Sorting:
Sort Descending
  • คู่มือตัวชี้วัดผลลัพธ์การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

    “คู่มือตัวชี้วัดผลลัพธ์การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นหลักการและแนวทางในการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน ให้ข้อมูลด้านการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและสนองตอบต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อย่างเป็นรูปธรรม     หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจพอเพียงและลดความเหลื่อมล้ำ หอการค้าไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: WHO Guidance for Climate Resilient and Environmentally Sustainable Health Care Facilities International Health Regulations (IHR): Joint External Evaluation (JEE): Country Implementation Guide แนวทางการจัดทำแผนอาหารและโครงการระบบอาหารในระดับชุมชนท้องถิ่น Online Employability Resources for Youth 2021

  • คู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ

    คู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ คู่มือ “Active Learning on Biodiversity and Climate Change: ABC” เพื่อช่วยในการสอนเด็กอายุ 7-18 ปีเกี่ยวกับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คู่มือนี้พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของหน่วยงานรัฐบาล องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) องค์กรภาคประชาสังคม (CSOs) และเครือข่ายเยาวชน โดยประกอบด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุกซึ่งสามารถปรับให้เหมาะสมกับบริบทในท้องถิ่นได้   หน่วยงานที่จัดทำ: กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม, องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: คู่มือแนวทางการออกแบบและพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ Child-responsive Urban Policies, Laws and Standards: A Guidance On Behalf of My Delegation: A Survival Guide for New and Lonely Climate Change Negotiators Operational Framework […]

  • คู่มือการลดก๊าซเรือนกระจก (สำหรับประชาชน)

    “คู่มือการลดก๊าซเรือนกระจก (สำหรับประชาชน)” จัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความสำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจก และเพื่อสร้างควาสามารถในการส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป     หน่วยงานที่จัดทำ: กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่     Related posts: Communities in Action – Lifelong Learning for Sustainable Development Preparing Teachers for Global Citizenship Education: A Template คู่มือพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน Guide to Sustainable Tourism. Challenges and Criteria for Evaluation in the Tourism Sector

  • คู่มือกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

    “คู่มือกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม” ให้ข้อมูลรายละเอียดของ ‘กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม’ ซึ่งเดิมคือกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม หลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งจะมีหน้าที่รับผิดชอบ ภารกิจด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของประเทศโดยตรง     หน่วยงานที่จัดทำ: กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่     Related posts: Communities in Action – Lifelong Learning for Sustainable Development Preparing Teachers for Global Citizenship Education: A Template คู่มือประกอบการฝึกอบรมว่าด้วย การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน SDG Impact Assessment Tool

  • ความเชื่อมโยงระหว่างแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

    เอกสาร “ความเชื่อมโยงระหว่างแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” เปรียบเทียบความเชื่อมโยงระหว่าง 169 เป้าหมายย่อย (target) ของ SDGs กับ 37 เป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 จำนวน 23 ฉบับ (แผนระดับที่ 2) และ 140 เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทฯ (Y1) เพื่อประมวลความสอดคล้องการกำหนดทิศทางการพัฒนาระดับประเทศกับระดับนานาชาติ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ     หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: SDGs Mega Trends 2021: COVID-19 and a Great Reset to SDGs in Action แผนที่นำทางเพื่อการพัฒนา SDGs ในระดับพื้นที่: การดำเนินการ และการติดตามผล […]

  • ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)

    ประเทศไทยและประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นกว่าเดิมและคุณภาพชีวิตของทุกคนในโลกให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น บรรลุการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยวาระการพัฒนาดังกล่าว ประกอบด้วย 17 เป้าหมายหลัก 169 เป้าหมายย่อย ซึ่งเชื่อมโยงเกื้อหนุนกัน และกำหนดให้มีตัวชี้วัดเพื่อประเมินความก้าวหน้าของการพัฒนา โดย SDGs ทั้ง 17 เป้าหมายหลัก สามารถจัดกลุ่มตามปัจจัยที่เชื่อมโยงกันใน 5 มิติ คือ มิติการพัฒนาคน มิติสิ่งแวดล้อม มิติเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง มิติสันติภาพและความยุติธรรม และมิติความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :   Related posts: World Health Statistics 2021: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs) World Health Statistics 2020: Monitoring […]

  • ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม และงานท่ีมีคุณค่าสำหรับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ในห้วงการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19

    ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย “แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม และงานท่ีมีคุณค่าสำหรับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ในห้วงการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19” เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ผ่านกระบวนการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนเสียหลากหลายกลุ่ม ที่จัดโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงยุติธรรม โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางแก่รัฐบาลไทยในการทบทวน พัฒนา และดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายถิ่นฐานของแรงงานข้ามชาติที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: Measuring Children’s Well-being: the Child Flourishing and Futures Index Putting Children at the Centre of the Sustainable Development Goals Small Island Developing States Response to COVID-19 Lessons from COVID-19 for […]

  • ข้อคิดเห็นของเยาวชนและนายจ้างเกี่ยวกับโอกาสในการมีงานทำของเยาวชนไทย (Voices of youth and employers on youth employability in Thailand)

    “ข้อคิดเห็นของเยาวชนและนายจ้างเกี่ยวกับโอกาสในการมีงานทำของเยาวชนไทย: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนให้เยาวชนไทยได้เข้าถึงงานที่มีคุณค่าและเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต” ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อปรับปรุงคุณภาพ ความเหมาะสม และขอบเขตการดำเนินการในด้านต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตและความสามารถในการทำงานของเยาวชนไทย   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: Online Employability Resources for Youth 2021 ชุดวิดีโอประกอบคู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action) คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action) Global Employment Trends for Youth 2022: Investing in Transforming Futures for Young People

  • การ์ตูนเพื่อการเรียนรู้ SDGs เรื่อง “โลกของเรา และ 17 เป้าหมาย”

    การ์ตูนเรื่อง “โลกของเรา และ 17 เป้าหมาย” แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ชื่อ “The Planet and the 17 Goals” โดย Margreet de Heer นักวาดการ์ตูนจากประเทศเนเธอร์เแลนด์ ภายใต้การดำเนินการในโครงการ Comics Uniting Nations ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง UNICEF, PCI Media, World’s Largest Lesson, มูลนิธิ PVBLIC และ Reading with Pictures มีเป้าหมายเพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและทำความรู้จัก เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals หรือ SDGs ผ่านการ์ตูนที่เข้าถึงผู้อ่านได้ทุกกลุ่ม   หน่วยงานที่จัดทำ: SDG Move ดาวน์โหลดได้ที่นี่ Related posts: ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) […]

  • การ์ตูนมังงะเงียบในธีม Together for Peace (ร่วมกันเพื่อสันติภาพ)

    การ์ตูนมังงะเงียบในธีม Together for Peace (ร่วมกันเพื่อสันติภาพ) 15 เรื่อง จากผลงานทั้งหมด 274 ชิ้นจากศิลปินที่เข้าร่วมประกวดจาก 117 ประเทศทั่วโลก ซึ่งฉายภาพความหมายของสันติภาพ ผ่านเรื่องราวหลายหัวข้อ เช่น เด็กนอกระบบการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิต การต่อต้านการกลั่นแกล้งรังแก ความขัดแย้ง เยาวชน การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน ผู้ลี้ภัย และประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมร่วม ที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนในการสร้างสังคมที่มีสันติภาพ ความเป็นธรรม ยุติธรรมยิ่งขึ้น   หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: เป้าหมายที่ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก (SDG 16: Peace, justice and strong institutions) […]

  • การสนทนาครั้งใหญ่: คู่มือในการแก้ไขปัญหาความรุนแรง ต่อผู้หญิงในสื่อและโดยสื่อ (The Big Conversation: Handbook to Address Violence against Women in and through the Media)

    “การสนทนาครั้งใหญ่: คู่มือในการแก้ไขปัญหาความรุนแรง ต่อผู้หญิงในสื่อและโดยสื่อ” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับองค์การสหประชาชาติและหน่วยงานอื่น ๆ ที่ทำงานร่วมกับองค์กรสื่อในการใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศและป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดต่อผู้หญิงและเด็กหญิง ส่งเสริมคุณค่าของความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการไม่เลือกปฏิบัติผ่านการสร้างเนื้อหาที่สื่อผลิตขึ้น   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และ UN Women ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: สื่อ “สาร” ให้เข้าถึง : คู่มือนักข่าวสำหรับการรายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก Global Citizenship Education: A Policymaking Awareness and Advocacy Handbook Climate Science Literacy: Media Toolkit in Support of the Sustainable Development Goals Building the Bridge To Reduce Armed […]

  • การส่งเสริมสถานที่ทำงานให้มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อคนพิการในประเทศไทย

    รายงาน “การส่งเสริมสถานที่ทำงานให้มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อคนพิการในประเทศไทย” (Promoting an Inclusive Workplace for Persons with Disabilities in Thailand) ฉายภาพสถานการณ์ปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของคนพิการในสถานที่ทำงาน ตลอดจนอุปสรรคในการจ้างงานที่มีคุณค่าของคนพิการ และให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติต่อทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการส่งเสริมสถานที่ทำงานที่เอื้อต่อผู้พิการและการจ้างงานที่มีคุณค่าของผู้พิการ     หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: 2019 US Cities Sustainable Development Report Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Republic of Senegal Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda: SDG7 Roadmap for Indonesia Global Report on […]

  • การประเมินผลการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ROAM-X ของยูเนสโก

    รายงาน “Assessing internet development in Thailand: using UNESCO’s Internet Universality ROAM-X Indicators” หรือ “การประเมินผลการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ROAM-X ของยูเนสโก” เสนอผลประเมินความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัด ROAM-X ของยูเนสโก ผ่านการศึกษาบทสัมภาษณ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ การทบทวนงานเขียน และข้อคิดเห็นจากรัฐบาล ภาคประชาสังคม และตัวแทนภาคธุรกิจ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: Sustainable Development Report 2021 Joint external evaluation of IHR core capacities of Libya […]

  • การประเมินผลกระทบรวมด้านเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย

    รายงาน “การประเมินผลกระทบรวมด้านเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย” (Socio-Economic Impact Assessment of COVID-19 in Thailand) ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากผลการศึกษา การสำรวจ และการประเมินต่าง ๆ ซึ่งจัดทำโดยหน่วยงานสหประชาชาติในประเทศไทย เพื่อศึกษาผลกระทบที่รุนแรงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และสรุปกรอบนโยบายที่สำคัญเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการฟื้นฟูต่อไป   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารพัฒนาเอเชีย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในประเทศไทย โดย กลต. World Health Statistics 2020: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs) Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of […]

  • การประเมินการเงินเพื่อการพัฒนาสำหรับประเทศไทย

    รายงาน “การประเมินการเงินเพื่อการพัฒนาสำหรับประเทศไทย” (Development Finance Assessment for Thailand) นำเสนอรายละเอียดของกระแสการเงินในปัจจุบัน ที่ทำให้สามารถระบุถึงความต้องการด้านการเงินเพื่อเพื่อสนับสนุนวาระการพัฒนาของประเทศไทยและเพื่อความก้าวหน้าสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยครอบคลุมประเด็นสำคัญได้แก่ (1) การส่งเสริมความเท่าเทียม (2) การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (3) การสร้างงานเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่การพัฒนาที่ทั่วถึงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (4) การเสริมสร้างประสิทธิภาพภาคสาธารณสุข และ (5) การใช้ประโยชน์จากการเงินดิจิทัลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Joint external evaluation of IHR core capacities of Mongolia Regional Action Agenda on Achieving the. Sustainable Development Goals in the Western Pacific FAO’s Work With […]

  • การประกันภัยที่ทุกคนเข้าถึงได้และการเงิน เพื่อการบริหารความเสี่ยงในประเทศไทย ภาพรวมและทิศทาง พ.ศ. 2566

    รายงาน “การประกันภัยที่ทุกคนเข้าถึงได้และการเงิน เพื่อการบริหารความเสี่ยงในประเทศไทย ภาพรวมและทิศทาง พ.ศ. 2566” (Inclusive Insurance and risk financing in Thailand: Snapshot and way forward 2023) สรุปข้อค้นพบที่สำคัญของการประกันภัยและการเงินเพื่อความเสี่ยงจากภัยพิบัติแบบครอบคลุมของประเทศไทย โดยเฉพาะความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ     หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย และ Insurance and Risk Finance Facility (IRFF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2566 Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Republic of Zambia Joint External […]

  • การนำโรงเรียนไปสู่ทุกคน – การจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสใน “โรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษา” จังหวัดแม่ฮ่องสอน

    รายงาน “การนำโรงเรียนไปสู่ทุกคน – การจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสใน “โรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษา” จังหวัดแม่ฮ่องสอน” ((Bringing the School to the Students: Education Provision for Disadvantaged Children in the ‘District Schools’ of Mae Hong Son Province) นำเสนอข้อมูลประวัติความเป็นมา บทเรียนที่ได้รับจากการทำโครงการ “โรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษา” ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็กเครือข่ายอื่น ๆ โดยเป็นบทเรียนเฉพาะจากพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นจังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศไทย   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และเอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Agricultural Trade & Policy Responses During the First Wave of the COVID-19 Pandemic in […]

  • การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในประเทศไทย โดย กลต.

    การนำเสนอ ” การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในประเทศไทย โดย กลต.” ให้แผนการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในประเทศไทย โดยเน้นไปที่บริษัทและธุรกิจที่อยู่ในตลาดหุ้นและตลาดทุน   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: การ์ตูนเพื่อการเรียนรู้ SDGs เรื่อง “โลกของเรา และ 17 เป้าหมาย” SDGs กับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) SDGs กับเกษตรกร SDGs กับชีวิตคนเมือง

  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

    IMF ทำงานส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานด้วยการให้ความช่วยเหลือทางการเงินชั่วคราวและความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่ประเทศต่าง ๆ ปัจจุบัน IMF มียอดสินเชื่อคงค้างใน 74 ประเทศ ถึง 28,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ Related posts: กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    สำนักเลขาธิการ UNFCCC (การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ) ก่อตั้งขึ้นในปี 1992 เมื่อ 197 ประเทศรับรองกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) โดบทำงานในฐานะหน่วยงานของสหประชาชาติที่ได้รับมอบหมายให้รับมือต่อการคุกคามของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Related posts: No related posts.