Global Citizenship Education: A Policymaking Awareness and Advocacy Handbook
คู่มือ “Global Citizenship Education: A Policymaking Awareness and Advocacy Handbook” นำเสนอแนวทางเบื้องต้นเพื่อสนับสนุนผู้กำหนดนโยบายในการบูรณาการการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship Education: GCED) เข้ากับนโยบายและระบบการศึกษาในประเทศ พร้อมตัวอย่างจากหลายประเทศในเอเชียและแปซิฟิก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Reflect–Share–Act: A Guide to Community-based Education for Sustainable Development
คู่มือ “Reflect–Share–Act: A Guide to Community-based Education for Sustainable Development” นำเสนอการใช้กระบวนการเรียนรู้ “สะท้อน-แบ่งปัน-ลงมือทำ” เพื่อการค้นหาและกำหนดนิยามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนบริบทของแต่ละชุมชนร่วมกับสมาชิกในชุมชน ผ่านข้อมูลประสบการณ์จริงของชุมชนใน 5 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Understanding GCED in Asia-Pacific: A How-to Guide for ‘Taking It Local’
เอกสาร “Understanding GCED in Asia-Pacific: A How-to Guide for ‘Taking It Local” เป็นคู่มือที่จะทำให้นักการศึกษา ผู้กำหนดนโยบาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship Education: GCED) ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในภูมิภาค อันเป็นองค์ประกอบหลักประการหนึ่งของ GCED ที่จะสามารถนำไปสู่การสังคมที่สงบสุข ครอบคลุม และยั่งยืนมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
WHO technical guidance notes on Sendai framework reporting for ministries of health
คู่มือ “WHO technical guidance notes on Sendai framework reporting for ministries of health” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ภาคสาธารณสุข โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกับบทบาทที่จะต้องเก็บรวบรวมและรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแต่ละเป้าประสงค์ 7 ประการของกรอบปฏิญญาเซนได (Sendai Framework targets) ตลอดจนกรอบการทำงานอื่น อาทิ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
WHO guidance for climate resilient and environmentally sustainable health care facilities
คู่มือ “WHO guidance for climate resilient and environmentally sustainable health care facilities” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานด้านสาธารณสุขในการเพิ่มขีดความสามารถของการปกป้องและช่วยพัฒนาให้สุขภาวะของชุมชนที่อยู่ในสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอนดีขึ้น ตลอดจนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้เกิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (universal health coverage – UHC) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
United Nations Common Guidance on Helping Build Resilient Societies
แนวทางของสหประชาชาติเล่มนี้ เป็นตำราแนวทางขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างบูรณาการทั้งระบบและภาคส่วน อาทิ งานด้านมนุษยธรรม สันติภาพและความมั่นคง การพัฒนา และสิทธิมนุษยชน เพื่อสร้างสังคมโดยเฉพาะในระดับประเทศ ให้มีความสามารถในการตั้งรับอย่างมีภูมิคุ้มกันและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง (resilience) หน่วยงานที่จัดทำ: สหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: คู่มือฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Getting the Message Across : Reporting on Climate Change and Sustainable Development in Asia and the Pacific: A Handbook for Journalists
คู่มือ “Getting the Message Across : Reporting on Climate Change and Sustainable Development in Asia and the Pacific: A Handbook for Journalists” หรือ “สื่อ “สาร” ให้เข้าถึง : คู่มือนักข่าวสำหรับการรายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก” ให้ข้อมูลที่คัดสรรมาเพื่อนักข่าวโดยเฉพาะในการเล่าเรื่องราวของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และมุมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยสามารถเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการทำความเข้าใจวิทยาศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษและไทยได้ ที่นี่
WHO benchmarks for International Health Regulations (IHR) capacities
คู่มือ “WHO benchmarks for International Health Regulations (IHR) capacities” เครื่องมือส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถของกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ในการรักษาความมั่นคงด้านสุขภาพและบูรณาการตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับประเทศ ให้บรรลุและมีความพร้อมที่จะป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามและสถานการณ์ต่าง ๆ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: คู่มือฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่