SDG 16

May
15

Synthetic Drugs in East and Southeast Asia: Latest Developments and Challenges – 2022

รายงาน “Synthetic Drugs in East and Southeast Asia: Latest Developments and Challenges – 2022” หรือ “รายงานยาเสพประเภทติดสังเคราะห์ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: การพัฒนาและความท้าทายล่าสุด ปี 2565” แสดงสถานการณ์รล่าสุดของยาเสพติดประเภทสังเคราะห์ (synthetic drugs) โดยเฉพาะสารกระตุ้นประเภทแอมเฟตามีน (ATS) และสารออกฤทธิ์ทางจิตใหม่ ๆ รวมถึงฝิ่นสังเคราะห์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้    หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) ดาวน์โหลด: รายงานภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

May 15 2022
รายงาน
DETAIL
Aug
20

Infodemic and SDGs: Internet Freedoms in Southeast Asia

รายงาน Infodemic and SDGs: Internet Freedoms in Southeast Asia มุ่งนำเสนอปัญหาจากภาวะ ‘Infodemic’ หรือการแพร่ระบาดของข่าวสาร ในระหว่างสถานการณ์ COVID-19 ว่ากระทบต่อความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมาย SDGs ใน 10 ประเทศอาเซียนอย่างไร   หน่วยงานที่จัดทำ: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค ดาวน์โหลด: รายงานภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Aug 20 2021
รายงาน
DETAIL
Apr
14

State of World Population 2021

– Claiming the right to autonomy and self-determination รายงานนี้เป็นฉบับแรกที่เน้นประเด็นเรื่องสิทธิเหนือเรือนร่างของตนเอง โดยเฉพาะของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง โดยไม่กังวลต่อการตัดสินจากผู้อื่นหรือหวาดกลัวต่อความรุนแรง เพราะหากไร้ซึ่งสิทธิดังกล่าว ย่อมจะกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้หญิงและเด็กหญิง รวมถึงผลิตภาพทางเศรษฐกิจ ทักษะในการทำงาน เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อการบริการสาธารณสุข และทำให้กลายเป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับระบบยุติธรรม รายงานรายปี State of World Population จัดทำโดยกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) เผยแพร่มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 เป็นรายงานที่เน้นประเด็นใหม่ด้านความท้าทายและโอกาสของสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ในการพัฒนาระหว่างประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Apr 14 2021
รายงาน
DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก (SDG 16: Peace, justice and strong institutions)

สันติภาพ ความสงบสุข ความมั่นคง สิทธิมนุษยชน และการปกครองที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของหลักนิติธรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม บางภูมิภาคในโลกยังตกอยู่ในวงจรของความขัดแย้งและความรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อการพัฒนาประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ในภาวะความขัดแย้งที่ขาดการเคารพในหลักนิติธรรม ยังมีแนวโน้มของการเกิดความรุนแรงทางเพศ อาชญากรรม และการแสวงผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ สูงขึ้น เป้าหมายที่ 16 มุ่งมั่นที่จะลดความรุนแรงทุกรูปแบบ และเสริมสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและชุมชนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความไม่มั่นคงอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งเสริมหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน การลดอาวุธผิดกฎหมาย และสนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมในสถาบันธรรมาภิบาลระดับโลก หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Jun
30

State of World Population 2020

– Defying the practices that harm women and girls and undermine equality รายงานฉบับนี้อธิบายสถานการณ์ของเด็กผู้หญิงที่เผชิญกับการปฏิบัติซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ โดยที่ครอบครัว เพื่อน และชุมชนต่างรับรู้แต่กลับมองว่าเป็นเรื่องปกติในสังคม สถานการณ์เช่นนี้เป็นการปิดกั้นโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา สิทธิในอนามัยเจริญพันธุ์ และการใช้สิทธิเพื่อปกป้องตนเองของเด็กผู้หญิง รายงานรายปี State of World Population จัดทำโดยกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) เผยแพร่มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 เป็นรายงานที่เน้นประเด็นใหม่ด้านความท้าทายและโอกาสของสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ในการพัฒนาระหว่างประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jun 30 2020
รายงาน
DETAIL
May
01

วารสารความเป็นธรรมทางสังคมและความเหลื่อมล้ำ – Social justice and inequality journal

วารสารความเป็นธรรมทางสังคมและความเหลื่อมล้ำมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการทำความเข้าใจและวิเคราะห์ความเป็นธรรมทางสังคมและความเหลื่อมล้ำ ผ่านกระบวนทัศน์ในการนิยามและการรับรู้ นโยบายและกระบวนการทางนโยบายเพื่อยกระดับความเป็นธรรมทางสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลและปัจเจกบุคคลกับสังคมสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงความเข้าใจต่ออำนาจในมิติอันหลากหลาย หน่วยงานที่จัดทำ: หน่วยปฏิบัติการวิจัยความมั่นคงของมนุษย์และความเท่าเทียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลดได้ที่นี่

DETAIL
Feb
01

การ์ตูนมังงะเงียบในธีม Together for Peace (ร่วมกันเพื่อสันติภาพ)

การ์ตูนมังงะเงียบในธีม Together for Peace (ร่วมกันเพื่อสันติภาพ) 15 เรื่อง จากผลงานทั้งหมด 274 ชิ้นจากศิลปินที่เข้าร่วมประกวดจาก 117 ประเทศทั่วโลก ซึ่งฉายภาพความหมายของสันติภาพ ผ่านเรื่องราวหลายหัวข้อ เช่น เด็กนอกระบบการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิต การต่อต้านการกลั่นแกล้งรังแก ความขัดแย้ง เยาวชน การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน ผู้ลี้ภัย และประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมร่วม ที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนในการสร้างสังคมที่มีสันติภาพ ความเป็นธรรม ยุติธรรมยิ่งขึ้น   หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

DETAIL
Jan
01

การ์ตูนมังงะเงียบในธีม Together for Peace (ร่วมกันเพื่อสันติภาพ)

การ์ตูนมังงะเงียบในธีม Together for Peace (ร่วมกันเพื่อสันติภาพ) 15 เรื่อง จากผลงานทั้งหมด 274 ชิ้นจากศิลปินที่เข้าร่วมประกวดจาก 117 ประเทศทั่วโลก ซึ่งฉายภาพความหมายของสันติภาพ ผ่านเรื่องราวหลายหัวข้อ เช่น เด็กนอกระบบการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิต การต่อต้านการกลั่นแกล้งรังแก ความขัดแย้ง เยาวชน การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน ผู้ลี้ภัย และประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมร่วม ที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนในการสร้างสังคมที่มีสันติภาพ ความเป็นธรรม ยุติธรรมยิ่งขึ้น   หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP