คู่มือองค์ความรู้ BCG
“คู่มือองค์ความรู้ BCG” จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงองค์ความรู้เรื่อง BCG โดยเน้นความรู้พื้นฐาน ภาพรวมของการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ ความท้าทาย รวมถึงทิศทางในการพัฒนาประเทศ จากประเทศที่มุ่งเน้น “ผลิตมากแต่สร้างรายได้น้อย ไปสู่การผลิตน้อยแต่สร้างรายได้มาก” ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Thailand Economic Monitor 2023 | Building a resilient future : coping with droughts and floods
รายงาน “Thailand Economic Monitor” หรือ รายงานตามติดเศรษฐกิจไทยประจำเดือนมิถุนายน 2566 ในหัวข้อ ‘การรับมือกับภัยแล้งและอุทกภัย เพื่อสร้างอนาคตที่อยู่รอดและยั่งยืน’ ให้ข้อมูลการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ที่ดีขึ้น แต่ยังคงระบุว่าการรับมือกับความเสี่ยงจากอุทกภัยและภัยแล้งเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษและบทสรุปผู้บริหารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Global Report on Food Crises 2023
รายงาน “Global Report on Food Crises 2023” ว่าด้วยวิกฤติด้านอาหารในระดับโลก พบว่ามีจำนวนผู้ประสบภัยจากความไม่มั่นคงทางอาหารเพิ่มสูงขึ้น โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและสงครามในยูเครนด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Global Report on Food Crises – 2022
Global Report on Food Crises – 2022 รายงานวิกฤตการณ์อาหารโลกปี 2022 (GRFC 2022) เน้นย้ำถึงความรุนแรงและจำนวนผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤตใน 53 ประเทศ/เขตแดน ที่เป็นผลมาจากความขัดแย้งที่มีอยู่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 และสภาพอากาศสุดขั้ว โดยตัวเลขผู้รับผลกระทบในรายงานฉบับปี 2022 นี้เป็นจำนวนสูงสุดตั้งแต่มีการทำงานรายงานมาหกปี หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
10 Stories การจัดการของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร
รายงาน “10 Stories การจัดการของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร” เป็นผลงานจากโครงการระดับท้องถิ่นในหัวข้อ “การพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องิ่นและนำร่องแผนงานของชุมชนเพื่อยกระดับความมั่นคงทางอาหาร การบริโภคอาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยในกลุ่มผู้เปราะบางในจังหวัดยะลา นราธิวาส และปัตตานี” ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย สถาบันไทยนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นและสมาพันธ์สวิส มีวัตถุประสงค์ของเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในสังคมและความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของท้องถิ่นผ่านการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองและชุมชนในบริบทของ COVID-19 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่
The State of Food and Agriculture 2021
Making agrifood systems more resilient to shocks and stresses รายงานสถานการณ์อาหารและเกษตรกรรมปี 2564 นำเสนอตัวชี้วัดระดับประเทศของความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของของระบบอาหารเกษตร ตัวชี้วัดเหล่านี้ใช้วัดความคงทนของการผลิตขั้นต้นและความพร้อมด้านอาหาร ตลอดจนการเข้าถึงอาหารทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจ จึงสามารถช่วยประเมินความสามารถของระบบอาหารเกษตรระดับประเทศในสภาวะช็อกและความตึงเครียด เช่น จากวิกฤตการระบาดใหญ่ของ COVID-19 จึวจำเป็นต้องมีการดำเนินการเพื่อทำให้ระบบอาหารทางการเกษตรมีความสามารถในการตั้งรับปรับตัว มีประสิทธิภาพ ยั่งยืนและครอบคลุมมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
แนวทางการจัดทำแผนอาหารและโครงการระบบอาหารในระดับชุมชนท้องถิ่น
“แนวทางการจัดทำแผนอาหารและโครงการระบบอาหารในระดับชุมชนท้องถิ่น” ให้แนวทางแก่หน่วยงานและชุมชนระดับท้องถิ่นที่มีความประสงค์จะทำแผนงานหรือโครงการเกี่ยวกับระบบอาหาร ทั้งประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาได้ ที่นี่
National Cooling Action Plan Methodology
รายงาน “National Cooling Action Plan Methofology” นำเสนอหลักการแบบองค์รวมสำหรับการพัฒนาแผนปฏิบัติการการใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (NCAP) ซึ่งเอกสารฉบับนี้ซึ่งสามารถปรับใช้ได้กับบริบทในแต่ละประเทศ โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ใช้ระบบการทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่