Blog

Sep
18

คู่มือกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

“คู่มือกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม” ให้ข้อมูลรายละเอียดของ ‘กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม’ ซึ่งเดิมคือกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม หลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งจะมีหน้าที่รับผิดชอบ ภารกิจด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของประเทศโดยตรง     หน่วยงานที่จัดทำ: กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่    

Sep 18 2023
คู่มือ
DETAIL
Sep
13

Synergy Solutions for a World in Crisis: Tackling Climate and SDG Action Together

รายงาน “Synergy Solutions for a World in Crisis: Tackling Climate and SDG Action Together” เป็นรานงานฉบับแรกที่ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญหลากหลายศาสตร์ทั้งหมด 14 ท่าน เพื่อให้ภาพรวมและคำแนะนำสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ส่งเสริมกัน (synergy) บนฐานของข้อมูล หลักฐาน และประสบการณ์จากคนทำงานแนวหน้าเอง     หน่วยงานที่จัดทำ: UNDESA และ UNFCCC ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่    

Sep 13 2023
รายงาน
DETAIL
Sep
12

Global Sustainable Development Report (GSDR) 2023

รายงาน “Global Sustainable Development Report (GSDR) 2023” เขียนโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์อิสระ (Independent Group of Scientists: IGS) เป็นรายงานฉบับสำคัญที่เผยแพร่ทุก 4 ปีนับตั้งแต่มีการลงนามรับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อสนับสนุนการดำเนินการ โดยฉบับที่สองประจำปีค.ศ. 2023 นี้ถือเป็นการทบทวนครึ่งทางของวาระ จึงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมด้วยวิทยาศาสตร์ ที่จะสามารถเปลี่ยนทิศทางการขับเคลื่อน (SDGs) ให้ไปข้างหน้าได้รวดเร็วขึ้น     หน่วยงานที่จัดทำ: UN DESA ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่    

Sep 12 2023
รายงาน
DETAIL
Sep
07

Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2023

รายงาน “Progress on the Sustainable Development Goals: The gender snapshot 2023” นำเสนอการวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของประเด็นความเท่าเทียมทางเพศในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย และเน้นย้ำถึงแนวโน้ม ช่องว่าง อุปสรรคของการทำงานเพื่อบรรลุความเท่าเทียมทางเพศภายในปีค.ศ. 2030     หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women และ สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Sep 07 2023
รายงาน
DETAIL
Aug
21

SDGs Mega Trends 2022: Corporate Climate Action

รายงาน “SDGs Mega Trends 2022” นำเสนอ 5 แนวโน้มสำคัญเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี ค.ศ. 2022” ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยคัดเลือกประเด็นเด่น 5 ประเด็นเกี่ยวกับความยั่งยืนจากแหล่งข้อมูลชั้นนำทั่วโลกที่ควรให้ความสำคัญ โดยเรื่องเด่นที่ภาคธุรกิจต้องใส่ใจในปีนี้คือ การปรับเปลี่ยนเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ     หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

Aug 21 2023
รายงาน
DETAIL
Aug
20

คู่มือองค์ความรู้ BCG

“คู่มือองค์ความรู้ BCG” จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงองค์ความรู้เรื่อง BCG โดยเน้นความรู้พื้นฐาน ภาพรวมของการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ ความท้าทาย รวมถึงทิศทางในการพัฒนาประเทศ จากประเทศที่มุ่งเน้น “ผลิตมากแต่สร้างรายได้น้อย ไปสู่การผลิตน้อยแต่สร้างรายได้มาก” ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น     หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่

Aug 20 2023
คู่มือ
DETAIL
Aug
01

รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2565

รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปีพ.ศ. 2565 (Thailand SDGs 16 Progress Report 2022) รวบรวมข้อมูลและผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 16 ประกอบด้วยผลการดำเนินงานผ่านโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้ภารกิจของแต่ละหน่วยงานด้านการพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทยและข้อมูลสถิติตามตัวชี้วัด SDG16 จำนวน 24 ตัวชี้วัด       หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

Aug 01 2023
รายงาน
DETAIL
Jul
14

2022 Global Commons Stewardship (GCS) Index

การจัดทำดัชนี “Global Commons Stewardship (GCS) Index” ครั้งที่ 3 ประจำปี 2022 ให้ข้อมูลล่าสุดของการส่งผ่านผลกระทบทางลบ (spillovers) ภายในประเทศและต่างประเทศต่อทรัพยากรร่วมของโลก (Global Commons) โดยรายงานฉบับนี้เผยให้เห็นว่าไม่มีประเทศใดในโลกประสบความสำเร็จในการจัดการเพื่อบรรลุการพัฒนามนุษย์ในระดับสูง (วัดโดย GDP ต่อหัวหรือดัชนีการพัฒนามนุษย์) และกลุ่มประเทศร่ำรวย เช่น ในกลุ่ม G20 ส่งผ่านผลกระทบทางลบในระดับสูงอันเป็นผลมาจากการบริโภคที่ไม่ยั่งยืน     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network, Yale Center for Environmental Law & Policy และ Center for Global Commons มหาวิทยาลัยโตเกียว ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jul 14 2023
รายงาน
DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP