษย์ เพื่อบรรลุการจ้างงานเต็มรูปแบบ มีประสิทธิภาพและมีคุณค่า สำหรับทุกคนภายในปี 2573 หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย (SDG 2: Zero Hunger) เป้าหมายที่ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน (SDG 9: Industry innovation […]
เป้าหมายที่ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน (SDG 9: Industry innovation and infrastructure)
October 12, 2020พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนและทั่วถึง และสนับสนุนนวัตกรรม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็เป็นกุญแจสำคัญในการหาทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนให้กับความท้าทายทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดให้มีชิ้นงานใหม่และส่งเสริมประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน การส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและการลงทุนในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม เหล่านี้เป็นวิธีที่สำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนา 17 ข้อ ที่อยู่ในวาระการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) วิธีการแบบบูรณาการเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดความคืบหน้าไปยังเป้าหมายอื่นๆ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ (SDG 1: No Poverty) เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย (SDG 2: Zero Hunger) เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8: Decent work and economic growth) เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน (SDG 15: Life on land)
เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ (SDG 10: Reduced Inequalities)
October 12, 2020ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยร้อยละ 10 ของผู้ร่ำรวยที่สุด มีรายได้เป็นร้อยละ 40 ของรายได้รวมทั่วโลก ในขณะที่ร้อยละ 10 ของคนจนที่สุด มีรายได้เพียงร้อยละ 2 – 7 ของรายได้รวมทั่วโลกและพบว่าในประเทศกำลังพัฒนา ความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ตามการเติบโตของประชากร การจัดการกับปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้นจำเป็นต้องมีนโยบายที่เหมาะสมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับประชากรกลุ่มที่มีรายได้ต่ำ และส่งเสริมความครอบคลุมทางเศรษฐกิจให้กับทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกทางเพศ เชื้อชาติ หรือชาติพันธุ์ นอกจากนี้ ยังต้องมีความร่วมมือระดับโลกเพื่อปรับปรุงกฎระเบียบและกำกับดูแลตลาดและสถาบันการเงิน รวมทั้งส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภูมิภาคที่มีความจำเป็นมากที่สุดการอำนวยความสะดวกการอพยพย้ายถิ่นที่ปลอดภัยและการเคลื่อนย้ายของผู้คนก็เป็นปัจจัยสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ (SDG 1: No Poverty) เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy) เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: Life below […]
เป้าหมายที่ 11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน (SDG 11: Sustainable cities and communities)
October 12, 2020การเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองในประเทศที่กำลังพัฒนา ควบคู่ไปกับการเพิ่มขึ้นในการย้ายถิ่นฐานจากชนบทสู่เมือง ซึ่งนำไปสู่ความเจริญในเมืองขนาดใหญ่ ในปี 2553 มี 10 เมืองใหญ่ที่มีพลเมืองจำนวน 10 ล้านคนหรือมากกว่านั้น ในปี 2557 มีเมืองขนาดใหญ่ถึง 28 เมือง ผู้อยู่อาศัยรวม 453,000,000 คน ความยากจนมักจะกระจุกตัวอยู่ในเมือง รัฐบาลระดับชาติและระดับท้องถิ่นต้องพยายามจัดการเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรในพื้นที่เหล่านั้น การทำให้เมืองปลอดภัยและยั่งยืน หมายถึง การทำให้เข้าถึงที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยและเหมาะสมและพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของชุมชนแออัด นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการลงทุนเรื่องการขนส่งสาธารณะ การสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวและการปรับปรุงการวางผังเมืองและการจัดการในลักษณะแบบมีส่วนร่วม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: 2019 US Cities Sustainable Development Report SDG Index and Dashboards Report for European Cities 2017 U.S. Cities SDG Index เป้าหมายที่ 12 แผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (SDG […]
เป้าหมายที่ 12 แผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (SDG 12: Responsible consumption and production)
October 12, 2020รับรองแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน การที่จะบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นต้องลดรอยเท้าทางนิเวศลงอย่างเร่งด่วน โดยการเปลี่ยนแปลงการผลิตและการบริโภคสินค้าและทรัพยากร การเกษตรกรรมเป็นผู้ใช้น้ำรายใหญ่ที่สุดในโลก และในขณะนี้มีการจัดการน้ำให้ถึง 70% ของผู้ใช้น้ำทั้งหมด การจัดการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและวิธีการกำจัดขยะที่เป็นพิษและมลพิษเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายนี้ การส่งเสริมให้มีการรีไซเคิลและลดขยะมูลฝอยในอุตสาหกรรม ธุรกิจและผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญเท่าเทียมกับการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาเพื่อก้าวเข้าสู่แผนการบริโภคที่ยั่งยืนภายในปี 2573 หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ (SDG 1: No Poverty) เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy) เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: Life below water) เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน (SDG 15: Life on land)
เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action)
October 12, 2020ทุกประเทศในโลกล้วนประสบกับผลกระทบอันรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิอากาศ ซึ่งหากไม่เริ่มดำเนินการอย่างทันท่วงทีจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่าจะเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป้าหมายที่ 13 มุ่งระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำ ซึ่งควรดำเนินการควบคู่ไปกับการบูรณาการมาตรการด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และความมั่นคงของมนุษย์ เข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ การรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ไม่เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส จำเป็นต้องมีเจตจำนงทางการเมืองที่เข้มแข็ง การลงทุนและการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และความร่วมมือในการดำเนินการอย่างเร่งด่วน หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: WHO Guidance for Climate Resilient and Environmentally Sustainable Health Care Facilities SDGs ในทศวรรษแห่งการดำเนินการอย่างจริงจัง (Decade of Action) เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิง (SDG 5: Gender equality) เป้าหมายที่ 12 แผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (SDG 12: […]
เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: Life below water)
October 12, 2020ผู้คนกว่าสามพันล้านคนใช้ชีวิตขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและชายฝั่ง แต่ในปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่า 30% ของปลาทะเลของโลกได้ถูกใช้ไปเกินขนาด ซึ่งต่ำกว่าระดับที่พวกเขาสามารถผลิตผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้ได้ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สร้างกรอบการทำงานเพื่อการจัดการอย่างยั่งยืนและปกป้องระบบนิเวศทางชายฝั่งและทางทะเลจากภาวะมลพิษจากแหล่งบนบก ตลอดจนจัดการปัญหาผลกระทบของการเป็นกรดของมหาสมุทร เสริมสร้างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของทรัพยากรทะเลผ่านกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นกับมหาสมุทร หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและการสุขาภิบาลที่ยั่งยืน (SDG 6: Clean water and sanitation) เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน (SDG 15: Life on land) เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action)
เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน (SDG 15: Life on land)
October 12, 2020ระบบนิเวศบนบกมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เช่นเดียวกับระบบนิเวศทางทะเล กว่าร้อยละ 80 ของอาหารมนุษย์มาจากพืช และมนุษย์พึ่งพาการเกษตรเป็นแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่สำคัญ นอกจากนี้ ป่าไม้ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญของสิ่งมีชีวิตนับล้านชนิด รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำและอากาศที่สะอาด และมีความสำคัญต่อการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ในทุกๆ ปี เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่ากว่า 13 ล้านเฮกเตอร์ (ประมาณ 81 ล้านไร่) ทั่วโลก และการเสื่อมโทรมของที่ดินส่งผลให้เกิดการกลายเป็นทะเลทรายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่ยากจนทั่วโลก การลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เป้าหมายที่ 15 มุ่งอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน สนับสนุนให้มีการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนและแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อลดความสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งดำเนินการให้มีความมั่นคงทางอาหารและน้ำ และสร้างศักยภาพในด้านการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: Life below water) เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ (SDG 1: No Poverty) เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย […]
เป้าหมายที่ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก (SDG 16: Peace, justice and strong institutions)
October 12, 2020สันติภาพ ความสงบสุข ความมั่นคง สิทธิมนุษยชน และการปกครองที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของหลักนิติธรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม บางภูมิภาคในโลกยังตกอยู่ในวงจรของความขัดแย้งและความรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อการพัฒนาประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ในภาวะความขัดแย้งที่ขาดการเคารพในหลักนิติธรรม ยังมีแนวโน้มของการเกิดความรุนแรงทางเพศ อาชญากรรม และการแสวงผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ สูงขึ้น เป้าหมายที่ 16 มุ่งมั่นที่จะลดความรุนแรงทุกรูปแบบ และเสริมสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและชุมชนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความไม่มั่นคงอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งเสริมหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน การลดอาวุธผิดกฎหมาย และสนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมในสถาบันธรรมาภิบาลระดับโลก หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย (SDG 2: Zero Hunger) เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8: Decent work and economic growth) เป้าหมายที่ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน (SDG 9: Industry innovation […]
เป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG 17: Partnerships for the goals)
October 12, 2020ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเชื่อมต่อกันมากขึ้นการส่งเสริมให้มีการเข้าถึงเทคโนโลยีและความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการแลกเปลี่ยนความคิดและเอื้อให้เกิดการสร้างนวัตกรรม นอกจากนี้ การประสานงานด้านนโยบายเพื่อช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนามีความสามารถในการบริหารจัดการหนี้ รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด มีความสำคัญต่อการพัฒนาและการเติบโตอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 17 มุ่งมั่นที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา (North-South) และความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (South-South) โดยการสนับสนุนแผนระดับชาติเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มอัตราการส่งออกล้วนเป็นองค์ประกอบของการมีระบบการค้าซึ่งอยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์สากล มีความเสมอภาค ยุติธรรม เปิดกว้าง และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ (SDG 1: No Poverty) เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action)
ASEAN SDG Indicators Baseline Report 2020
October 23, 2020รายงาน “ASEAN SDG Indicators Baseline Report 2022” เป็นรายงานเรื่องตัวชี้วัด SDGs ฉบับแรกของอาเซียนที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลฐาน (baseline information) ของติดตามและวัดผล การดำเนินการบรรลุ SDGs ในภูมิภาค และจะช่วยสนับสนุนการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค รายงานฉบับนี้นำเสนอข้อมูลของรัฐสมาชิกอาเซียนที่รวบรวมได้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559-2561 หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: ASEAN SDG Baseline Regional Energy Trends Report 2020: Tracking SDG 7 in the ASEAN Region The 2022 ASEAN SDG Snapshot Report การประเมินผลการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ROAM-X ของยูเนสโก
Guide to Sustainable Tourism. Challenges and Criteria for Evaluation in the Tourism Sector
October 25, 2020คู่มือ “Guide to Sustainable Tourism. Challenges and Criteria for Evaluation in the Tourism Sector” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือใช้ประเมินการดำเนินงานของภาคการท่องเที่ยวต่อ SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย และให้สถานที่ท่องเที่ยวและธุรกิจการท่องเที่ยวจะสามารถตรวจสอบตนเองได้ว่าดำเนินงานสอดคล้องเป็นไปตามข้อกำหนดที่จำเป็นเพื่อให้เกิดความยั่งยืนแล้วหรือไม่ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network (Spain) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: International Health Regulations (IHR): Joint External Evaluation (JEE): Country Implementation Guide Reflect–Share–Act: A Guide to Community-based Education for Sustainable Development GCED: Taking It […]
WHO Technical Guidance Notes on Sendai Framework Reporting for Ministries of Health
October 30, 2020คู่มือ “WHO technical guidance notes on Sendai framework reporting for ministries of health” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ภาคสาธารณสุข โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกับบทบาทที่จะต้องเก็บรวบรวมและรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแต่ละเป้าประสงค์ 7 ประการของกรอบปฏิญญาเซนได (Sendai Framework targets) ตลอดจนกรอบการทำงานอื่น อาทิ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: International Health Regulations (2005): Guidance Document for the State Party Self-assessment Annual Reporting Tool Operational Framework for Building Climate Resilient and […]