Sorting:
Sort Descending
  • ASEAN Gender Outlook: Achieving the SDGs for All and Leaving No Woman and Girl Behind

    รายงาน “ASEAN Gender Outlook: Achieving the SDGs for All and Leaving No Woman and Girl Behind” ชี้ให้เห็นช่องว่างของข้อมูลด้านเพศที่มีอยู่ในภูมิภาค และเรียกร้องให้มีการลงทุนและให้ความสำคัญกับงานด้านข้อมูลมากขึ้น เพื่อติดตามความก้าวหน้าสู่ความเท่าเทียมทางเพศและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับ ASEAN Complementarities Initiative, ASEAN Community Vision 2025 และวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030   หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: World Social Report 2023 | Leaving No One Behind in an Ageing World The Role of Volunteers in […]

  • World Population Prospects 2024: Summary of Results

    รายงาน “World Population Prospects 2024: Summary of Results” เป็นรายงานสรุปผลการประมาณการและการคาดการณ์ประชากรโลกอย่างเป็นทางการของสหประชาชาติ โดยใช้ข้อมูลประชากรจาก 237 ประเทศ/รัฐทั่วโลก ตั้งแต่ปีค.ศ. 1950 จนถึงปัจจุบัน โดยรายงานฉบับนี้ยังได้คาดการณ์จำนวนและสถานการณ์ประชากรไปจนถึงปีค.ศ. 2100 โดยคำนึงถึงผลลัพธ์ที่เป็นไปได้หลายกรณีในระดับโลก ภูมิภาค และระดับชาติ   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ((United Nations Department of Economic and Social Affairs: UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: World Economic Situation and Prospects 2024 State of World Population 2017 State of World Population 2016 State of World Population […]

  • Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda: SDG 7 Road Map for Thailand

    เอกสาร “Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda: SDG 7 Road Map for Thailand” มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนรัฐบาลไทยในการประเมินว่านโยบายและกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่มีอยู่สอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมาย SDG 7 และ การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDCs) ภายในปี ค.ศ. 2030 เสนอมุมมองเชิงยุทธศาสตร์แก่ผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาพลังงานคาร์บอนต่ำของไทย ให้สอดคล้องกับการพยายามระดับโลกเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (UN ESCAP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda SDG 7 Roadmap for Tonga Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda SDG 7 […]

  • Sustainable Development Goals Report 2024

    รายงาน “Sustainable Development Goals Report 2024หรือ รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2024 นำเสนอความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย อิงตามกรอบตัวชี้วัดระดับโลก โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ล่าสุดในปัจจุบัน รายงานประจำปีนี้พบว่ามีเป้าหมายย่อยของ SDGs แค่ 17% เท่านั้นที่จะบรรลุได้ทันตามเป้าหมายเวลาปี 2030 ซ้ำยังพบช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่ขยายกว้างขึ้น รายงานยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเพิ่มการลงทุนและการดำเนินการเพื่อบรรลุ SDGs   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: 2024 Financing for Sustainable Development Report: Financing for Development at a Crossroads World Health Statistics 2024: Monitoring Health for the Sustainable Development […]

  • Child Food Poverty: A Nutrition Crisis in Early Childhood – 2024

    รายงาน “Child Food Poverty: A Nutrition Crisis in Early Childhood – 2024” วิเคราะห์ผลกระทบและสาเหตุของภาวะขาดสารอาหารในเด็กเล็กทั่วโลกเป็นครั้งแรก ครอบคลุมข้อมูลจากเกือบ 100 ประเทศและทุกกลุ่มรายได้ รายงานนี้ให้ภาพรวมสถานการณ์โลกพบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หลายล้านคน ไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและหลากหลายเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีที่สุดในวัยเด็กและอนาคตได้   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Global Trends in Child Monetary Poverty According to International Poverty Lines วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก (The Climate Crisis is a Child Rights Crisis: Children’s Climate Risk […]

  • Progress on Drinking Water, Sanitation and Hygiene in Schools 2015-2023: Special Focus on Menstrual Health

