คู่มือองค์ความรู้ BCG
“คู่มือองค์ความรู้ BCG” จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงองค์ความรู้เรื่อง BCG โดยเน้นความรู้พื้นฐาน ภาพรวมของการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ ความท้าทาย รวมถึงทิศทางในการพัฒนาประเทศ จากประเทศที่มุ่งเน้น “ผลิตมากแต่สร้างรายได้น้อย ไปสู่การผลิตน้อยแต่สร้างรายได้มาก” ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Thailand Public Revenue and Spending Assessment: Promoting an Inclusive and Sustainable Future
รายงาน “Thailand Public Revenue and Spending Assessment: Promoting an Inclusive and Sustainable Future” ประเมินรายได้และรายจ่ายภาครัฐของประเทศไทย หลังมีการใช้นโยบายการคลังขนานใหญ่ในการรับมือผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระบุถึงแนวทางปฏิรูปที่จำเป็นเพื่อรับมือกับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของภาครัฐด้วย เพื่อการรับประกันอนาคตที่ยั่งยืนและครอบคลุม หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
งานดูแลและงานบ้านที่ไม่ได้รับค่าจ้างของหญิงไทย และผลกระทบต่อการจ้างงานที่มีคุณค่า
รายงาน “งานดูแลและงานบ้านที่ไม่ได้รับค่าจ้างของหญิงไทย และผลกระทบต่อการจ้างงานที่มีคุณค่า” (Thai Women’s Unpaid Care and Domestic Work and the Impact on Decent Employment) อธิบายขอบเขตพลวัต และผลกระทบจากการดูแลโดยไม่ได้รับค่าจ้างและงานบ้านที่มีต่อผู้หญิงในประเทศไทย และระบุมาตรการสำคัญหลายประการเพื่อจัดการกับพลวัตดังกล่าว รวมถึงเสนอการฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ครอบคลุมมากขึ้น ด้วยการสร้างงานที่มีคุณค่าสำหรับผู้หญิงมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
สิทธิและแนวทางการพัฒนาสถานะบุคคลของเด็กอพยพโยกย้ายถิ่นฐานในประเทศไทย
เอกสาร “สิทธิและแนวทางการพัฒนาสถานะบุคคลของเด็กอพยพโยกย้ายถิ่นฐานในประเทศไทย” ศึกษารวบรวมกลุ่มผู้ติดตามผู้ลี้ภัย ผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ และกลุ่มอื่น ๆ ที่มีปัญหาเรื่องสถานะบุคคลตามกฎหมายของประเทศไทย โดยสรุปความสำคัญในการพัฒนาสถานะบุคคล สิทธิที่กฎหมายรับรอง และกฎหมายนโยบายที่เกี่ยวข้องพอสังเขปเพื่อให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้ลี้ภัย แรงงานข้ามชาติหรือกลุ่มอื่น ๆ จะได้ศึกษาข้อมูลด้านสถานะบุคคล และสิทธิตามกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับตนเองเบื้องต้นได้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ประจำประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand
รายงาน “Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand” หรือ รายงาน “การประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมต่อเด็กในประเทศไทย” จะชี้ให้เห็นว่าเด็ก ๆ ทีเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ ภัยแล้ง คลื่นความร้อน และน้ำท่วม มากที่สุด อาศัยอยู่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหลือและภาคใต้ของประเทศไทย แผนที่ความเสี่ยงจากการศึกษาฉบับนี้เผยให้เห็น 10 จังหวัด (อุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีษะเกษ นครศรีธรรมราช นาราธิวาส สุรินทร์ สงขลา บุรีรัมย์ ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี) มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2578 โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ RCP4.5 (มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับปานกลาง) หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Social Outlook 2022: The Workforce We Need
รายงาน ‘Social Outlook for Asia and the Pacific: The Workforce We Need’ ระบุถึงสถานการณ์แรงงานในภูมิภาคเอเชีย-เเปซิฟิก ว่า เเรงงานกว่า 2.1 พันล้านคนถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงงานที่มีคุณค่า (decent work) การดูแลสุขภาพ (healthcare) และการคุ้มครองทางสังคม (social protection) เเม้ว่าจะมีนโยบายและเครื่องมือการจัดการจำนวนมากที่รัฐบาลสามารถใช้เพื่อแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง สร้างหลักประกันว่าสิทธิความต้องการของเเรงงานและครอบครัวของพวกเขาจะถูกยกระดับให้ดีขึ้นก็ตาม หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Workforce We Need: Social Outlook for Asia and the Pacific
รายงาน “The Workforce We Need: social outlook for Asia and the Pacific” มุ่งเน้นสำรวจประเด็นการพัฒนาสังคมในเอเชียและแปซิฟิกโดยเฉพาะ โดยภายใต้ธีมของปีค.ศ. 2022 นี้ ให้เนื้อหาวิธีการสร้างแรงงานที่มีสุขภาพดี ได้รับการคุ้มครอง และมีประสิทธิผลในเอเชียและแปซิฟิก เพื่อบรรลุการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน และกล่าวถึง 4 เมกะเทรนด์หลักที่เกิดขึ้นคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูงวัย การเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล และความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้น ซึ่งได้กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม ประชากรศาสตร์ และดิจิทัล ที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลกแห่งการทำงานในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Asia–Pacific Migration Data Report 2021
รายงาน “Asia–Pacific Migration Data Report 2021” รวบรวมหลักฐานล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์การย้ายถิ่นฐานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปีพ.ศ. 2564 โดยเสนอผ่านเลนส์ของการฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และภายใต้วิกฤตการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอัฟกานิสถานและเมียนมา และผลกระทบที่เด่นชัดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่