Climate Science Literacy: Media toolkit in support of the Sustainable Development Goals
“Climate Science Literacy: Media toolkit in support of the Sustainable Development Goals” หรือ “ชุดความรู้สื่อประสมเรื่องภูมิอากาศวิทยาเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” เป็นโปสเตอร์ชุดความรู้สื่อประสมเรื่องภูมิอากาศวิทยานี้จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในขั้นพื้นฐานเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และได้อธิบายความเสี่ยงและผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลักษณะโดยรวม เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของวิกฤตนี้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่
สุรชาติ ชาวประมงผู้พิชิตคลื่นสึนามิ
หนังสือภาพ “สุรชาติ ชาวประมงผู้พิชิตคลื่นสึนามิ” เป็นส่วนหนึ่งของ UNDP ‘Tsunami Story Books’ ชุดของเรื่องราวชีวิตจริงจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจถึงความรุนแรงของสึนามิและวิธีรับมือให้ดียิ่งขึ้น แต่ละเรื่องประกอบด้วยฮีโร่ในชุมชนที่แตกต่างกัน และอธิบายวิธีที่เด็ก ๆ สามารถปกป้องตนเอง ครอบครัว และเพื่อนฝูงจากสึนามิ และจัดการกับอารมณ์ที่ยากลำบากเมื่อต้องเผชิญกับสึนามิ เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6-11 ปี หน่วยงานที่จัดทำ: UNDP Asia-Pacific ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
National Cooling Action Plan Methodology
รายงาน “National Cooling Action Plan Methofology” นำเสนอหลักการแบบองค์รวมสำหรับการพัฒนาแผนปฏิบัติการการใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (NCAP) ซึ่งเอกสารฉบับนี้ซึ่งสามารถปรับใช้ได้กับบริบทในแต่ละประเทศ โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ใช้ระบบการทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Global Citizenship Education: A Policymaking Awareness and Advocacy Handbook
คู่มือ “Global Citizenship Education: A Policymaking Awareness and Advocacy Handbook” นำเสนอแนวทางเบื้องต้นเพื่อสนับสนุนผู้กำหนดนโยบายในการบูรณาการการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship Education: GCED) เข้ากับนโยบายและระบบการศึกษาในประเทศ พร้อมตัวอย่างจากหลายประเทศในเอเชียและแปซิฟิก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
ESCAP Multi-Donor Trust Fund for Tsunami, Disaster and Climate Preparedness
รายงาน “ESCAP Multi-Donor Trust Fund for Tsunami, Disaster and Climate Preparedness” ประจำปี 2020 ฉบับนี้กล่าวถึงความคืบหน้าของการจัดตั้งการป้องกันภัยสึนามิรวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ภายใต้กองทุน กองทุน ESCAP Trust Fund for Tsunami, Disaster and Climate Preparedness ซึ่งจะออกเป็นประจำทุกปีเพื่อรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงาน หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Reflect–Share–Act: A Guide to Community-based Education for Sustainable Development
คู่มือ “Reflect–Share–Act: A Guide to Community-based Education for Sustainable Development” นำเสนอการใช้กระบวนการเรียนรู้ “สะท้อน-แบ่งปัน-ลงมือทำ” เพื่อการค้นหาและกำหนดนิยามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนบริบทของแต่ละชุมชนร่วมกับสมาชิกในชุมชน ผ่านข้อมูลประสบการณ์จริงของชุมชนใน 5 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The impact of disasters and crises on agriculture and food security: 2021
รายงานสำรวจวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติ ที่กระทบต่อภาคการเกษตรและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ การปศุสัตว์ การป่าไม้ การประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำ ทั้งในลักษณะที่เกิดถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น โดยได้ประเมินความเสียหายและความสูญเสียของภาคเกษตรกรรม ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหารและการพัฒนาที่สำคัญ โดยเฉพาะสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ต่ำ หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Building agricultural resilience to natural hazard-induced disasters
Insights from country case studies รายงานโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ร่วมกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) แนะนำแนวทางการจัดการผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีต่อภาคเกษตรกรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เข้ามาเป็นตัวเร่งให้ผลกระทบเหล่านี้รุนแรงขึ้นจนไม่สามารถดำเนินการอย่างที่เคยทำมาได้ รายงานฉบับนี้เป็นการรวบรวม 7 กรณีศึกษาจากประเทศชิลี อิตาลี ญี่ปุ่น นามิเบีย นิวซีแลนด์ ตุรกี และสหรัฐอเมริกา ที่รัฐบาลรวมถึงเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในการจัดการความเสี่ยง ป้องกัน ลดผลกระทบ และฟื้นฟูให้ภาคเกษตรกรรมมีภูมิต้านทานต่อภัยพิบัติ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่