    รายงาน “Progress on Drinking Water, Sanitation and Hygiene in Schools 2015-2023: Special Focus on Menstrual Health” นำเสนอข้อมูลสถานการณ์น้ำสะอาด สุขาภิบาล และสุขอนามัย (Wash and Sanitation, Hygiene) ในโรงเรียนจนถึงปีค.ศ. 2023 ทั้งระดับชาติ ภูมิภาค และระดับโลก โดยมุ่งเน้นเป็นพิเศษเรื่องสุขอนามัยขณะมีประจำเดือน   หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Progress on Drinking Water, Sanitation and Hygiene in Schools: Special focus on COVID-19 […]

  • World Health Statistics 2024: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs)

    รายงาน “World Health Statistics 2024: Monitoring Health for the SDGs, sustainable development goals” เป็นรายงานความก้าวหน้าตัวชี้วัดด้านสุขภาพประจำปีที่จัดทำมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 โดยในฉบับปี 2024 นี้ จะเป็นการทบทวนสถานะล่าสุดของตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Indicators) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพมากกว่า 50 ตัวชี้วัดที่อยู่ในเป้าหมายต่าง ๆ และสถานะตามแผนการดำเนินงานขององค์การอนามัยโลก ฉบับที่ 13 (The Thirteenth General Programme of Work: GPW 13) ของทุกประเทศทั่วโลก พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบของโควิด-19 ที่ทำให้แนวโน้มความก้าวหน้าที่ดีขึ้นของอายุขัยคาดเฉลี่ยแรกเกิดและอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีถอยหลังลง   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: World Health Statistics 2021: Monitoring […]

  • รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567

    “รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 11 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 10 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ภายใต้ธีมหลัก “ความเครียด ภัยเงียบของสังคมไทย”   หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2564 รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565 รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2566 Stronger Collaboration, Better Health: 2020 Progress Report on the Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for […]

  • สถานการณ์และผลการดำเนินงานควบคุมวัณโรคของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 – 2566

    รายงาน “สถานการณ์และผลการดำเนินงานควบคุมวัณโรคของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 – 2566” เก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์วัณโรคในประเทศไทย นำเสนอผลการดำเนินงานของหน่วยบริการที่ให้การรักษาวัณโรคทั่วประเทศที่บันทึกในระบบโปรแกรมรายงานข้อมูลวัณโรคของประเทศ (National Tuberculosis Information Program: NTIP)   หน่วยงานที่จัดทำ: กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2566 การประกันภัยที่ทุกคนเข้าถึงได้และการเงิน เพื่อการบริหารความเสี่ยงในประเทศไทย ภาพรวมและทิศทาง พ.ศ. 2566 รายงานสถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ.2566 รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2566

  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

    IMF ทำงานส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานด้วยการให้ความช่วยเหลือทางการเงินชั่วคราวและความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่ประเทศต่าง ๆ ปัจจุบัน IMF มียอดสินเชื่อคงค้างใน 74 ประเทศ ถึง 28,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ Related posts: กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    สำนักเลขาธิการ UNFCCC (การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ) ก่อตั้งขึ้นในปี 1992 เมื่อ 197 ประเทศรับรองกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) โดบทำงานในฐานะหน่วยงานของสหประชาชาติที่ได้รับมอบหมายให้รับมือต่อการคุกคามของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Related posts: No related posts.

  • Press and Planet in Danger: Safety of Environmental Journalists; Trends, Challenges and Recommendations

    รายงาน “Press and Planet in Danger: Safety of Environmental Journalists; Trends, Challenges and Recommendations” เปิดเผยกรณีตัวอย่างที่สื่อมวลชนและสำนักข่าวที่รายงานเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมทั่วโลกระหว่างปี 2009-2023 ที่ตกเป็นเป้าหมายของการประทุษร้าย ทั้งด้วยการฆาตกรรม ความรุนแรงทางกาย การคุมขังและการจับกุม การโจมตีทางออนไลน์ หรือการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ขณะเดียวกัน ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวก็พบการเพิ่มขึ้นของข้อมูลเท็จออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญ รายงานฉบับนี้ยังเรียกร้องให้มีการสนับสนุนการทำงานของนักข่าวสายสิ่งแวดล้อมและการกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ดีขึ้น   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: People and Planet: Addressing the Interlinked Challenges of Climate Change, Poverty and Hunger in Asia and the Pacific Impact Assessment of Climate […]

  • Are We Getting there? A Synthesis of UN System Evaluations of SDG 5

    รายงาน “Are We Getting there? A Synthesis of UN System Evaluations of SDG 5” นำเสนอผลสังเคราะห์ผลการประเมินการทำงานข้ามหน่วยงานของหน่วยงานในระบบสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 5 ความเท่าเทียมทางเพศ เพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการทำงานที่ประสบความสำเร็จ ช่องว่างของข้อมูล และบทเรียนเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของ SDG 5   หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women, โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP), กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA), องค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และ โครงการอาหารโลก (WFP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: SDG 6 Synthesis Report 2018 on Water and Sanitation – Executive Summary SDG 6 Synthesis Report 2018 […]

  • The Impact of Climate Change on Education and What to do About it

    รายงานการศึกษา “The Impact of Climate Change on Education and What to do About it” มุ่งเน้นไปที่การค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการศึกษา โดยเฉพาะผลกระทบเชิงลบของสภาพอากาศเลวร้ายที่มีต่อผลลัพธ์ด้านการศึกษา งานวิจัยนี้มุ่งเน้นย้ำถึงความเร่งด่วนที่รัฐบาลจำเป็นต้องให้ความสำคัญและดำเนินกลยุทธ์เพื่อปกป้องระบบการศึกษาจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมเชิงบวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การลดความยากจน และความเป็นปึกแผ่นสมานฉันท์ในสังคม (social cohesion)   หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand Climate Change and Climate Finance: Current Experience and Future Directions The Impact of Disasters and […]

  • รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566/67

    รายงาน “รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566/67” เป็นฉบับแปลภาษาไทยของรายงาน “The State of the World’s Human Rights 2023/24” นำเสนอข้อมูลภาพรวมสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในระดับโลก ผ่านข้อมูลจาก 155 ประเทศ ใน 5 ภูมิภาค โดยชี้ให้เห็นว่าโลกกำลังเผชิญกับผละกระทบจากความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้นและระบบกฎหมายระหว่างประเทศที่เกือบจะล่มสลาย การปราบปรามสิทธิมนุษยชนและการละเมิดหลักเกณฑ์ระหว่างประเทศ และยังพบอีกว่าการแย่งชิงความเป็นใหญ่ของประเทศมหาอำนาจยิ่งทำให้วิกฤตสภาพภูมิอากาศตกอยู่ในความรุนแรง     หน่วยงานที่จัดทำ: Amnesty International ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่     Related posts: เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2566 การประกันภัยที่ทุกคนเข้าถึงได้และการเงิน เพื่อการบริหารความเสี่ยงในประเทศไทย ภาพรวมและทิศทาง พ.ศ. 2566 รายงานสถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ.2566 รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2563

  • State of the Climate in Asia 2023

    รายงาน “State of the Climate in Asia 2023” นำเสนอสถานการณ์ภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชีย โดยเน้นย้ำถึงอัตราเร่งของตัวชี้วัดสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิผิวน้ำ การละลายของธารน้ำแข็ง และระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อสังคม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศในภูมิภาค   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: 2023 State of Climate Services: Health State of the Global Climate 2023 Climate Resilient Practices – Typology and Guiding Material for Climate Risk Screening วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก (The Climate Crisis […]

  • Ensuring Safety and Health at Work in a Changing Climate

    รายงาน “Ensuring Safety and Health at Work in a Changing Climate” ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบร้ายแรงต่อความปลอดภัยและสุขภาพของแรงงานในทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะต้องเผชิญกับอากาศที่ร้อนจัดและมลพิษทางอากาศ โดยค้นพบว่าปัญหาสุขภาพของแรงงาน ทั้งโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ ภาวะไตทำงานผิดปกติ และความเจ็บป่วยด้านสุขภาพจิต มีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รายงานยังศึกษาการตอบสนองของแต่ละประเทศ ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงหรือสร้างกฎหมาย ระเบียบ และแนวทางเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ เช่น มาตรการประหยัดพลังงานในสภาพแวดล้อมการทำงาน เป็นต้น     หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Fair Share for Health and Care: Gender and the Undervaluation of Health and Care Work Global Status Report […]

  • UNTAPPED: Collective Intelligence for Climate Action

    รายงาน “UNTAPPED: Collective Intelligence for Climate Action” เป็นรายงานฉบับแรกที่ศึกษาว่า “ปัญญารวมหมู่” (collective intelligence) สามารถยกระดับการรับมือกับปัญหาโลกร้อนได้อย่างไร ผ่านการระดมข้อมูลสภาพภูมิอากาศแบบเรียลไทม์ในพ้นที่อย่างละเอียด รวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้คนจำนวนมากขึ้นและมุมมองที่หลากหลายขึ้น ให้ข้อมูลครอบคลุมพื้นที่กว่าประเทศในกลุ่มประเทศโลกใต้ (Global South) กว่า 100 ประเทศ ซึ่งรวมไปถึงประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries: LDCs) 36 ประเทศและกลุ่มรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก (Small Island Developing States: SIDS) 38 ประเทศ วิเคราะห์โดย UNDP Accelerator Labs Network   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Wage Report 2008/09: Minimum wages and collective bargaining: Towards […]

  • Gendered Impacts of Heat Waves and Drought in Asia and the Pacific: A Review in the Context of El Nino

    เอกสารข้อสรุปเชิงนโยบาย “Gendered Impacts of Heat Waves and Drought in Asia and the Pacific: A review in the context of El Nino” ศึกษาผลกระทบของคลื่นความร้อนและภัยแล้งอันเป็นผลจากปรากฏการณ์เอล นีโญ (El Niño) ต่อความมั่นคงทางอาหาร ผลผลิตทางเศรษฐกิจ และงานดูแลของผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก รวมถึงเน้นย้ำถึงอัตราการเกิดความรุนแรงบนพื้นฐานเพศสภาพและความรุนแรงทางเพศที่น่าอันตรายในช่วงเวลาที่ภูมิภาคนี้ต้องเผชิญกับวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศ เอกสารฉบับนี้ยังเสนอแนะแนวทางเชิงรุกที่คำนึงถึงมิติด้านเพศสภาพในการแก้ปัญหาทั้งด้านมนุษยธรรมและการลดความเสี่ยงภัยพิบัติที่เกิดต่อผู้หญิง     หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Gendered Impacts of Climate Change: Evidence from Asia Review on the Impacts of Climate Change […]

  • Guide for Adaptation and Resilience Finance

    เอกสาร “Guide for Adaptation and Resilience Finance” เป็นคู่มือเพื่อสร้างความสามารถในการปรับตัวและเสริมสร้างความสามารถในการตั้งรับและฟื้นคืนทางการเงินเมื่อต้องรับมือกับภัยพิบัติ โดยเสนอแนวทางในการบูรณาการการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Disaster Risk Reduction: DRR) เข้ากับแผนการเงินแห่งชาติ ผ่านหลายกิจกรรมที่แนะนำมากกว่า 100 รายการที่สามารถระดมทุนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัว เช่น การพัฒนาพืชที่ทนต่อสภาวะอากาศ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของโรงพยาบาลรัฐ และการอนุรักษ์ป่าชายเลน ด้วยการลงทุนเหล่านี้ ประเทศต่าง ๆ สามารถจัดการความเสี่ยงทางการเงินจากภัยพิบัติและเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับนักลงทุนได้   หน่วยงานที่จัดทำ: สํานักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UN Office for Disaster Risk Reduction: UNDRR) ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด และบริษัทผู้สอบบัญชี KPMG ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Health System Resilience Indicators: An Integrated Package for Measuring and Monitoring Health System […]