สื่อนำเสนอ อินโฟกราฟิก

Oct
12

เป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG 17: Partnerships for the goals)

ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเชื่อมต่อกันมากขึ้นการส่งเสริมให้มีการเข้าถึงเทคโนโลยีและความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการแลกเปลี่ยนความคิดและเอื้อให้เกิดการสร้างนวัตกรรม นอกจากนี้ การประสานงานด้านนโยบายเพื่อช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนามีความสามารถในการบริหารจัดการหนี้ รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด มีความสำคัญต่อการพัฒนาและการเติบโตอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 17 มุ่งมั่นที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา (North-South) และความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (South-South) โดยการสนับสนุนแผนระดับชาติเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มอัตราการส่งออกล้วนเป็นองค์ประกอบของการมีระบบการค้าซึ่งอยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์สากล มีความเสมอภาค ยุติธรรม เปิดกว้าง และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก (SDG 16: Peace, justice and strong institutions)

สันติภาพ ความสงบสุข ความมั่นคง สิทธิมนุษยชน และการปกครองที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของหลักนิติธรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม บางภูมิภาคในโลกยังตกอยู่ในวงจรของความขัดแย้งและความรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อการพัฒนาประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ในภาวะความขัดแย้งที่ขาดการเคารพในหลักนิติธรรม ยังมีแนวโน้มของการเกิดความรุนแรงทางเพศ อาชญากรรม และการแสวงผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ สูงขึ้น เป้าหมายที่ 16 มุ่งมั่นที่จะลดความรุนแรงทุกรูปแบบ และเสริมสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและชุมชนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความไม่มั่นคงอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งเสริมหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน การลดอาวุธผิดกฎหมาย และสนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมในสถาบันธรรมาภิบาลระดับโลก หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน (SDG 15: Life on land)

ระบบนิเวศบนบกมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เช่นเดียวกับระบบนิเวศทางทะเล กว่าร้อยละ 80 ของอาหารมนุษย์มาจากพืช และมนุษย์พึ่งพาการเกษตรเป็นแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่สำคัญ นอกจากนี้ ป่าไม้ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญของสิ่งมีชีวิตนับล้านชนิด รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำและอากาศที่สะอาด และมีความสำคัญต่อการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ในทุกๆ ปี เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่ากว่า 13 ล้านเฮกเตอร์ (ประมาณ 81 ล้านไร่) ทั่วโลก และการเสื่อมโทรมของที่ดินส่งผลให้เกิดการกลายเป็นทะเลทรายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่ยากจนทั่วโลก การลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เป้าหมายที่ 15 มุ่งอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน สนับสนุนให้มีการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนและแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อลดความสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งดำเนินการให้มีความมั่นคงทางอาหารและน้ำ และสร้างศักยภาพในด้านการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: Life below water)

ผู้คนกว่าสามพันล้านคนใช้ชีวิตขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและชายฝั่ง แต่ในปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่า 30% ของปลาทะเลของโลกได้ถูกใช้ไปเกินขนาด ซึ่งต่ำกว่าระดับที่พวกเขาสามารถผลิตผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้ได้ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สร้างกรอบการทำงานเพื่อการจัดการอย่างยั่งยืนและปกป้องระบบนิเวศทางชายฝั่งและทางทะเลจากภาวะมลพิษจากแหล่งบนบก ตลอดจนจัดการปัญหาผลกระทบของการเป็นกรดของมหาสมุทร เสริมสร้างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของทรัพยากรทะเลผ่านกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นกับมหาสมุทร หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action)

ทุกประเทศในโลกล้วนประสบกับผลกระทบอันรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิอากาศ ซึ่งหากไม่เริ่มดำเนินการอย่างทันท่วงทีจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่าจะเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป้าหมายที่ 13 มุ่งระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำ ซึ่งควรดำเนินการควบคู่ไปกับการบูรณาการมาตรการด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และความมั่นคงของมนุษย์ เข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ การรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ไม่เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส จำเป็นต้องมีเจตจำนงทางการเมืองที่เข้มแข็ง การลงทุนและการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และความร่วมมือในการดำเนินการอย่างเร่งด่วน หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 12 แผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (SDG 12: Responsible consumption and production)

รับรองแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน การที่จะบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นต้องลดรอยเท้าทางนิเวศลงอย่างเร่งด่วน โดยการเปลี่ยนแปลงการผลิตและการบริโภคสินค้าและทรัพยากร การเกษตรกรรมเป็นผู้ใช้น้ำรายใหญ่ที่สุดในโลก และในขณะนี้มีการจัดการน้ำให้ถึง 70% ของผู้ใช้น้ำทั้งหมด การจัดการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและวิธีการกำจัดขยะที่เป็นพิษและมลพิษเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายนี้ การส่งเสริมให้มีการรีไซเคิลและลดขยะมูลฝอยในอุตสาหกรรม ธุรกิจและผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญเท่าเทียมกับการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาเพื่อก้าวเข้าสู่แผนการบริโภคที่ยั่งยืนภายในปี 2573 หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน (SDG 11: Sustainable cities and communities)

การเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองในประเทศที่กำลังพัฒนา ควบคู่ไปกับการเพิ่มขึ้นในการย้ายถิ่นฐานจากชนบทสู่เมือง ซึ่งนำไปสู่ความเจริญในเมืองขนาดใหญ่ ในปี 2553 มี 10 เมืองใหญ่ที่มีพลเมืองจำนวน 10 ล้านคนหรือมากกว่านั้น ในปี 2557 มีเมืองขนาดใหญ่ถึง 28 เมือง ผู้อยู่อาศัยรวม 453,000,000 คน ความยากจนมักจะกระจุกตัวอยู่ในเมือง รัฐบาลระดับชาติและระดับท้องถิ่นต้องพยายามจัดการเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรในพื้นที่เหล่านั้น การทำให้เมืองปลอดภัยและยั่งยืน หมายถึง การทำให้เข้าถึงที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยและเหมาะสมและพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของชุมชนแออัด นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการลงทุนเรื่องการขนส่งสาธารณะ การสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวและการปรับปรุงการวางผังเมืองและการจัดการในลักษณะแบบมีส่วนร่วม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :  

DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ (SDG 10: Reduced Inequalities)

ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยร้อยละ 10 ของผู้ร่ำรวยที่สุด มีรายได้เป็นร้อยละ 40 ของรายได้รวมทั่วโลก ในขณะที่ร้อยละ 10 ของคนจนที่สุด มีรายได้เพียงร้อยละ 2 – 7 ของรายได้รวมทั่วโลกและพบว่าในประเทศกำลังพัฒนา ความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ตามการเติบโตของประชากร การจัดการกับปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้นจำเป็นต้องมีนโยบายที่เหมาะสมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับประชากรกลุ่มที่มีรายได้ต่ำ และส่งเสริมความครอบคลุมทางเศรษฐกิจให้กับทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกทางเพศ เชื้อชาติ หรือชาติพันธุ์ นอกจากนี้ ยังต้องมีความร่วมมือระดับโลกเพื่อปรับปรุงกฎระเบียบและกำกับดูแลตลาดและสถาบันการเงิน รวมทั้งส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภูมิภาคที่มีความจำเป็นมากที่สุดการอำนวยความสะดวกการอพยพย้ายถิ่นที่ปลอดภัยและการเคลื่อนย้ายของผู้คนก็เป็นปัจจัยสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP