รายงาน

Dec
01

สิทธิและแนวทางการพัฒนาสถานะบุคคลของเด็กอพยพโยกย้ายถิ่นฐานในประเทศไทย

เอกสาร “สิทธิและแนวทางการพัฒนาสถานะบุคคลของเด็กอพยพโยกย้ายถิ่นฐานในประเทศไทย” ศึกษารวบรวมกลุ่มผู้ติดตามผู้ลี้ภัย ผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ และกลุ่มอื่น ๆ ที่มีปัญหาเรื่องสถานะบุคคลตามกฎหมายของประเทศไทย โดยสรุปความสำคัญในการพัฒนาสถานะบุคคล สิทธิที่กฎหมายรับรอง และกฎหมายนโยบายที่เกี่ยวข้องพอสังเขปเพื่อให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้ลี้ภัย แรงงานข้ามชาติหรือกลุ่มอื่น ๆ จะได้ศึกษาข้อมูลด้านสถานะบุคคล และสิทธิตามกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับตนเองเบื้องต้นได้   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ประจำประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

Dec 01 2022
รายงาน
DETAIL
Nov
23

The 2022 ASEAN SDG Snapshot Report

รายงาน “ASEAN SDG Snapshot Report” ประจำปีค.ศ. 2022 ติดตามและแสดงผลการประเมินสถานะความก้าวหน้าของ SDGs ของประเทศสมาชิกอาเซียน แม้จะมีความท้าทายอันเกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ตาม     หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Nov 23 2022
รายงาน
DETAIL
Oct
18

รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2564 (2021 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development)

รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2564 (2021 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development) หรือรายงาน VNR นำเสนอความก้าวหน้า อุปสรรค และประสบการณ์ในการขับเคลื่อน SDGs ของประเทศไทย   หน่วยงานที่จัดทำ: กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Oct 18 2022
รายงาน
DETAIL
Oct
01

รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2564-2565

รายงานการดำเนินการด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ.​ 2564-2565   หน่วยงานที่จัดทำ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

Oct 01 2022
รายงาน
DETAIL
Oct
01

Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand

รายงาน “Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand” หรือ รายงาน “การประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมต่อเด็กในประเทศไทย” จะชี้ให้เห็นว่าเด็ก ๆ ทีเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ ภัยแล้ง คลื่นความร้อน และน้ำท่วม มากที่สุด อาศัยอยู่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหลือและภาคใต้ของประเทศไทย แผนที่ความเสี่ยงจากการศึกษาฉบับนี้เผยให้เห็น 10 จังหวัด (อุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีษะเกษ นครศรีธรรมราช นาราธิวาส สุรินทร์ สงขลา บุรีรัมย์ ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี) มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2578 โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ RCP4.5 (มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับปานกลาง)   หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Oct 01 2022
รายงาน
DETAIL
Sep
13

Overcoming Data Graveyards in Official Statistics

รายงาน “Overcoming Data Graveyards in Official Statistics” ให้ความชัดเจนด้านแนวคิดเกี่ยวกับความท้าทายและแนวทางในการพัฒนาการใช้ข้อมูลสถิติเพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบายและแนวทางการวิจัยในอนาคต     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ OPEN DATA WATCH ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Sep 13 2022
รายงาน
DETAIL
Sep
07

Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2022

รายงาน “Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2022” นำเสนอการวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของประเด็นความเท่าเทียมทางเพศในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย และเน้นย้ำถึงแนวโน้ม ช่องว่าง อุปสรรคของการทำงานเพื่อบรรลุความเท่าเทียมทางเพศภายในปีค.ศ. 2030 โดยรายงานฉบับนี้แสดงข้อมูลให้เห็นว่าด้วยอัตราความก้าวหน้าในปัจจุบัน อาจต้องใช้เวลาเกือบ 300 ปีจึงจะบรรลุความเท่าเทียมทางเพศอย่างสมบูรณ์     หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women และ สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Sep 07 2022
รายงาน
DETAIL
Sep
06

Addressing Mental Health in Thailand

รายงาน “Addressing mental health in Thailand” เป็นเอกสารเพื่อประกอบการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Roundtable) สมัยที่ 75 ของคณะกรรมการองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO Regional Committee for South-East Asia) นำเสนอข้อมูลภาพรวมของปัญหาสุขภาพจิตและการบริการด้านสุขภาพจิตของประเทศไทยล่าสุด   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก (WHO South-East Asia) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่    

Sep 06 2022
รายงาน
DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP