2021

Aug
23

Progress on Water-Use Efficiency – 2021 Update

รายงานสถานการณ์การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพของโลกในปี 2021 รวมถึงสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายย่อยที่ 6.4 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในทุกภาคส่วนและสร้างหลักประกันว่าจะมีการใช้น้ำและจัดหาน้ำที่ยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และลดจำนวนประชาชนที่ประสบความทุกข์จากการขาดแคลนน้ำภายในปี 2030 รายงานฉบับนี้ได้อาศัยข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 6.4.1 การเปลี่ยนแปลงของการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพตลอดทุกช่วงเวลา หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Aug 23 2021
รายงาน
DETAIL
Aug
23

Progress on Ambient Water Quality – 2021 Update

รายงานสถานการณ์คุณภาพของน้ำโดยรอบ (Ambient Water) ของโลกในปี 2021 รวมถึงสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายย่อยที่ 6.3 ภายในปี 2030 รายงานฉบับนี้ได้อาศัยข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 6.3.2 สัดส่วนของแหล่งน้ำ (เช่น มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบ, แม่น้ำ, ธารน้ำ, คลอง, หรือสระน้ำ) ที่มีคุณภาพน้ำโดยรอบที่ดี หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Aug 23 2021
รายงาน
DETAIL
Aug
23

Progress on Wastewater Treatment – 2021 Update

รายงานความคืบหน้าสถานการณ์การบำบัดน้ำเสียของโลกในปี พ.ศ. 2564 รวมถึงสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายย่อยที่ 6.3 ภายในปี พ.ศ. 2573 รายงานฉบับนี้ได้อาศัยข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 6.3.1 เรื่องการสัดส่วนของน้ำเสียจากครัวเรือนและอุตสาหกรรมที่ได้รับการบำบัดอย่างปลอดภัย หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Aug 23 2021
รายงาน
DETAIL
Aug
20

Infodemic and SDGs: Internet Freedoms in Southeast Asia

รายงาน Infodemic and SDGs: Internet Freedoms in Southeast Asia มุ่งนำเสนอปัญหาจากภาวะ ‘Infodemic’ หรือการแพร่ระบาดของข่าวสาร ในระหว่างสถานการณ์ COVID-19 ว่ากระทบต่อความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมาย SDGs ใน 10 ประเทศอาเซียนอย่างไร   หน่วยงานที่จัดทำ: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค ดาวน์โหลด: รายงานภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Aug 20 2021
รายงาน
DETAIL
Aug
18

แนวทางการพัฒนาภาคการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance Initiatives for Thailand)​

วิดีโอคลิป “แนวทางการพัฒนาภาคการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance Initiatives for Thailand)” ให้ข้อมูลความร่วมมือที่สำคัญของภาคการเงินไทยเพื่อกำหนดทิศทางและกรอบการดำเนินงานด้าน sustainable finance ในประเทศ   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) รับชมวิดีโอ: ได้ ที่นี่

DETAIL
Aug
15

อภิธานศัพท์สำหรับสื่อมวลชนเกี่ยวกับการย้ายถิ่น ว่าด้วยแรงงานหญิงข้ามชาติ และการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง

“อภิธานศัพท์สำหรับสื่อมวลชนเกี่ยวกับการย้ายถิ่น ว่าด้วยแรงงานหญิงข้ามชาติ และการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง (Media-friendly glossary on migration: Women migrant workers and ending violence against women (EVAW) edition)” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางสำหรับสื่อมวลชน นักวิจัย ผู้ฝึกอบรม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ซึ่งดำเนิน การฝึกอบรมหรือผู้เขียนเกี่ยวกับการย้ายถิ่นของแรงงานหญิง และความรุนแรงต่อผู้หญิงในบริบทของการย้ายถิ่น     หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และเอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Aug 15 2021
คู่มือ
DETAIL
Aug
01

วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก (The Climate Crisis is a Child Rights Crisis: Children’s Climate Risk Index)

รายงานสรุป “วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก” นำเสนอข้อเท็จจริงใหม่ในระดับโลกเกี่ยวกับจำนวนเด็กที่กำลังเผชิญกับอันตรายและการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก (Children’s Climate Risk Index)   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และเอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Aug 01 2021
รายงาน
DETAIL
Aug
01

ข้อคิดเห็นของเยาวชนและนายจ้างเกี่ยวกับโอกาสในการมีงานทำของเยาวชนไทย (Voices of youth and employers on youth employability in Thailand)

“ข้อคิดเห็นของเยาวชนและนายจ้างเกี่ยวกับโอกาสในการมีงานทำของเยาวชนไทย: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนให้เยาวชนไทยได้เข้าถึงงานที่มีคุณค่าและเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต” ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อปรับปรุงคุณภาพ ความเหมาะสม และขอบเขตการดำเนินการในด้านต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตและความสามารถในการทำงานของเยาวชนไทย   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP