Resource

Feb
05

SDGs กับภาคธุรกิจ

ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เรามักให้ความสำคัญกับการทำกำไรสูงสุด โดยละเลยต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหามลพิษทางอากาศ และทางทะเล โลกร้อน การใช้แรงงานผิดกฎหมาย และการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้น การดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Business จึงกลายมาเป็นแนวปฏิบัติเพื่อบรรเทาผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้น และส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตไปพร้อมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนได้ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :    

DETAIL
Feb
05

ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)

ประเทศไทยและประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นกว่าเดิมและคุณภาพชีวิตของทุกคนในโลกให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น บรรลุการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยวาระการพัฒนาดังกล่าว ประกอบด้วย 17 เป้าหมายหลัก 169 เป้าหมายย่อย ซึ่งเชื่อมโยงเกื้อหนุนกัน และกำหนดให้มีตัวชี้วัดเพื่อประเมินความก้าวหน้าของการพัฒนา โดย SDGs ทั้ง 17 เป้าหมายหลัก สามารถจัดกลุ่มตามปัจจัยที่เชื่อมโยงกันใน 5 มิติ คือ มิติการพัฒนาคน มิติสิ่งแวดล้อม มิติเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง มิติสันติภาพและความยุติธรรม และมิติความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :  

DETAIL
Feb
05

SDGs กับอาหารริมทาง

อาหารริมทาง (Street Food) มีส่วนสำคัญที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางมายังประเทศไทย ด้วยความหลากหลายของเมนูอาหาร ผนวกกับรสชาติที่โดดเด่น ราคาที่ย่อมเยา จึงทำให้ครองใจนักท่องเที่ยวทั่วโลก แต่ผลกระทบจากการท่องเที่ยวและการใช้ชีวิตประจำวันของเราก่อให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย ปัญหาขยะที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการใช้ภาชนะฟุ่มเฟือย และการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง ถึงเวลาแล้วที่เราจะพลิกโฉม Street food ของเราให้มีสุขอนามัยที่ดี สะอาดปลอดภัย ไม่สร้างมลภาวะ และสร้างความประทับใจให้แก่ผู้บริโภค หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Feb
05

SDGs กับเกษตรกร

เกษตรกรรมยั่งยืน คือ ระบบเกษตรที่ครอบคลุมวิถีชีวิตเกษตรกร กระบวนการผลิต และการจัดการทุกรูปแบบเพื่อให้เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ ซึ่งนำไปสู่การพึ่งตนเองและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค ซึ่งการเปลี่ยนจากการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวแบบเดิม ให้มีความหลากหลายมากขึ้น หรือการลดใช้สารเคมี จะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการเกษตรได้ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Feb
05

SDGs กับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+)

ประเทศไทยมีประชากรกลุ่ม LGBTQI+ จำนวนกว่า 4 ล้านคน คิดเป็น 6% ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด แม้ว่าในมุมมองของชาว LGBTQI+ ทั่วโลกจะเห็นว่าประเทศไทยค่อนข้างจะเปิดกว้างในเรื่องความหลากหลายทางเพศ และให้การยอมรับชาว LGBTQI+ อย่างเต็มที่ แต่การวิจัยจากกลุ่มธนาคารโลก ร่วมกับคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบริษัท Love Frankie ระบุว่ากลุ่มคนข้ามเพศ 77% หญิงรักหญิง 62.5% และชายรักชาย 49% ถูกปฏิเสธการรับเข้าทำงาน เนื่องจากความแตกต่างทางเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไม่ได้มีเพียงแค่ในสังคมที่ทำงานเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับชาว LGBTQI+ โดยทั่วไป หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดีโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Feb
05

SDGs กับชีวิตคนเมือง

คุณภาพชีวิตที่ดี เริ่มได้ง่ายๆด้วยการจัดสรรเวลาในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การกิน การออกกำลังกาย และการพักผ่อนให้เกิดความสมดุลในการใช้ชีวิต การใช้ชีวิตในเมืองใหญ่สร้างผลกระทบต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลายด้าน เช่น มลภาวะทางอากาศ น้ำ ปัญหาขยะต่าง ๆ รวมถึงสุขภาพของคนเมือง หากคนเมืองเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่าง จะช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดีโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Jan
26

SDGs ในทศวรรษแห่งการดำเนินการอย่างจริงจัง (Decade of Action)

เหลือเวลาอีกเพียง 10 ปี ที่ประชาคมโลกจะต้องร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่ออนาคตที่ดีกว่า การจะบรรลุ SDGs ทั้งในระดับโลก ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น ภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาคส่วนอื่นๆ ในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :  

DETAIL
Jan
21

Advancing SDG 5 in Asia and the Pacific: An analysis of Beijing+25 National Review Reports

รายงาน “Advancing SDG 5 in Asia and the Pacific: An analysis of Beijing+25 national review reports” ประกอบด้วยบทสรุปความท้าทาย ความสำเร็จ และคีย์สำคัญในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศและสริมอำนาจของเพศหญิง นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่แต่ละประเทศควรดำเนินการในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยมีเป้าหมายที่จะเร่งให้เบรรลุความเท่าเทียมทางเพศในระดับภูมิภาค   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 21 2021
รายงาน
DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP